Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การวิจัยแนวทางความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามกา...

TNRR

Description
การวิจัยเรื่อง แนวทางความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามแนวชายแดน เฉพาะพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1. สถานการณ์การค้ามนุษย์ในจังหวัดมุกดาหาร 2. แนวทางความร่วมมือขององค์กรเครือข่ายและแกนนำในการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ตามแนวชายแดน 3. เสนอแนวทางความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้แทนองค์กรเครือข่ายที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในพื้นที่ตามแนวชายแดนจังหวัดมุกดาหาร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ และประชาชน จำนวน 41 คน และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) จำนวน 3 ครั้ง มีกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วม จำนวน 104 คน ประกอบด้วย แกนนำเครือข่ายระดับอำเภอ ตำบล ชุมชน หมู่บ้าน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 115 คน ในพื้นที่ 3 อำเภอชายแดน ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในจังหวัดมุกดาหาร จากการสัมภาษณ์ผู้แทนองค์กรเครือข่ายที่ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสถานการณ์ในด้านการค้ามนุษย์ในจังหวัดมุกดาหาร ไม่มีลักษณะการค้ามนุษย์ ที่ชัดเจนตามกฎหมายและแนวทางปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เช่น อำเภอเมืองมุกดาหาร มีเพียงการข้ามแดนเข้าเมืองมาท่องเที่ยว ทำงานบริการในร้านอาหารหรือคาราโอเกะในเวลากลางคืน หรือมาเยี่ยมญาติในลักษณะเข้ามายามเย็นแล้วกลับไปรุ่งเช้าซึ่งไม่มีลักษณะการขู่บังคับแสวงหาผลประโยชน์ ส่วนอำเภอหว้านใหญ่ มีประชาชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตลอดแนวชายแดน อพยพมาช่วยงานญาติในเมืองไทยตามฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตรกรรมระยะเวลาสั้นแล้วกลับมาตุภูมิ และกรณีของอำเภอดอนตาลซึ่งถูกกล่าวว่าเป็นเส้นทางยาเสพติดตามตะเข็บชายแดนมีการหลบหลีกข้ามมาในเวลากลางคืน แม้ว่ามีผู้พบเห็นและแจ้งเหตุ แต่ก็ไม่เท่าทันความเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและผ่านไปอย่างไร้ร่องรอย ส่วนภาคราชการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มักมีมุมมองการปฏิบัติงานตามภารกิจของตนเองเป็นหลัก มิได้มองในภาพรวมทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม เช่น ตรวจคนเข้าเมืองมักจะจับกุมคนหลบหนีเข้าเมือง แล้วผลักดันกลับตามกฎหมายมากกว่าจะขยายผลว่าเป็นกระบวนการก่อเกิดเครือข่ายการค้ามนุษย์หรือไม่ จากการสัมภาษณ์และข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสรุปได้ว่าปี 2552 ไม่มีสถานการณ์ที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์เนื่องจากผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดองค์กรภาครัฐและเอกชน ร่วมกันรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการค้ามนุษย์และฝึกอาชีพแก่ประชาชนเป็นอย่างดีและครอบคลุมทุกพื้นที่ ก 2. ด้านนโยบาย ข้อกฎหมาย ในระดับชาติมีความชัดเจน เพราะรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ที่เป็นรูปธรรมและมีกฎหมายพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และอีกหลายฉบับรองรับการดำเนินงานได้ครอบคลุม โดยมีการร่วมกันทำร่างบันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลลาว ว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์ และทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ส่วนนโยบายในระดับจังหวัดได้ให้ความสำคัญ มีการบันทึกความร่วมมือในการป้องกันปัญหา และการช่วยเหลือเหยื่อในการส่งกลับภูมิลำเนา ระหว่างจังหวัดมุกดาหารแห่งราชอาณาจักรไทย และแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการรณรงค์ป้องกันทุกกลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในปัญหาการค้ามนุษย์ และให้มีการทำข้อตกลงในทางปฏิบัติข้ามแดน ตามจุดผ่านแดนถาวร และด่านประเพณีต่างๆ กำหนดวันเวลาชัดเจน มีข้อตกลงด้านแรงงานตามแนวชายแดนร่วมกัน 3. แนวทางความร่วมมือเครือข่ายในพื้นที่จังหวัด มีการดำเนินการทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ จังหวัด เมื่อมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประจำจังหวัด ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ ดำเนินงานด้านการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง มีการประชุมแลกเปลี่ยนรายงานสถานการณ์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และได้ร่วมมือกันหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกันในที่ประชุมเป็นระยะมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันได้รับการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายในระดับอำเภอ ตำบล และชุมชน หมู่บ้าน อพม. ระดับหมู่บ้าน ในการเพิ่มศักยภาพ โดยการให้ความรู้ด้านการค้ามนุษย์ การป้องกัน การเคลื่อนย้ายคนและผลกระทบที่มีต่อผู้ตกเป็นเหยื่อ เครือข่ายได้ทราบกระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินงานและถือปฏิบัติแจ้งเบาะแส และรายงานสถานการณ์เหตุเร่งด่วน ในการช่วยเหลือป้องกันไม่ให้คนไทย คนลาวเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ โดยมีแนวทางป้องกันและปฏิบัติการเชิงรุกและรับแบบบูรณาการทีมงานสหวิชาชีพในการทำงาน มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เครือข่ายป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติขั้นตอนการดำเนินงานแก่แกนนำและกลุ่มเสี่ยง ระหว่างหน่วยงานมีการติดตามผล มีการผลักดันให้ท้องถิ่นบรรจุงานการค้ามนุษย์ไว้ในแผนงานของท้องถิ่น มีศูนย์ปฏิบัติการ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประจำจังหวัด เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ประสานทรัพยากรและเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการช่วยเหลือเหยื่อ 4. สถานการณ์การค้ามนุษย์ตามแนวชายแดน พบว่า จังหวัดมุกดาหารมีแนวชายแดนขนานไปกับแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามลำแม่น้ำโขงเป็นระยะทาง 72 กิโลเมตร แขวงสะหวันนะเขต ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราษฎรของแขวง สะหวันนะเขต ประกอบอาชีพด้านการเกษตรตามฤดูกาล ประชาชนทั้งสองฝั่ง มีความสัมพันธ์เหมือน ญาติมิตรมีความใกล้ชิด ยากต่อการป้องกัน มีการเดินทางไป - มา เข้าออกเมือง มีทั้งถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย โดยใช้ช่องทางน้ำตลอดแนวลำน้ำโขง ตามด่านประเพณีและสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 ข ของจังหวัดมุกดาหาร เป็นทางผ่านเข้าสู่จังหวัดมุกดาหาร เข้าสู่เมืองใหญ่ชั้นใน อาทิ จังหวัดนครราชสีมา กรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นๆ ได้ 5. ด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ตกเป็นเหยื่อมีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนขาดแคลนต้องกระตือรือร้นหารายได้ไปจุนเจือครอบครัวที่ไม่มีความมั่นคง ขาดการศึกษารู้เท่าไม่ทันการณ์กับพฤติกรรมการชักชวนเข้าสู่กระบวนการ ความสัมพันธ์ระบบเครือญาติมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างคนในกระบวนการค้าและเหยื่อ ทำให้ยากต่อการป้องกันและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาเป็นเครื่องมือในการค้ามนุษย์ในปัจจุบัน 6. ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ในครั้งนี้ 6.1 ควรมีแผนงานโครงการงบประมาณรองรับในการทำงานเฝ้าระวังป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดีกว่า แก้ไขปัญหา ปลายเหตุไม่คุ้มกับการสูญเสียความเป็นมนุษย์ ถูกกระทำจากเหตุต่างๆ 6.2 การพัฒนาแกนนำเครือข่ายให้มีความสมารถและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ที่เข้มแข็งมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นระบบทันสมัยสอดคล้องกับรูปแบบการค้ามนุษย์ในปัจจุบัน 6.3 มีการสนับสนุนงบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ การดำเนินงานในระดับชุมชน ในพื้นที่ตามแนวชายแดนที่เหมาะสม 6.4 ควรดำเนินการเผยแพร่ความรู้ขยายผลร่วมกับงานด้านอื่นๆ ให้ทุกฝ่ายได้ตระหนักในการป้องกันปัญหาร่วมกันได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ต่อไป 6.5 ควรผลักดันงานต่อต้านการค้ามนุษย์เข้าบรรจุในแผนงานของท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงตามแนวชายแดนได้ดำเนินการป้องกันให้รอบด้านให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม 6.6 การคุ้มครองเด็กไร้สัญชาติที่เกิดในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร หรือที่ถูกทอดทิ้ง ในจังหวัดมุกดาหาร ที่เริ่มมีจำนวนมากขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม <br><br>Research Title: The cooperation in preventing and suppressing human trafficking around the borders especially in Mukdahan Province. Research Purposes: 1. To study the situation of human trafficking in Mukdahan Province, 2. To study the means of cooperation between network organizations and leading groups in preventing and suppressing human trafficking around the borders, and 3. To suggest the means of cooperation in preventing and suppressing human trafficking. This is a qualitative research by collecting data from questionnaires after deeply interviewing 41 representatives of network organizations including the private sections and foundations preventing and suppressing human in Mukdahan Province, and from discussion with 104 sub-district leaders. There are totally 115 representatives from Muang District, Wanyai District and Dontan District in Mukdahan Province. Research Summary: 1. Situation of human trafficking in Mukdahan Province After interviewing representatives of network organizations preventing and suppressing human trafficking in 2009, we can conclude that Mukdahan Province has no obvious human trafficking according to the law and procedures of human trafficking prevention and suppression. For example, some Lao people pass the border to Muang District for working as waiters or tours and waitresses in restaurants or karaoke pubs at night or for visiting their relatives at night without being threatened or exploited in any way. In Wanyai District, some Lao people pass the border to temporarily help their relatives harvest agricultural crops before returning to their hometown. In Dontan District with routes of drugs around the border, some Lao people rapidly and unnoticeably escape across it in spite of information. a The public sections being responsible for preventing and suppressing human trafficking mainly work according to their points of view by considering their mission as an initial solution to this problem. For example, the Immigration Division often arrests refugees and rapidly pushing them for return without realizing that human trafficking may occur afterwards. From interviews and data from the police, we can conclude that there is no situation of human trafficking in 2009 because the concerned sections closely supervise their work, and both public and private organizations jointly conduct a campaign against human trafficking and give vocational training to people. 2. Policies and laws The national policies and laws are obvious because the Government pays much attention in the national assembly by urging all sections to jointly prevent and suppress human trafficking , passing the Act of Human Trafficking Prevention and Suppression, B.E. 2551, etc. for supporting their work, and making a draft of Memorandum of Understanding between the Thai Government and the Lao Government on their cooperation against human trafficking as well as a Memorandum of Understanding on their cooperation against human trafficking in the sub-religion of the Mekong River. About the provincial policies, a Memorandum of Cooperation was made between Mukdahan Province of Thailand and Sawannakhet Province of Laos for preventing problems and helping victims return to their hometown. A campaign is also conducted towards all target groups for their realization of human trafficking problems. A Memorandum of Agreement on procedures around permanent points of border pass and traditional checkpoints will be made with fixed dates and time. Besides, a joint agreement on labor around the borders will be made. b 3. Cooperation of provincial network Actions are performed at all levels of the province. After establishment of the Provincial Center of Human Trafficking Prevention and Suppression, a concerned committee was appointed for continuously holding meetings, exchanging reports of the situation in various responsible areas and finding solutions to the problems. Moreover, the network development is supported in districts, sub-districts, communities, voluntary villages and general villages for increasing competence by giving knowledge of human trafficking, prevention, people transportation and effects on victims. The network realizes how to perform actions, give information and report the urgent situation for helping and preventing Thai and Lao people from entering the process of human trafficking. There are integrated means of prevention and action for the multi-professional team. There are also workshops for the network of human trafficking problem prevention and solution. The leading groups and risky groups are trained in work procedures. Follow-ups are done among various sections. Local sections are urged to put human trafficking prevention work into their work plans. The Provincial Center of Human Trafficking Prevention and Suppression coordinates work between the public and private sections, coordinates resources and gives data for helping victims. 4. Situation of human trafficking around the borders The borders of Mukdahan Province runs parallel with Sawannakhet Province of Laos along a distance of 72 km of the Mekong River. The people in Sawannakhet Province do seasonal agriculture. The people of both lands have a close relationship, so it’s difficult to prevent human trafficking . Their inbound and outbound travel are both legal and illegal through the channels along the Mekong River, traditional checkpoints and the 2nd Thailand-Laos Friendship Bridge of Mukdahan Province towards Mukdahan Province as well as inner cities such as Nakhon Ratchasima, Bangkok, etc. c 5. Environment, economy and society Risk groups or victims are poor and have to financially support their families having unstable condition, low education and no awareness of human trafficking. A close relationship between human traders and victims makes it difficult to prevent human trafficking, and modern technology is now used as a tool for human trafficking. 6. Suggestions from this research 6.1 Budgets should be continuously provided to support the human trafficking prevention and suppression work in various areas. Prevention is better than cure for not losing humanness. 6.2. The network leaders should be developed for more work ability and efficiency as well as up-to-date operation. 6.3. Budgets, tools and equipment should be provided for communities in suitable border areas. 6.4. Knowledge should be also publicized so that all sections can jointly all sections to jointly prevent human trafficking problems. 6.5. Human trafficking prevention work should be put into the local work plans around risky border areas for overall and effective prevention. 6.6. Protection for more children having no nationality, being born or left in Mukdahan Province should not be neglected.

Date of Publication :

03/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ