Description
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่อยู่อาศัยและเทคนิคในการก่อสร้างในปัจจุบัน ทำให้อัตลักษณ์ของที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงและได้ส่งผลกระทบต่อองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในการก่อสร้างบ้านเรือนซึ่งนับวันก็จะสูญหายไป ดังนั้น โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดการความรู้เรื่องที่เรื่องอัตลักษณ์และภูมิปัญญาด้านที่อยู่อาศัยของท้องถิ่น : กรณีศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณลุ่มน้ำมูล-ลำพระเพลิง ในแอ่งโคราช จึงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านรูปแบบที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยของผู้คนในอีสานตอนล่าง โดยการจัดการความรู้ในรูปแบบสื่อลักษณะต่างๆ เพื่อให้พร้อมในการนำไปใช้สำหรับเผยแพร่ให้สาธารณชนได้เรียนรู้ นำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย โครงการจึงทำการเก็บตัวอย่างเรือนพื้นถิ่นที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์และสะท้อนถึงภูมิปัญญาของท้องถิ่นในอีสานตอนล่าง รวมทั้งแสดงถึงพัฒนาการในการอยู่อาศัยในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล-ลำพระเพลิง โดยเลือกสำรวจเรือนทั้งหมดจำนวน 17 หลัง กระจายตัวอยู่ตลอดแนวที่ราบลุ่มน้ำในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ด่านขุนทด อ.ปักธงชัย อ.สีคิ้วและอ.โชคชัย ผลผลิตที่ได้จากงานวิจัย เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของโครงการ ที่เน้นการนำเสนอผลการศึกษาในลักษณะที่เป็นข้อมูลสารสนเทศและสื่อในรูปแบบต่างๆ โดยที่มีการนำเสนอข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าของเรือนและคนในพื้นที่และข้อมูลเรือนตัวอย่างจากการสำรวจทั้งในลักษณะที่เป็นแบบทางสถาปัตยกรรมแบบสองมิติและสามมิติ รวมทั้งการนำเสนอในรูปแบบภาพจำลองแบบเคลื่อนไหวในลักษณะสามมิติ มีการบันทึกวิถีชีวิตและการใช้พื้นที่ภายในเรือน นำเสนอประกอบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมผ่านสื่อสิ่งพิมพ์แบบโปสเตอร์ เวปไซต์ หนังสืออิเลคทรอนิคส์ รวมทั้ง สื่อวิดีทัศน์ เพื่อให้สามารถที่จะนำไปใช้ในการเผยแพร่ได้หลากหลายรูปแบบและสอดคล้องกับความสนใจของผู้ชมที่หลากหลาย ผลการศึกษาพบลักษณะร่วมทางด้านรูปแบบทางสถาปัตยกรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างที่แตกต่างจากภาคอีสานตอนบนและตอนกลาง ขณะเดียวกันก็พบว่า มีอัตลักษณ์ย่อยของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ปรากฎอยู่ในรูปแบบเรือนและวัฒนธรรมในการใช้พื้นที่ภายในเรือนที่แตกต่างกันออกไป พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นที่รวมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ได้แก่ ไทโคราช ไทยวน มอญและไทลาว ซึ่งมีพัฒนาการด้านที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง<br><br>Presently, housing style and construction methods have been changed from time to time, therefore a current condition of the transformation of house style has accelerated the loss of cultural identity and the decline of local wisdom. This research, Knowledge Management of Thai Identity and Local Wisdom on Housing Development in Northeastern Region: A Case study of the Mun-Phra Pleng River Basin in Korat Basin, has been conducted aiming to collect local ways in constructing traditional house style and people’s lifestyle in order to dissimilate the knowledge from research findings in a various forms of medias for public to learn in accordance with their interests. Field research conducted in 4 districts along the Mun-Phra Pleng River Basin where traditional houses that have reflected Southern Isan identity can still be found, including Dan Khun Thot district, Pak Thong Chai district, Si-khio district and Chok Chai district through 17 various house styles selected as house samples that reflected the development of housing style in the focused area. Research outputs are pursuing the main objective which has emphasized on dissimilating research findings in the form of information technology database and various forms of media. Information from the house’s owners and locals’ interview along with the measurement of selected house samples from field research are displayed in two-dimensional and three-dimensional drawing including the animation of three-dimension model. People way of life and their use of interior spaces were also recorded. Architectural drawings are presented through variety forms of media including printed media in a poster format, website, electronic book and video since the viewer’s interests are varied. Findings from this research indicated that vernacular houses in study area have maintain similarity characteristics in terms of house style those can be defined as Korat house which is different from those in the north and central area of Isan region. Moreover, it has been found that each ethnic group has created sub-identity which express through house style and space-use as interpreted by each ethnic. Moreover, this area has also the melting pot for the settlement of diverse ethnicities including Tai Korat, Tai Yuan, Mon and Tai Lao. Housing styles have indicates a continuous development from various factors in the area.
\
Date of Publication :
03/2023
Publisher :
การเคหะแห่งชาติ
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read