Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องอัตลักษณ์...

TNRR

Description
บ้านเรือนและชุมชนพื้นถิ่นนับเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญประเภทหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งถิ่นฐานและมีพัฒนาการทางสภาพแวดล้อม สังคม การปกครอง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่มีรูปแบบเฉพาะเป็นของแต่ละท้องถิ่น บ้านเรือนและชุมชนพื้นถิ่นเหล่านี้นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนทางสังคมวัฒนธรรมของแต่ละท้องที่ ในช่วงเวลาหนึ่งๆแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการใช้ทรัพยากรและและเทคโนโลยีในการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ มีผลทำให้บ้านเรือนพื้นถิ่นเหล่านี้ลดลงไปเป็นจำนวนมากในหลายท้องถิ่น และในหลายกรณีถูกปรับเปลี่ยนไปในลักษณะที่ทำให้เกิดปัญหาด้านรูปแบบและเอกลักษณ์ของที่อยู่อาศัยของท้องถิ่น การเคหะแห่งชาติ โดยฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาของบ้านเรือนพื้นถิ่นที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ที่หลากหลาย โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องอัตลักษณ์และภูมิปัญญาด้านที่อยู่อาศัยของท้องถิ่น: กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลาง จึงเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้รูปแบบที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยของคนไทยในภาคกลาง บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มาจัดการความรู้ ประมวลเป็นสื่อชุดองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดทำสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เสมือน สำหรับเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อันจะเป็นแรงผลักดันให้สังคมเกิดการเรียนรู้ เกิดความรัก เกิดความภาคภูมิใจในคุณค่า และนำมาซึ่งการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ให้คงอยู่สืบไป โครงการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและสำรวจบ้านเรือนไทยพื้นถิ่น ในเบื้องต้นจำนวน 31 หลัง และในรายละเอียดจำนวน 15 หลัง และ 5 หลัง โดยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ ใน 3 พื้นที่ 4 ชุมชน ได้แก่ พื้นที่สะเทินน้ำสะเทินบกในบริเวณชุมชนเทศบาลตำบลลาดชะโด อำเภอผักไห่ พื้นที่ควบคุมน้ำในบริเวณชุมชนในตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช และชุมชนในตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่ที่ถูกทำให้เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานในชุมชนหมู่ 1 และหมู่ 2 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีบ้านเรือนที่ยังคงมีการดำรงอยู่ของคุณค่าศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของท้องถิ่นที่ดี จากการศึกษาพบข้อคิดสำคัญที่สามารถกล่าวได้เป็น 3 ส่วน ส่วนแรก คือ สภาพแวดล้อมกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งพื้นที่ศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของของการตั้งถิ่นฐานในลักษณะสังคมลุ่มน้ำที่มีการใช้ลำน้ำเป็นแหล่งในการอยู่อาศัยและทำเกษตรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ตามการพัฒนาของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ทำให้วิถีการทำกินและการอยู่อาศัยในบ้านเรือนของผู้คนในแถบนี้เปลี่ยนแปลงไปด้วย ประเพณีของชุมชนบางส่วนถูกยกเลิกหรือบางส่วนเปลี่ยนแปลงไป มีเพียงบางกิจกรรมหรืองานประเพณีที่สำคัญที่ถกคงไว้ โดยมักเป็นไปตามเงื่อนไขของฤดูกาล สภาพแวดล้อม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น การศึกษานี้ยังพบว่าการยึดถือประเพณีของการเป็นครอบครัวขยายที่ยังคงมีสืบเนื่องและสะท้อนสู่ลักษณะของบ้านเรือน ที่ซึ่งในปัจจุบันจะลดลงไปมากก็ตามส่วนที่สอง คือ ลักษณะภูมิทัศน์บริเวณบ้าน การศึกษานี้พบว่าในพื้นที่สะเทินน้ำสะเทินบก ทางเลือกของการพัฒนาด้วยระบบสะพานในชุมชนลาดชะโดเป็นทางเลือกในการพัฒนาชุมชนที่สามารถสร้างความสะดวกในการสัญจรภายในชุมชนแม้ว่าจะเป็นฤดูน้ำหลากและสามารถคงความเชื่อมโยงของระบบนิเวศแล้ว ยังสามารถสร้างอัตลักษณ์และสุนทรียภาพให้กับชุมชนที่แตกต่างจากท้องถิ่นอื่นๆอีกด้วย นอกจากนี้องค์ประกอบต่างๆในบริเวณบ้านของชุมชนที่ศึกษา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นปัจเจกมากขึ้น แต่ยังสะท้อนการมีวิถีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย เอื้อเฟื้อ และการพึ่งพาตนเองขั้นต้นส่วนที่สาม คือ ลักษณะเรือน โครงสร้าง และองค์ประกอบ ซึ่งพบว่าเรือนไทยพื้นถิ่นในชุมชนที่ทำการศึกษายังคงแบบแผนทางประเพณีของชุมชน บ้านเหล่านี้เป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง และหลังคาสูงทรงจอมแห จากการศึกษาเรือนในอดีตในพื้นที่ศึกษามี 2 ลักษณะ คือ เรือนประธานที่มีพาไล และเรือนประธานที่มีหอหน้า โดยมีพื้นที่นอกชานต่อออกมา เรือนเหล่านี้ส่วนใหญ่มักคงส่วนเรือนประธานไว้ตามแบบแผนประเพณี ในขณะที่องค์ประกอบอื่นๆของเรือนมีการปรับเปลี่ยนไป ได้แก่ การปิดล้อมนอกชานให้กลายเป็นพื้นที่โถง ปรับระดับพื้นเรือนภายในให้เสมอกัน และมีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและการใช้วัสดุของบ้านตามเทคโนโลยีการก่อสร้างที่มีในท้องถิ่นในส่วนของการจัดการความรู้ ข้อมูลการศึกษาที่ได้รับทั้งหมดถูกนำมาประมวลและจัดทำเป็นสื่อชุดองค์ความรู้ใน 5 รูปแบบ คือ 1) สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ จำนวน 16 แผ่น 2) สื่อวีดีทัศน์ จำนวน 3 เรื่อง 3) สื่อเว็บไซต์ จำนวน 1 เว็บไซต์ 4) สื่อหนังสืออิเลคทรอนิกส์ จำนวน 1 เล่ม และ 5) สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เสมือน ที่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเชื่อมโยงสู่ระบบสารสนเทศของการเคหะแห่งชาติและโครงการฯอีก 4 ภาคด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างเครือข่ายของนักวิชาการและผู้สนใจมีความกว้างขวางมากยิ่งขึ้นคำสำคัญ : บ้านเรือนพื้นถิ่น ภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง การจัดการความรู้ ภูมิปัญญา<br><br>Vernacular houses and communities are considered to be one of the most important cultural landscapes relating to their unique local characteristics of habitation, and their development of environment, governance, socio-culture and economics. Apart from reflecting each community’s complex cultural society in different periods of time, these local houses and communities also reveal people’s ability in living harmoniously with their environment and wisely using appropriate resources and technology for construction. However, the development of the country has brought about rapid reduction of those houses in various localities. These traditional houses have somehow modified in the ways generating the problems of identity conflict with local housings. Department of Housing Development Studies, National Housing Authority, has well realized local wisdom in housing construction reflecting communities’ uniqueness, which is priceless knowledge on unique Thai art and culture. A Study on Knowledge management of Thai identity and local wisdom on housing development: a case study in the Central region was established with aim to gather knowledge on housing and Thai’s ways of living in the lower part of Chao Phraya Basin, and then synopsis and manage all data into various types of knowledge media, and virtual museum. All these knowledge media can then be disseminated to the public realms or internet. The definite goal is to drive social mobility in learning, appreciation, and dignity in those valuable cultural heritages, and thus bringing about conserving and sustaining them toward the future. 4 communities in 3 different ecosystems in Phra Nakhon Si Ayutthaya province were selected due to remaining of vernacular houses in well conditions maintaining craftsmanship, culture and wisdom of locality. Those are 1) amphibious areas in Ladchado community of Phuk Hai district, 2) flood control areas in Tambon Ban Mai of Mharaj district and Tambon Pakkran of Phra Nakhon Si Ayutthaya district, and 3) Moo 1 and Moo 2 communities in Tambon Ban Pom, which were relocated due to irrigation system project of the government. 31 households were selected and studied in preliminary. Then, 15 houses and 5 houses were further selected, and examined in details using methods of observation and interviews.In this study, three important aspects were found. First aspect is environment, ways of life and community culture. It is manifested that the studied areas reflect the continuity of a rivervine society. However, the development of various aspects around the province has resulted in changing local ways of dwelling in these areas. Many local traditions were dropped out or changed. Some important traditions are still practiced in relation to the conditions of season, environment and beliefs of the locality. This study also found that though hardly to find in these days, there is still continuing tradition of extending family in the studied areas. Second aspect is landscape characteristic around the houses. This study found that in amphibious environment, bridges in Ladchado community suggest an alternative approach for community development that not only generates well balance between the need for transportation and network of the environment in the local place, but also create a peculiar identity and aesthetics of the community, which differs from any others. The study also reveals that even though elements around the houses in the studied areas have increasingly changed toward a house with individual quality, they still reflect the ways of living with simplicity, hospitality, and self- sufficiency as well as self-help among the local people. Third aspect is characteristics, structures, and elements of the households. Most vernacular houses of the studied villages have remained in traditional patterns of the community. These houses are wooden, built on stilts with high-pitched roof. The study found that in the past there were 2 main original characters of vernacular houses: a main house with verandah, and a main house with a front hall. Most studied houses are usually remained a main house in its in traditional pattern, while other elements were changed or modified. These are enclosing a roofless platform to form a hall of a house, adjusting to a single floor level, and adding other rooms or components for serving changing lifestyle of living. This also includes changes in structures and materials of the house along with available construction technology in the locality.In the part of knowledge management, all data gained were compiled and then established with 5 types of knowledge media: 1) 16 posters, 2) 3 stories of video with the format of documentary program, 3) 1 Website design compiled all data of this study, 4) an electronic book, which is a final report of this study, and 5) multimedia of virtual museum. All these media illustrate not only data of this study, but also create a link to internet network and to information system of National Housing Authority (NHA) as well as other 4 studies under this main research project. All these media were designed and established in order to publicize all knowledge revealing in this study and to create as well as to expand the networks among those scholars and all people who are interested in this field.Keywords: Vernacular houses, Central region, Chao Phraya Basin, Knowledge management, Local Wisdom

Date of Publication :

03/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ