Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การศึกษาแบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับรูปแบบเชิงนโยบาเพื่อ...

TNRR

Description
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อที่จะศึกษาสภาพปัญหาความรุนแรงของนักเรียนและนักศึกษา และเพื่อศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดให้เป็นนโยบายในการแก้ปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ วิธีการศึกษาใช้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพใช้การจัดสนทนากลุ่ม (Focus group) ใน 4 เขตการศึกษา เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเชิงสำรวจ โดยมีค่าความน่าเชื่อถือที่ Cronbachs Alpha = .75 และ ระดับความสัมพันธ์ในชุมชน ได?ค?า Cronbachs Alpha = .76 ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาความรุนแรง ด้านร่างกาย ด้านจิตใจที่นักเรียนและนักศึกษาได้รับ ตามรายละเอียดหัวข้อที่สอบถาม จัดอยู่ในระดับ มาก สาเหตุเกิดจากปัญหา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ เกิดจากการทะเลาะวิวาท การเรียนแบบจากสิ่งเร้าที่มากระตุ้น การกระทบกระทั่งจากการแข่งขันและการเชียร์กีฬา ปัญหาครอบครัว กิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดเพื่อเป็นการลงโทษ เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่มีความรุนแรงแฝงอยู่ พัฒนาการของตัวนักเรียนนักศึกษา เช่น การแสวงหาการยอมรับ อยากทดลองหาประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและการเรียนแบบจากรุ่นพี่ โดยมีแนวทางในการแก้ปัญหาพฤติกรรม คือ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และตัวนักเรียนนักศึกษาเองจะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ผู้ปกครอง การทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ชุมชนน่าอยู่ โรงเรียนให้การศึกษาอบรมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัยและหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายจะต้องบังคับใช้อย่างเต็มที่ นโยบายสำหรับการแก้ไขปัญหาจะต้องชัดเจนและต่อเนื่อง และรูปแบบเชิงนโยบายเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา พบว่า มีอยู่ 1 รูปแบบ คือ รูปแบบการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา โดยกำหนดให้มีขั้นตอนในการปฏิบัติ คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 3) การเยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามสร้างความไว้ใจและใกล้ชิดกับปัญหา 4) การป้องกันและแก้ไข โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและนักเรียนนักศึกษา ครูกับผู้ปกครอง และ นักเรียนนักศึกษากับครูเพื่อความสัมพันธ์อันดี 4.1) เน้นในกลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโดยการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง เป็นการสร้างความรู้เกี่ยวกับการดูแลเอาใจใส่ และศึกษาสภาพปัญหาทางสังคมของครอบครัวและนักเรียนนักศึกษา 4.2) เน้นวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการนุ่มนวลอาศัยการบอกอย่างผู้รู้ 4.3) เน้นกิจกรรม “เพื่อนช่วยเพื่อน” 5)ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายนอก เช่น นักจิตวิทยา โรงพยาบาล สาธารณสุข สำหรับมาตรการลงโทษกรณีที่นักเรียนนักศึกษามีพฤติกรรมความรุนแรง หรือเกิดการทะเลาะวิวาทให้มีบทกำหนดโทษ หรือ มาตรการลงโทษไว้ ดังนี้ 1. มาตรการลงโทษเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยกำหนดระเบียบวินัยร่วมกันเน้นการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความรุนแรงในนักเรียนและนักศึกษา เช่น กิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อลดเวลาว่างของเด็กแต่สามารถสร้างที่ยืนทางสังคมให้กับนักเรียนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งยังเป็นการลดพื้นที่มั่วสุม 2. อบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเน้นที่ตัวเด็กที่เป็นกลุ่มแกนนำ (หัวโจก)<br><br>The objectives of this research are to study the situation of student’s violent problems and to study participant with various offices to set up the policies for the solution of student’s violent problem in the high school and University of Buriram Province. The quantitative and qualitative research are used for this research, which quantitative research is the making of the focus group and the qualitative research is the using of survey questionnaire; the probability of Cronbach’s alpha is at .75 and at .76 of the relative in the community. The results are found that the situation of violent problems in the body and metal get by the students arranged in more level. The causes of these problems occurred from these events as; the altercation, the imitation, the fluctuation from the competition of the sport, the problem of family, the activity of punishment from the school, the children’s progression such as the showing, the seeking of exciting experiment as well as the imitation from the senior. The tendency of problem solution has the following method; the family, the school, the community and the student have to solve participant the problems. It should have the training from the parent. The school should train and inject into the children about the moral principal, the discipline of school and so on. The model of policies for the problem solution is found that there is only one model as; the giving of help and taking of the student according to the following progress; 1) the knowing of each student, 2) the selection of the students having the risk, 3) the visiting of student’s home, 4) the promotion and solution through the coordination between the guardian and students in order to make the good relationship, 4.1) it emphasize on the development of risk group, 4.2) it emphasize on the solution of problem with the negotiation, 4.3) it emphasize on the activity as ‘the friend help the friend’, 5) it gives to the retated office such as the psychologist, the hospital or the public health for taking care the hearth health. For the standard of punishment, it should have as follows; 1. the standard for changing the behavior, 2. the training for changing the behavior by emphasizing on the leader of the gang.

Date of Publication :

03/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ