Notifications

You are here

อีบุ๊ค

อนาคตภาพการจัดสวัสดิการสำหรับครัวเรือนที่ไม่มีกรรม...

TNRR

Description
การศึกษาอนาคตภาพการจัดสวัสดิการสำหรับครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การครอบครองหรือการมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของประชากรในเขตปริมณฑลและการจัดสวัสดิการสังคมด้านที่อยู่อาศัยของประเทศไทยในปัจจุบัน และศึกษาความต้องการของครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย รวมทั้งเพื่อเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยในชุมชนเมืองที่ในอนาคต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยในชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 389 ครัวเรือนและผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัย จำนวน 7 คน สำหรับวิธีการศึกษาใช้การวิจัยแบบเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยต่อการจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง และการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการวิจัยจากเอกสารและเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ผลการศึกษาสถานการณ์การครอบครองหรือการมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของประชากรในเขตปริมณฑล พบว่า จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในจังหวัดปทุมธานีมากที่สุด จำนวน 5,898 ครัวเรือน รองลงมาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 4,714 ครัวเรือน และจังหวัดนนทบุรี จำนวน 3,569 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 14,181 ครัวเรือน ในส่วนความต้องการรูปแบบที่อยู่อาศัยในรูปแบบบ้านเดี่ยวมากที่สุด ส่วนวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัย ราคาที่อยู่อาศัย 0.5 – 1 ล้านบาท ขนาดเนื้อที่ใช้สอย 25 – 66 ตร.ม.ขึ้นไป ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้รัฐบาลช่วยสมทบมากที่สุด ความต้องการกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ต้องการทั้งกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินและกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย และต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการเดินทางสะดวก ในส่วนความต้องการด้านสวัสดิการต้องการให้ภาครัฐให้ความรู้เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแก่ประชาชน สำหรับแนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยในชุมชนเมืองมี 2 แนวทาง ได้แก่ 1.แนวทางการจัดสวัสดิการช่วง 5 ปี (พ.ศ.2560 - 2564) ประกอบด้วย รูปแบบที่อยู่อาศัยควรเป็นไปตามมาตรฐานที่อยู่อาศัย ผ่านการวิเคราะห์ EIA โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ ด้านราคาที่อยู่อาศัยต้องมีความสัมพันธ์กับจำนวนสมาชิกในครัวเรือน โดยกลุ่มตัวอย่างต้องการที่อยู่อาศัยราคา 0.5 – 1 ล้านบาท วางตำแหน่งใกล้กับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ สะดวก และปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ระยะเวลาผ่อนที่อยู่อาศัย 25 ปี ? ถึง 65 ปี ด้านกฎหมายที่อยู่อาศัยควรกำหนดเงื่อนไข คือ รูปแบบบ้านเดี่ยว หรืออื่นๆ ควรจัดสวัสดิการสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบพักชำระหนี้ 1 ปี ในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายต้องการเฉพาะกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย กรณีที่ 2 ต้องการกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินและกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ควรจัดสวัสดิการสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันได และฟรีค่าสำรวจและประเมินราคาหลักประกัน 2.แนวทางการจัดสวัสดิการระยะยาว (พ.ศ.2565 - 2579) ได้แก่ การส่งเสริมความรู้กรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ที่ดิน สินเชื่อ กฎหมายที่อยู่อาศัยและช่องทางการช่วยเหลือ, ผลักดันให้อปท.เป็นหน่วยงานหลักในการจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยชุมชน กระทรวงพม.เป็นที่ปรึกษาและตรวจสอบมาตรฐาน, สนับสนุนวินัยการออมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง (สหกรณ์ออมก่อนกู้/รวมกลุ่มซื้อที่ดิน), สร้างแรงจูงใจให้สิทธิ์ครอบครองที่ดินตามเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนด เช่น นิคมสร้างตนเอง, สร้างระบบข้อมูล Demand – Supply, จัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยที่ทันต่อเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยตาม Generation, ยึดหลักการสากล Universal Complex และตามบริบทสังคม อีกทั้งกำหนดเป้าหมายในระยะเวลาอีก 15 ปีข้างหน้าไม่มีการกำหนดให้หน่วยงานใดเป็นเจ้าภาพหลัก อาจมีแค่ผู้ประสานงานหลักโดยเชื่อมผ่าน IT<br><br>The Future studies of welfare for non-proprietary households in urban community. The purpose is study the situation of occupation or ownership of housing in the metropolitan area and the social welfare of the housing in current Thailand. And study the needs of non-proprietary households in housing. Including to provide guidelines for non-proprietary housing in urban neighborhoods in the future. The sample consisted of non-proprietary households in urban housing in Pathumthani, Nonthaburi and Phranakhonsiayutthaya province 389 households and residential experts 7 people. For the study method, quantitative research collected data on the needs of non-residential households in urban welfare housing and qualitative research Which is documented research and EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) research techniques.The study of the situation of occupancy or ownership of residential areas of the metropolitan area is number of non-residential households in Pathumthani province is 5,898 households followed by Ayutthaya province with 4,714 households and 3,569 households in Nonthaburi, totaling 14,181 households. In terms of housing demand in most single homes the purpose of living housing prices 0.5 - 1 million baht usable area of 25 - 66 sq.m. up. Demand for housing loans to the government contributed the most, ownership requirements for most residences require both ownership of title deeds and ownership of residences and want safety in life and property and convenient transportation. In terms of welfare needs, needs the government educate people about the ownership of housing.For guidelines for the welfare of non-residential households in urban dwelling, there are two approaches include 1. Welfare guidelines for 5 years (2560 - 2564) consists of housing styles should meet housing standards, through EIA analysis, especially single houses and townhouses the price of housing must be correlated with the number of household members. demand for housing is 0.5-1 million baht, Placed close to public transport, convenient and safe in life and property, housing installment period 25 years ? up to 65 years. Housing law should define the conditions is single house or other forms should provide a 1-year repayment of housing loans in case the target group wants only the ownership of the housing. Case 2 requires ownership of title deeds and ownership of housing should welfare housing loans with fixed interest, short-term step and free exploration and appraisal. 2. Welfare guidelines for long-term welfare (2022 - 2579) these include the promotion of knowledge, ownership of housing, land, housing loans, and aid channels, promote the community to be the main unit in housing welfare community, The MSDHS is the consultant and standard auditor, Support discipline, saving money for housing continuously (savings bank cooperative / buying cooperative), encourage land tenure incentives based on criteria and timing such as self settlement, create an information system, Demand – Supply, provide timely housing welfare or housing replacement by Generation, based on universal principles (universal Complex) And social context Also targeted for the next 15 years, there is no designated agency to host the main. There may be only the primary coordinator through IT.

Date of Publication :

03/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ