Notifications

You are here

อีบุ๊ค

นวัตกรรมการจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและ...

TNRR

Description
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โครงการวิจัย นวัตกรรมการจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน โดยใช้ชุมชน เป็นศูนย์กลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวและชุมชนในพื้นที่ ศึกษากระบวนขับเคลื่อนและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ศึกษาบทบาทของเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน และเพื่อจัดทำนวัตกรรมการจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงประมาณ คือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 500 คน เชิงคุณภาพ ประกอบด้วยเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการระดับพื้นที่ ได้แก่ คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัว ประชาชนในพื้นที่ อปท. ผู้นำชุมชน อาสาสมัครต่างๆ หน่วยงานในพื้นที่ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1. สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวและชุมชนในพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น 1.1 สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว การแสดงพฤติกรรมอารมณ์รุนแรงหรือใช้กำลัง ในการกระทำความรุนแรงของสมาชิกในครอบครัว ส่วนใหญ่ไม่มีการแสดงพฤติกรรม หากมีการแสดงพฤติกรรมความรุนแรง ส่วนใหญ่แสดงออกในลักษณะของการดุด่าด้วยอารมณ์ ไม่มีเหตุผล โดยมีวิธีการแก้ไขปัญหาหากเกิดปัญหาความรุนแรงขึ้นในครอบครัว คือทำกิจกรรมนอกบ้าน สาเหตุของการกระทำความรุนแรงในครอบครัว เกิดจากความเครียด สุรา และเศรษฐกิจ เช่น ยากจน ไม่มีงานทำ เป็นต้น 1.2 สถานการณ์ความรุนแรงในชุมชน การพบเห็นการแสดงพฤติกรรมความรุนแรงในชุมชน และผู้กระทำความรุนแรงจากการพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในชุมชน ส่วนใหญ่เคยพบเห็นการแสดงพฤติกรรมความรุนแรงในชุมชน โดยผู้ที่กระทำความรุนแรง ส่วนใหญ่เป็นสามีทำร้ายภรรยา แม่ทำร้ายลูก และลูกทำร้ายแม่ พ่อทำร้ายลูก สาเหตุของความรุนแรงที่พบเห็นในชุมชน เกิดจากการดื่มสุรา สิ่งที่จะทำเมื่อพบเห็นเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงต่อกันทั้งในที่สาธารณะหรือที่บ้าน ส่วนใหญ่จะเฉยๆ ไม่กล้าเข้าไปยุ่ง เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนตัว การจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงของชุมชน เมื่อเกิดการกระทำความรุนแรงขึ้นทั้งในครอบครัวและชุมชน มีการจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรง หน่วยงานหรือบุคคล ในชุมชนที่เข้าช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการกระทำความรุนแรงขึ้นในครอบครัวและชุมชน เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 1.3 บทบาทของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน ส่วนใหญ่เห็นว่าสิ่งที่ชุมชนดำเนินการ คือ การการรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชนของชุมชน 1 – 2 ครั้ง/เดือน การให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรง การว่ากล่าว หรือตักเตือนผู้ที่กระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือชุมชน การประสานขอความช่วยเหลือของชุมชน กรณีเกิดความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน และส่วนใหญ่เห็นว่าสิ่งที่ชุมชน ยังไม่ได้ คือ กระบวนการในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน ของชุมชน การจัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในชุมชนของชุมชน เจ้าหน้าที่อาสาสมัครที่คอยช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงในชุมชน 2. กระบวนขับเคลื่อนและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน 1) สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น อำเภอ ตำรวจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สาธารณสุข ผู้นำชุมชน ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับชุมชน ให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจและได้รับความคุ้มครองทางสังคม มีความเป็นกลาง รับทราบปัญหาและเร่งแก้ไข 2) อำนวยความสะดวก ประสานงาน ให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน 3) ร่วมกับอำเภอ เกษตรอำเภอ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการใช้ประโยชน์จากดิน และน้ำ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของชุมชน เพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส 4) ร่วมมือกับสาธารณสุข โรงพยาบาล โรงเรียน ส่งเสริม รณรงค์ ป้องกัน สุขภาพและอนามัยของประชาชน ส่งเสริม จัดกิจกรรมการกีฬาในชุมชน 5) ส่งเสริม สนับสนุน เปิดโอกาสให้เด็กได้รับการศึกษา จัดกิจกรรมให้ความรู้ต่างๆ 3. บทบาทของเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน ได้แก่ หน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ ศูนย์ดำรงธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แก่ ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงยุติกรรม ได้แก่ สำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 และโรงเรียนในพื้นที่ การดำเนินงานของภาคีเครือข่ายต่างๆ จะเป็นในลักษณะของการให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวและชุมชนขึ้นแล้วในรูปแบบต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางกฎหมายเข้ามาแก้ไขปัญหา 4. การจัดทำนวัตกรรมการจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง การจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา การดำเนินงานพัฒนาสังคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง ถ้าพอประมาณเราทำได้ มีเหตุผล คิด พูดคุย ด้วยความประนีประนอม มีเหตุผล ภูมิคุ้มกันนั้นเกิดจากการเรียนรู้สิ่งที่ผิดเพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ไม่เกิดข้อผิดพลาดอีก ภูมิคุ้มกันเราสร้างได้ 2 เงื่อนไข ความรู้ คู่คุณธรรม ถ้าทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ มีการศึกษา ปัญหาจะไม่ค่อยเกิด ถ้ามีความรู้ เมื่อพบเจอปัญหาความรุนแรง จะใช้เหตุผลในการพิจารณามากขึ้น จะใช้จิตวิทยาในการพูดต่างๆ คือ นำความรู้มาใช้ คุณธรรมเป็นคนดี มีการนำ บ้าน วัด โรงเรียน (บวร) มาเชื่อมโยงการดำเนินงาน เข้าวัดฟังธรรม แล้วนำมาถือปฏิบัติ จะเกิดสิ่งที่ดีมีคุณธรรม มีความดีที่เกิดขึ้น การจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 กรณี 4.1 กรณีปัญหายังไม่เกิด ต้องสร้างภูมิคุ้มกันในการแก้ไขปัญหา การดำเนินกิจกรรมในพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว และชุมชน ลดช่องว่างระหว่างครอบครัวและชุมชน ให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้นทั้งในครอบครัวและชุมชน โดยการสร้างกิจกรรม/เหตุการณ์ เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การสร้างสังคมที่ดี ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กิจกรรมโรงเรียนครอบครัว กิจกรรมด้านสุขภาพ การส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น 4.2 กรณีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ปัญหาสังคมเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ต้องมีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหา ซึ่งต้องร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 3 กระบวนการ คือ ร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ และร่วมแก้ไขปัญหา มีขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา 2 ขั้นตอน คือ การหาวิธีแก้ไขปัญหา และการหาคนช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยพูด ช่วยคุย ช่วยบอกข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรกำหนดนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน โดยการหนุนเสริมการดำเนินงานของท้องถิ่น ทั้งด้านบุคลากรให้ความรู้ และงบประมาณในการดำเนินงาน โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเพื่อสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง 1.2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรให้ความสำคัญกับสภาเด็กและเยาวชน ในการเข้ามาเป็นองค์กรขับเคลื่อนด้านความรุนแรง เป็นศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา กับเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาความรุนแรง พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของครอบครัวและชุมชน เพื่อไม่ให้ปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้น 1.3 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ในด้านของการจัดกิจกรรมให้สถาบันครอบครัวเข้าใจในบทบาทการแสดงต่อกันทั้งในครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้ทุกคนในชุมชนแสดงบทบาทของตนเองอย่างเหมาะสม 1.4 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ควรส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยการสร้างจิตสำนึกในการมองปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน ให้มองว่าปัญหาความรุนแรงเป็นปัญหาของสังคม ชุมชน ไม่ใช่ปัญหาภายในครอบครัว และเมื่อประสบกับปัญหา หรือพบเห็นปัญหาต้องไม่นิ่งเฉย ต้องร่วมกันในการแก้ไขปัญหา ให้หมดไปจากครอบครัวหรือชุมชน 2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ 2.1 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ควรขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน และสร้างรากฐานทางสังคมให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว การดำเนินงานในลักษณะของการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในครอบครัว เพื่อลดความห่างเหินระหว่างวัยภายในครอบครัว 2.2 หน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพของคณะทำงานให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน และให้มีกระบวนการในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เป็นศูนย์กลางของคนทุกวัย 2.3 หน่วยงานของทุกกระทรวง อาทิ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติกรรม ฯลฯ ควรร่วมมือดำเนินการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้กระทำความรุนแรง ปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนในชุมชนให้มองปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หรือในชุมชน เป็นปัญหาของชุมชน ปัญหาของส่วนรวม ที่ต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาให้ลดลงหรือหมดไป 2.4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรเพิ่มกระบวนการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน การจัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในชุมชนของชุมชน และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครที่คอยช่วยเหลือผู้ถูกระทำความรุนแรงในชุมชน เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจ ในปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน 2.5 หน่วยงานท้องที่และท้องถิ่น กลุ่มองค์กร แกนนำชุมชนต่างๆ ควรน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาชุมชน หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ทำให้เกิดการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างมีขั้นตอนและกระบวนการในการทำงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง<br><br>Executive Summary The research project ""Management innovation of domestic violence in family and community solutions by community based rehabilitation"" aimed to study the situation of domestic violence in family and community in the area, study motivation and problem solution process of domestic violence in family and community by community based rehabilitation, study the role of networks involved in the resolution of domestic violence in family and community, and develop the management innovation of domestic violence in family and community solutions by using quantitative and qualitative research methodology. The quantitative samples consisted of500 people in the targeted area. The qualitative ones consisted of a network of social and welfare development at the regional level; for example, the team of family development center, people in community areas, Local Administrative Organization, community leaders, volunteers, local authorities, and associated network partner organizations. The results were included as follows: 1. The situations of domestic violence in family and community in the area were divided into 1.1 The situations of violence in family, showing offensive or violent behavior or violent actions of family members were mostly not showing the behavior. If there was the show of violence, mostly it would be expressed in the manner of emotional and unreasonable blame. A way to solve the problem of domestic violence was doing outdoor activities. The causes of domestic violence were stress, alcohol and economy such as poverty, unemployment, etc. 1.2 Violence situation in the community, the presence of violence in the community, and violent people from the presence of violence in the community came from most of people had seen the violence in the community, and most of violent persons consisted of husbands who hurt their wives, mothers hurt their children, children hurt their mothers, and fathers hurt their children. Apparently, the violence in the community was caused by drinking alcohol. Most of what to do when seeing violence in public or at home were passive, not dare to interfere because it was personal business. The management and solution of community violence when occurring in the family and community should be resolved by the agencies or persons such as the village headman and leader In community that could help to solve the problem of violence in the family and community. 1.3 The community roles in preventing and resolving domestic and community violence were mostly focused on the campaign and public relations from community for giving the knowledge about the prevention and resolution of family and community violence in the community 1-2 times a month, giving some advice to the victims from any violence, blaming or warning persons who committed domestic or community violence; including coordinating and asking for some helps from the community. In the case of domestic and community violence, most of people realized in what the community did not have that consisted of the process of solving domestic and community violence issues, training to give knowledge about violence problem in community, and the volunteers or staffs who assisted the victims from the violence in the community. 2. The motivation and resolution process of domestic and community violence consisted of 1) To strengthen the community by cooperating with all sectors such as district, police, hospitals, health promoting hospital, public health, community leaders to do the activities within community, provide people with trust and social protection, be neutral to acknowledge the problem and to speed up the resolution, 2) To facilitate and coordinate to support people in access to funding sources, 3) To coordinate with the director of District Agricultural Extension Office, encourage people to have the knowledge about using soil and water utilization appropriately with the area of the community, 4) To collaborate with public health, hospitals, schools, promote campaigns to prevent health and public health of people, and support the sport activities in community, and 5) To promote and support the opportunities for children to receive the education; including provide the education activities. 3. The roles of the various networks related to the resolution of domestic and community violence, and the networks related to the implementation of domestic and community violence consisted of the Ministry of Social Development and Human Security; namely, the Office of Social Development and Human Security in Suphanburi Province, Children and Family Home in Suphanburi, the Ministry of Public Health; namely, One Stop Crisis Center at Chaophrayayommarat Hospital, and Health Promoting Hospital, the Ministry of Interior; namely, Damrongdhamma Center, Local Administrative Organization, the National Police Office such as Suphanburi Provincial Police, the Ministry of Justice; namely, Administrative Office of Suphanburi Provincial Court, and the Ministry of Education; namely, the Office of the Secondary Education Service Area 9 and local schools. The operation of network partners would be in the form of assistance in the case of domestic and community violence in various forms by using legal process to solve the problem. 4. Making the management innovation of domestic violence in family and community solutions by community based rehabilitation Domestic and community violence management by using community based rehabilitation and applying the philosophy of sufficiency economy of His Majesty King Bhumibol Adulyadej as a guideline to solve problems. About the implementation of social development in accordance with the philosophy of Sufficiency Economy in 3 issues, if we can do reasonable thought, talk with compromise and reason, there would be the immunity was due to learning the wrong thing to achieve the error; and no any mistakes in the future.The immunity could be created into two conditions; knowledge with morality. If all people had the knowledge, understanding, and education, the problems would rarely occur. It was found that if we had the knowledge, we would prefer using more reason to consider when encountered violence. There would also be the use of psychology for speaking; namely, to apply knowledge for creating morality as good people with connecting house, temple, and school to the operation, and go to the temple for listening to sermon then put to practice truly. From these, it would be good to have virtue and have good things to happen. The implementation of management innovation of domestic violence in family and community solutions by community based rehabilitation could be divided into 2 cases as follows: 4.1 Although the problem had not occurred yet, it must have the immunity of solving any problems. Implementing activities in the area to strengthen family and community, and narrowing the gap between family and community to have much more understanding to both the family and the community was from creating activities/ events in order to achieve a common thinking process in solving problems together, create a good society, reduce the conflict in the community throughout doing activities together such as the activities within family and school, health activities, and the promotion of supplementary occupations, etc. 4.2 In case of occurring any problems, social problems were complicated and needed the network to solve the problems. The three common approaches to solve the problem together were ""co-thinking, co-analysis, and co-solving problems. And there were two steps to solve the problem; namely, finding a problem solution and finding someone to help mediate mutual understanding or ""Help them to speak, help them to talk, and help them to tell"".Recommendations 1. Policy Recommendations 1.1 The Ministry of Social Development and Human Security should set the policy that focused on the prevention and resolution of domestic and community violence by supporting the operation of locality in terms of persons who gave the knowledge and the budget for operation, and having the locality as the operator for strengthening the social foundation. 1.2 The Ministry of Social Development and Human Security should focus on children and youth council to become the organization of violence motivation, and the center for counseling to children and youth who experienced with the violence; including take part in strengthening the family and community to prevent the violence. 1.3 The Ministry of Social Development and Human Security and the relevant agencies should pay more attention to family development center in the community; in term of organizing activities to the family institution for understanding about the role of acting in the family and community continuously, and it would be the result to everyone in the community could play their role appropriately. 1.4 The Technical Promotion and Support Office should encourage the community to play a more active role in management of resolving family and community violence problem by raising awareness of domestic and community violence. The violence problem should be realized as a social and community problem, not a family problem. And when faced with the problem or see the problem, it must not be silent, but must coordinate to solve the problem in order to keep it away from family or community instead. 2. Practical Recommendations 2.1 The Technical Promotion and Support Office should extend the result of operation to cover all areas in order to provide relevant agencies with solutions to domestic and community violence, and build a strong social foundation; especially family institution. It should have the operation in terms of building a good family relationship for reducing the distance between the ages of members within the family. 2.2 The Ministry of Social Development and Human Security, Local Administrative Organization, and related network partners should focus on family development center in the community by developing the potential of working group to have knowledge and understanding about domestic and community violence, and to have a continuous working process in order provide family development center in the community as the center of people in all ages. 2.3 All ministries such as the Ministry of Social Development and Human Security, the Ministry of Interior, the Ministry of Education, and the Ministry of Justice should cooperate to modify the behavior of violent persons, change the attitude of people in the community to realize in domestic or community violence as a community issue and public problem that everyone should collaborate in solving the problem to be reduced or disappeared. 2.4 Local Administrative Organization should increase the process of prevention and resolution of domestic and community violence, provide management training on knowledge of community violence, and support volunteers or staffs who assisted the victims from violence in the community in order to provide everyone with the understanding of the problem, and participate in the prevention and resolution of domestic and community violence. 2.5 Local and regional agencies, organizations, and community mainstays should be guided by Sufficiency Economy Philosophy of King Rama IX as a guideline for community development. Also, the principles of 3 rings and 2 conditions could systematically prevent and solve problems with a clear and consistent working process.

Date of Publication :

03/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ