Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การเข้าสู่กระบวนการการเป็นขอทาน

TNRR

Description
การศึกษาเรื่องกระบวนการขอทาน เป็นการศึกษาในพื้นที่ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบูรณาการทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงคุณภาพดำเนินงานก่อน โดยผู้นำชุมชนเป็นผู้คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นขอทาน/เคยเป็นขอทาน จำนวน 30 คน และบ้านข้างเคียง จำนวน 30 คน เนื่องจากจากการศึกษาค้นคว้าพบว่ามีการศึกษา/วิจัยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการขอทานมีไม่มากนัก และเพื่อให้คณะผู้วิจัยสามารถรับทราบถึงข้อเท็จจริงสถานการณ์เรื่องการขอทานในระดับพื้นที่เชิงลึก เมื่อศึกษาเชิงคุณภาพแล้วจึงมีการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อประมวลเป็นชุดคำถามในเชิงปริมาณ เพื่อสอบถามกลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดโควตาตามข้อมูลหมู่บ้านที่มีคนพิการมากน้อยต่างกัน ทุกหมู่บ้าน รวม 20 หมู่บ้าน โดยกลุ่มเป้าหมายที่สุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไป 954 คน และผู้นำ 48 คน รวม 1,002 คน สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 1.การตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการขอทาน ปัจจัยด้านตัวบุคคล -ภูมิหลังของครอบครัว จากการศึกษาพบว่าภูมิหลังของครอบครัวของคนขอทานหรือผู้ที่เป็นขอทาน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีทุกเพศ มีทุกวัย ผู้ที่กระทำการขอทานเองมีตั้งแต่เด็กอายุ 8 ปี ถึงผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป (ไม่รวมถึงกรณีครอบครัวนำเด็กทารกไปขอทานด้วย) แนวโน้มที่ขอทานที่สมัครใจ/ถูกนำเข้าสู่กระบวนการขอทานอายุจะน้อยลงไปเรื่อยๆ -ฐานะความเป็นอยู่และสภาพชีวิตการทำงานในอดีตและปัจจุบัน ครอบครัวคนขอทาน/คนเคยขอทานส่วนมากมีฐานะในระดับยากจน ไม่มีรายได้/ไม่มีอาชีพที่มั่นคง ไม่มีที่ทำกิน/ที่ทำกินน้อย และส่วนน้อยที่มีฐานะครอบครัวในระดับที่พอช่วยเหลือตนเองได้ และที่ฐานะค่อนข้างดี/ฐานะดี แต่ประสบปัญหาครอบครัวเฉพาะหน้าทำให้ชีวิตผกผันเข้าสู่กระบวนการขอทาน โดยครอบครัวขาดความมั่นคง มีรายได้น้อย ไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือประสบปัญหาด้านการเงินในครอบครัวจึงไปขอทาน และยึดเป็นวิธีการหารายได้ของครอบครัววิธีหนึ่งในท้ายที่สุด หรือบางรายเมื่อพ้นวิกฤต หรือ ถูกจับกุม อาจเลิกขอทานไปเลยก็มี -ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ และระดับความต้องการของชีวิต เมื่อพิจารณาในภาพรวมของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นขอทาน/เคยเป็นขอทาน พบว่า มักมีทัศนคติว่าตนเองประสบปัญหาที่ไม่มีทางออก ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่าการแก้ปัญหาเรื่องการครองชีพด้วยการขอทาน โดยระดับ (2) ความต้องการในชีวิตตามทฤษีลำดับขั้นของความต้องการของมาสโลว์ อยู่ในระดับที่ 1 คือ ระดับความต้องการทางสรีรวิทยา (Physiological need) คือความต้องการอาหาร ปัจจัยสี่ น้ำ การพักผ่อน เพราะกลุ่มเป้าหมายทุกคนต่างระบุว่ามูลเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องไปขอทาน คือ ไม่มีเงินซื้ออาหาร ส่งลูกเรียน ไม่มีเงินใช้หนี้สิน และมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ขอทานเพราะความต้องการในระดับ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety need) เช่น ความมั่นคงทางกาย ทรัพย์สิน จิตใจ ในการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายพบว่าคนขอทานทุกคนไม่ภูมิใจในการเป็นคนขอทาน แต่มีความภูมิใจที่ตนเองสามารถหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวได้ ซึ่งข้อมูลสอดคล้องกับแบบข้อมูลเชิงปริมาณ ตามตารางที่ 19 ความรู้สึกที่ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มีขอทานมาก จำแนกตามสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกต่อการที่ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอมีขอทานมากในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่ภาคภูมิใจ ประชาชนทั่วไป ค่าเฉลี่ย 4.26 และผู้นำชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.92 -วิธีขจัดปัญหาอุปสรรค รวมถึงการปรับตัวและสร้างคุณค่าให้กับตนเอง เมื่อเผชิญความทุกข์ที่ผ่านมาในชีวิต จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัย มีเพียงรายเดียวที่ไม่มีการทำงานอื่น นอกจากการขอทานเพียงอย่างเดียวมี 1 ครอบครัว ซึ่งในความเห็นของผู้นำและประชาชนทั่วไปเห็นว่าพฤติกรรมการขอทานของคนในชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้านมีลักษณะการขอทานจนเป็นอาชีพตามข้อมูล ตารางที่ 16 ลักษณะของการไปขอทานจำแนกตามสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนส่วนมากประชาชนทั่วไปเห็นว่าการขอทานที่มีในปัจจุบันในพื้นที่ของตนเองคนที่ไปขอทานเป็นการขอทานในลักษณะ ไปขอทานเป็นอาชีพหลัก ค่าเฉลี่ย 3.68 รองลงมาตามลำดับ คือ ไปขอทานเป็นระยะๆเมื่อต้องการใช้เงิน ค่าเฉลี่ย 3.40, ไปขอทานนานๆครั้งเฉพาะเมื่อครอบครัวเดือดร้อน ค่าเฉลี่ย 3.33 และไปขอทุกครั้งที่มีนายหน้าพาไป ค่าเฉลี่ย 3.02 ผู้นำส่วนมากเห็นว่าการขอทานที่มีในปัจจุบันในพื้นที่ของตนเองคนที่ไปขอทาน ส่วนมากเป็นการขอทานในลักษณะไปขอทานประจำเป็นอาชีพหลัก ค่าเฉลี่ย 3.08 รองลงมาตามลำดับ คือ ไปขอทานเป็นระยะ ๆ เมื่อต้องการเงินใช้ ค่าเฉลี่ย 3.06 ,ไปขอทานนาน ๆ ครั้งเฉพาะเมื่อครอบครัวเดือดร้อนเรื่องเงิน ค่าเฉลี่ย 3.02 และไปขอทานทุกครั้งที่มีนายหน้าพาไป ค่าเฉลี่ย 2.85 ปัจจัยด้านครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชน ครอบครัวคนขอทาน/เคยขอทาน มักมีประวัติครอบครัวที่นอกจากยากจน มักมีปัญหาอื่นๆประกอบ เช่น ปัญหาการมีลูกมาก มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นภาระ เช่น เด็กทารก คนพิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และในทุกครอบครัวของกลุ่มเป้าหมายบุตรหลาน/สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆมักอ้างว่าไม่ได้ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวไปขอทาน แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่มีการห้ามปราม หรือป้องกันแต่อย่างใด และเป็นเสมือนสภาพจำยอม ปัจจัยด้านชุมชน/วัฒนธรรม/ความเชื่อ ปรากฏการณ์การมีขอทานในชุมชนที่มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนว่าชุมชนมีวิธีการควบคุมทางสังคม โดยเฉพาะวัฒนธรรมความคิดความเชื่อที่อ่อนกำลังลง เพราะในวัฒนธรรมของชาวกูยจะให้ความสำคัญกับพ่อแม่ บรรพบุรุษ และเชื่อเรื่องบุญกรรมมาก ชาวบ้านนิยมทำบุญสะสมความดี แต่ในทางกลับกันกลับ (3) ยอมรับให้สมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นพ่อ/แม่/ย่า/ยาย ของตนเองไปขอทานด้วยความยากลำบากและเสี่ยงอันตรายนำเงินมาเลี้ยงครอบครัว โดยบางคนออมแรงไม่ทำงานด้วย เพราะในหมู่บ้านล้วนแล้วแต่เป็นเครือญาติกัน และประกอบกับสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพการเกษตรที่เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านจึงทำให้ชุมชนอยู่ในลักษณะยอมจำนวนต่อปรากฏการณ์ดังกล่าวในลักษณะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ปัจจัยสภาพทุนทางสังคมของชุมชน จากผลการศึกษาในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตคนกระโพ ครั้งที่ 2 กลุ่มผู้นำชุมชนใน 4 หมู่บ้านเป้าหมาย โดยสรุปพบว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ทั้ง 4 หมู่บ้านประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำอย่างมาก จึงเป็นที่สังเกตได้ว่าเมื่อถามกลุ่มเป้าหมายส่วนมากจะบอกว่าเริ่มไปขอทานครั้งแรกในช่วงปี 2547-2548 และขยายผลการเลียนแบบพฤติกรรมกันเป็นจำนวนมากถึง แหล่งน้ำธรรมชาติตื่นเขิน ขาดการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ประชาชนไม่มีที่ดินและจึงมีการบุกรุกป่า ลักลอบตัดไม้เป็นประจำ นอกจากนั้นป่าซึ่งเคนเป็นแหล่งอาหาร ปัจจุบันแทบไม่มีแหล่งอาหารเหลือพอสำหรับความต้องการของชุมชนแล้ว ทุนทางด้านสถาบันยังไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง อบต.สนับสนุนแต่โครงการเล็กๆที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคมได้อย่าง นอกจากนั้น วัดและโรงเรียนที่เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการขัดเกลาทางสังคมยังไม่เข้มแข็งพอ จากปรากฏการณ์ที่โรงเรียนบ้านแคนเพชรมีเด็กนักเรียนทั้งหมด 145 คน แต่มีเด็กนักเรียนที่เป็นขอทาน จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 26.21 ของนักเรียนทั้งหมด สำหรับวัดพบว่าวัดยังทำหน้าที่เน้นในเรื่องศาสนพิธีมากกว่าการยกระดับจิตใจ หรือเป็นสถาบันที่ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกับภาคีอื่นๆอย่างจริงจัง โดยพระในวัดส่วนมากเป็นคนในชุมชน และมีความรู้ในระดับที่ยังไม่ลึกซื้อทั้งในทางโลกและทางธรรมขนาดเป็นผู้นำด้านจิตใจของประชาชนได้ ทุนทางวัฒนธรรมประเพณี ยิ่งนับว่าอ่อนแรงอย่างยิ่ง ประชาชนมีค่านิยมบริโภคนิยมอย่างมาก เช่นจาการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ช่วยนักวิจัยชุมชนให้ข้อมูลว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีค่านิยมบริโภค นิยมแข่งขันกันทำมาหากินเพื่อให้ได้เงินมากๆ ทำทุกวิธี เมื่อได้เงินแล้วจะนำมาสร้างบ้านหลังใหญ่ ซื้อรถยนต์ นอกจากนั้นยังแข่งขันกันทำบุญ โดยให้ความร่วมมือในการทำบุญกุศลในงานพิธีต่างๆเต็มที่มีคนมาทำบุฯที่วัดจำนวนมากในวันพระ แต่ยังไม่มีการห้ามปราม หรือป้องกันอย่างจริงจัง ซึ่งสวนทางกับวัฒนธรรมความเชื่อที่นับถือบรรพบุรุษ และหากยังเป็นเช่นนี้เรื่อยไป ระเบียบทางสังคมจะเสียไป ปัจจัยลักษณะทั่วไปของการขอทาน จากกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้พบว่าการขอทานนั้นเป็นกระบวนการที่คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายทุกเพศ ทุกวัย ไม่คำนึงถึงระดับการศึกษา ไม่จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ความสามารถพิเศษ ถ้ามีก็จะเป็นประโยชน์ในการหารายได้มากขึ้น เช่น การเล่นดนตรี ไม่ต้องลงทุนมากนอกจากค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าเช่าที่พักซึ่งราคาถูกมาก สำหรับอาหารพบว่าระหว่างขอทานในบางมื้ออาจไม่ต้องซื้อเลยเพราะมีคนให้ทานเป็นอาหารด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอทานเป็นอาชีพที่ผู้ด้อยโอกาส หรือผู้ที่มีศักยภาพด้อยกว่าวัยแรงงานทั่วไป (4) สามารถสร้างรายได้ได้และมากกว่าบางอาชีพโดยเฉพาะอาชีพรับจ้างในชุมชน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่สามารถประกอบอาชีพอื่นๆได้แต่สามารถขอทานสร้างรายได้ได้ เป็นต้น 2. ชีวิตการขอทาน จากการศึกษาพบว่าการไปขอทานนั้นมีรูปแบบการขอทาน ตามตารางที่ 14 แสดงลักษณะการไปขอทาน โดยส่วนมากประชาชนทั่วไปเห็นว่าการขอทานที่มีในปัจจุบันในพื้นที่ของตนเองคนที่ไปขอทานเป็นการขอทานในลักษณะ ไปขอทานเป็นอาชีพหลัก ค่าเฉลี่ย 3.68 รองลงมาตามลำดับ คือ ไปขอทานเป็นระยะๆเมื่อต้องการใช้เงิน ค่าเฉลี่ย 3.40, ไปขอทานนานๆครั้งเฉพาะเมื่อครอบครัวเดือดร้อน ค่าเฉลี่ย 3.33 และไปขอทุกครั้งที่มีนายหน้าพาไป ค่าเฉลี่ย 3.02 ผู้นำส่วนมากเห็นว่าการขอทานที่มีในปัจจุบันในพื้นที่ของตนเองคนที่ไปขอทาน ส่วนมากเป็นการขอทานในลักษณะไปขอทานประจำเป็นอาชีพหลัก ค่าเฉลี่ย 3.08 รองลงมาตามลำดับ คือ ไปขอทานเป็นระยะ ๆ เมื่อต้องการเงินใช้ ค่าเฉลี่ย 3.06 ,ไปขอทานนาน ๆ ครั้งเฉพาะเมื่อครอบครัวเดือดร้อนเรื่องเงิน ค่าเฉลี่ย 3.02 และไปขอทานทุกครั้งที่มีนายหน้าพาไป ค่าเฉลี่ย 2.85 3. ผลจากการขอทาน เชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาพบว่า การขอทานสามารถสร้างรายได้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระปัญหาค่าครองชีพในครอบครัวได้ จนถึงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก สร้าง/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ใช้หนี้สิน รักษาพยาบาลความเจ็บป่วย จัดงานศพ จัดงานแต่งงานสมาชิกในครอบครัวเป็นต้น ซึ่งส่วนมากแล้วอยู่ในระดับแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวมากกว่าเป็นการยกระดับครอบครัวให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน เชิงคุณค่าทางสังคม จากการศึกษาผู้ขอทานไม่มีคนใดที่ภาคภูมิใจในการเป็นคนขอทานแต่มีความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือครอบครัวในการครองชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ คนเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งหากให้ทำงานแข่งขันกับคนทั่วไปในตลาดแรงงานย่อมถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไม่มีงานให้ทำ แต่การขอทานทำให้คนเหล่านี้ สามารถสร้างเงินสร้างรายได้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวได้ ซึ่งคนที่ไปขอทานแล้วสามารถสร้างรายได้ช่วยเหลือครอบครัว ถ้าเป็นเด็กก็จะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนกตัญญู รู้จักช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานหาเงินใช้ในครอบครัว มีสิ่งของเครื่องใช้ที่ดี เช่น ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน โดยไม่ต้องเป็นภาระของพ่อแม่ ภัย/ปัญหาจากการขอทาน จากการศึกษาพบว่า คนขอทานโดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ใช่เด็ก คือ วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุ หากจะเป็นคนขอทานต้องมีพฤติกรรมที่ลดคุณค่าของตนเองลงมากกว่าการใช้ชีวิตประจำวันลงในหลายเรื่องเพื่อให้คนที่จะให้ทานเห็นแล้วเกิดความสงสารและความเห็นในและตัดสินใจให้ทานง่ายขึ้น บุคลิกของการที่มนุษย์จะมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยวิถีปกติต้องปฏิบัติต่อกันอย่างมีศักดิ์ศรี และแสดงถึงศักยภาพของตนเอง แต่การขอทานมุ่งให้คนลดศักดิ์ศรีของตนเองและลดศักยภาพในการพึ่งตนเองลงเป็นการไปขอเพียงเศษเงินจากคนที่รู้จัก ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ และกระทำพฤติกรรมเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ย่อมลดความภาคภูมิใจของตนเองในการมี (5) ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลงเรื่อยๆ และพฤติกรรมการพึ่งพาดังกล่าวนั้นเป็นพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน คนทำงานที่ตั้งใจพัฒนาตนเอง พัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อสามารถทำงานที่สุจริตเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่การขอทานสร้างค่านิยมใหม่ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่ที่ศึกษาแพร่ขยายไปถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนที่หันมาเป็นขอทานตั้งแต่เด็ก ซึ่งอาจทำให้เด็ก เยาวชนคนทำงานเกิดความคิด ความเชื่อที่ผิดว่าไม่จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพตนเอง ไม่ต้องทำงานให้เหนื่อยยาก แต่มาเป็นขอทานก็มีเงินใช้ง่าย คล่อง เร็วและจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับงานทั่วไป เช่น งานรับจ้างในหมู่บ้าน นอกจากนั้นภัย/ปัญหาที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิต คือ การแต่เด็กและเยาวชนอาจถูกล่วงเกินทางเพศ ถูกข่มขืนกระทำชำเรา หรือถูกลักพาตัวไปและอาจทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต พรากไปจากบิดามารดา ครอบครัว กรณีที่คนขอทานเป็นเด็กซึ่งส่วนมากกลุ่มเป้าหมายที่พบจากการศึกษาเด็กมักมีรูปแบบการขอทานโดยวิธีการแต่งชุดนักเรียนไปแสดงท่าทางการเล่นดนตรีประกอบการขอทานที่สวนจตุจักร หรือที่อื่นๆ การขอทานในลักษณะนี้ เด็กรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นการขอทาน เด็กทุกคนบอกว่าอายกับการกระทำเช่นนั้น เสมือนมีตราที่ติดไว้ที่หน้าผากว่าไม่ใช่คนที่มีประวัติปกติแต่เป็น “คนขอทาน” แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากรูปแบบการขอทานทำให้เด็กไม่ต้องแสดงพฤติกรรมเหมือนวันแรงงานและวัยผู้สูงอายุ คือ เด็กมีโอกาสที่จะได้แสดงศักยภาพบางส่วนของตนเองแลกกับการให้ทาน และผู้ที่ให้ทานมักปฏิบัติดี ให้ความรู้ในทางที่ดีมากกว่า เพราะความสงสาร ความเอ็นดูต่อเด็ก 4. การกลับเข้าสู่กระบวนการขอทานซ้ำ คนขอทานส่วนน้อยมากที่คิดจะเลิกขอทานด้วยตนเอง ส่วนมากมักเกิดจากการมีประวัติเคยถูกจับส่งตัวเข้ารับการอุปการะในสถานสงเคราะห์เป็นเวลานาน หรือการที่ครอบครัวขอร้องให้เลิก หรือชราภาพ เจ็บป่วย ในกลุ่มเด็ก เลิกเมื่อโตแล้วเกิดความละอาย ซึ่งจากการศึกษานับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำให้คนไม่ตัดสินใจกลับเข้าสู่กระบวนการขอทานซ้ำ เพราะปัจจัยลักษณะการขอทานดังที่กล่าวไปแล้ว ว่าเหมาะสมกับสภาพของผู้ที่ด้อยโอกาสและง่ายที่จะเข้าถึงทุกเพศ วัย และสังคมไทยเป็นสังคมพุทธคนยังมีความเชื่อเรื่องการทำบุญทำทาน กล่าวคือมีทั้งความต้องการให้ และความต้องการรับ และเป็นความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ซึ่งยากต่อการควบคุม หากรัฐไม่มีการรณรงค์สร้างกระแสสังคมให้ถูกต้อง และไม่มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สร้างโอกาสและทางเลือกที่ดีและเหมาะสมต่อเนื่องและจริงจังในระดับพื้นที่ โอกาสที่คนพิการจะตัดสินใจเข้าสู่การขอทานซ้ำเป็นไปได้มาก ข้อเสนอแนะ 1. รัฐบาลควรตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการแก้ปัญหาขอทานโดยยกระดับปัญหาการมีจำนวนคนขอทานลดลงหรือหมดไปเป็นตัวชี้วัดในการพัฒนาประเทศ หรือให้การแก้ปัญหาเรื่องคนพิการเป็นวาระแห่งชาติ เพราะนอกจากการมีคนขอทานในประเทศมากจะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของประเทศแล้ว ยังสะท้อนถึงความด้อยพัฒนาได้อย่างชัดเจน (6) 2. รัฐบาลควรมีนโยบายในการปลูกจิตสำนึกเด็กและเยาวชนทุกระดับ และประชาชนทั่วไปผ่านการจัดการความรู้ทั้งในระบบการศึกษา สื่อสารมวลชนทุกประเภท ในการไม่ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการขอทาน และป้องกันการเป็นขอทานในทุกรูปแบบ 3. สื่อมวลชนควรมีการคัดกรองสื่อ/ข่าว/โฆษณาที่อาจเป็นการส่งเสริมเรื่องการขอทาน เช่น โฆษณาครีมบำรุงผิวชนิดหนึ่งที่นางแบบไปช่วยคนขอทานเต้นตามจังหวะเพลงที่คนขอทานแสดงแล้วมีภาพคนให้เงินขอทานจำนวนมาก ซึ่งเป็นการกระทำที่นอกจากจะผิดกฎหมายแล้วยังเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีทั้งวิธีการให้และวิธีการรับอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 4. หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรเร่งผลักดันกฎหมายให้มีความทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และประชาสัมพันธ์ รณรงค์เพื่อให้เกิดกระแสความรับผิดชอบร่วมกันของทุนฝ่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอย่างจิงจัง 5. ควรบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการขอทานอย่างจริงจังเพราะเป็นสิ่งที่จริงๆแล้วมีผลต่อการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการขอทานมากเช่นกัน (เป็นสิ่งที่ขอทานกลัวถูกจับ) 6. ควรมีกระบวนการชี้ให้เห็นถึงแก่นแท้ของหลักพระพุทธศาสนาและบริบทที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญ/ทำทาน เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมอันเป็นปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการขอทาน 7. หน่วยงานในระดับปฏิบัติการในพื้นที่ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ควรมีการบูรณาการกันในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเรื่องการขอทาน และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเกิดขอทานรายใหม่ 8. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดในฐานะผู้แทนกระทรวงฯ ควรส่งเสริมให้ความรู้แก่หน่วยงานทุกระดับในจังหวัด โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผ็ใหญ่บ้าน เรื่องกฎหมายด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อได้ทำบทบาทหน้าที่อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น พ.ร.บ.การค้ามนุษย์ ปี 2550 เป็นต้น 9. ชุมชนที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญต่อการป้องกันและปัญหาโดยการสร้างกฎ กติกา ระเบียบ แนวทางการจัดระเบียบสังคม สร้างระบบการควบคุมทางสังคม ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต อย่างจริงจังและต่อเนื่อง 10. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีกระบวนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการครองชีพของประชาชน เช่น ระบบน้ำ การฟื้นฟูป่าเป็นป่าชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการอย่างเป็นระบบ จริงจัง ต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 11. ภาคีที่เกี่ยวข้องและสถาบันทางสังคม ควรมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาคนขอทานอย่างเป็นระบบ และต้องมีทิศทางในการพัฒนาในทิศทางเดียวกันที่ชัดเจน ผู้นำมีความสามัคคี เสียสละผลประโยชน์ส่วนตนโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการอิทธิพลทางใดทางหนึ่งในการแสวงหาประโยชน์และก่อให้เกิดกระบวนการขอทานในชุมชน 12. ผู้นำชุมชนควรเป็นแบบอย่างในการไม่ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัว ญาติเข้าสู่กระบวนการขอทาน ถ้ามีควรเป็นแบบอย่างในการเลิกและพัฒนาคุณภาพชีวิตอื่นๆให้ <br><br>-

Date of Publication :

03/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ