Description
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชนไร้รัฐ และศึกษาปฏิบัติการต่อสู้กับปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชนไร้รัฐของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน รวมถึงนำผลการศึกษาจากสถานการณ์ปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชนไร้รัฐ รวมถึงปฏิบัติการต่อสู้กับปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชนไร้รัฐของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน เสนอเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดสวัสดิการสำหรับเด็กไร้รัฐของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาจากตำรา ใช้แบบสอบถามจากจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง การสัมภาษณ์เชิงลึกกับแกนนำทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน รวมถึงการเข้าร่วมปฏิบัติการต่างๆ ของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน
ผลจากการศึกษา พบว่า สถานการณ์เด็กและเยาวชนไร้รัฐบ้านแม่สามแลบ ส่วนมากร้อยละ 39.2 เกิดจากการไม่ระบุสถานะจากหน่วยงานภาครัฐ รองลงมาร้อยละ 24.1 เกิดจากการเพิกเฉยของผู้ปกครองในการแจ้งเกิด และร้อยละ 18.3 เกิดจากการตกสำรวจของทางราชการ
ส่วนด้านการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชนไร้รัฐ พบว่า สวัสดิการด้านกระบวนการยุติธรรมมีระดับการเข้าถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 37.0 รองลงมา คือ สวัสดิการด้านการศึกษา ร้อยละ 29.7 ซึ่งเท่ากันกับด้านบริการทางสังคมทั่วไป ร้อยละ 29.7 ส่วนระดับการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชนไร้รัฐในระดับมาก พบว่า สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยมีการเข้าถึงมากที่สุด ร้อยละ 24.3 รองลงมา คือ ด้านนันทนาการ และด้านการศึกษาตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชนไร้รัฐ 7 ด้าน มีดังนี้
ด้านสุขภาพอนามัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 72.6 ไม่ประสบปัญหา มีเพียงร้อยละ 27.4 ที่ประสบปัญหา
ด้านการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.6 ไม่ประสบปัญหา และร้อยละ 47.4 ประสบปัญหา
ด้านที่อยู่อาศัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างครึ่งต่อครึ่งหรือ 50.0 มีทั้งประสบปัญหาและไม่ประสบปัญหา
ด้านการมีงานทำและการมีรายได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 62.8 ประสบปัญหา และร้อยละ 37.2 ไม่ประสบปัญหา
ด้านนันทนาการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 83.5 ไม่ประสบปัญหา และมีเพียง ร้อยละ16.5 ที่ประสบปัญหา
ด้านกระบวนการยุติธรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.0 ประสบปัญหา และ ร้อยละ 45.0 ไม่ประสบปัญหา
ด้านบริการทางสังคมทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 60.0 ประสบปัญหา และ ร้อยละ 40.0 ไม่ประสบปัญหา
ส่วนปฏิบัติการต่อสู้กับปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชนไร้รัฐของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน พบว่า ใช้รูปแบบการต่อสู้โดยอาศัยทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ใน 3 ระดับ ดังนี้
(1) ความสัมพันธ์ระดับครอบครัวและเครือญาติ
(2) ความสัมพันธ์ระดับชุมชนและสังคม
(3) แนวคิดเครือข่ายระดับชุมชนและสังคม
โดยเฉพาะการพัฒนาเครือข่ายทั้งทางภาครัฐ และภาคเอกชน ที่อาศัยประชาชนเป็นศูนย์กลางทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ปฏิบัติการที่ผ่านมาของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน ไม่ว่าจะเป็นปฏิบัติการวันเด็กไร้สัญชาติ ปฏิบัติการเยาวชนอนุรักษ์ถิ่น ปฏิบัติการฮักละอ่อนแม่ญิง ปฏิบัติการศูนย์ประสานงานเพื่อพิทักษ์สิทธิเด็กและหญิง ปฏิบัติการชุมชนไร้สัญชาติ ปฏิบัติการกองทุนสุขภาพคนไร้สัญชาติ และปฏิบัติการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เป็นต้น สะท้อนถึงการดำเนินการร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร โดยใช้ประเด็นด้านสิทธิเด็กและปัญหาด้านการค้ามนุษย์ (Human Trafficking)
แต่อย่างไรก็ตามปฏิบัติการดังกล่าวยังคงต้องเผชิญกับแรงฝืด โดยเฉพาะปัญหาด้านการยืนยันตัวตนของเด็กและเยาวชนไร้สัญชาติ การขาดความรู้ความเข้าใจสิทธิที่ตนได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็กและเยาวชนไร้รัฐมีภาระในการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว และที่สำคัญท้องถิ่นขาดบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ มีหลักวิชาการที่สามารถทำงานเชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ยังไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงรุกและจัดสวัสดิการสังคมต่อเด็กไร้รัฐ
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชนเป็นกระบวนการทางสังคม ควรมีการหนุนเสริมอย่างต่อเนื่อง
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรกำหนดให้มีการสร้างสวัสดิการเฉพาะพื้นที่ โดยอาศัยเงื่อนไขการสร้างสวัสดิการในความหมายก้าวหน้าหรือสวัสดิการเชิงรุก โดยอาศัยองค์การด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ เข้ามาบูรณาการด้านการพัฒนาสังคม
3. สร้างมาตรการคุ้มครองเด็กและพัฒนาสวัสดิการเด็กและเยาวชนในพื้นที่เฉพาะ โดยอาศัยกลไก เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นอย่างยิ่งต้องพัฒนาสวัสดิการสังคมในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม โดยแสวงหาความรู้จากงานวิจัยด้านเด็กและเยาวนไร้รัฐมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่
5. ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 ดังนั้นเพื่อประโยชน์ด้านการสร้างมาตรฐานอาสาสมัคร และนักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดเกณฑ์มาตรฐานด้านการฝึกอบรมด้านสังคมสงเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546
6. ควรมีการจัดรูปเครือข่ายองค์กรพัฒนาช่วยเหลือเด็กและเยาวชนไร้รัฐ โดยมีระยะเวลาสามปี ดังนี้ คือ
ระยะเริ่มแรก ระยะสานเครือข่ายองค์กรพัฒนาช่วยเหลือเด็กและเยาวชนไร้รัฐ
ระยะที่สอง ระยะเครือข่ายด้านการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนไร้รัฐร่วมกันกำหนดพันธกิจ และแผนงาน
ระยะที่สาม ระยะปีแห่งการนำเสนอและพิจารณาโครงการต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ
<br><br>The objective of this research is to study the problem situation of social welfare accessibility of the stateless youth and children, and to study the practical way to struggle against the problems of social welfare accessibility of the stateless youth and children at Development Center for Children and Community Network, along with proposing the results of these studies as the suggestion for development of social welfare management for the stateless youth and children of organizations both in government and private sector. The research is performed by using the descriptive research form, studying information from textbook, applying questionnaire to 120 samples of population, and in-depth interviewing to all the lead cores of government, private and community sector, along with joining activities of the Development Center for Children and Community Network.
The result of study was found that mostly the cause of the situation at Mae-sam-lab village as 39.2% was from no status specified by the government office, the second as 24.1% from parent’s negligence in reporting the birth, and 18.3% from missing survey of the public service.
For the social welfare accessibility of the stateless youth and children is found that the welfare in justice process is accessed with the lowest level as 37.0%, the second is educational welfare as 29.7%, which equals to the welfare in general social service having 29.7%. For ones having high level of social welfare accessibility of the stateless youth and children are found that the health welfare is the one having most level of accessibility as 24.3%, the second is recreation, and the education orderly. For 7 aspects of the problem situation of reaching social welfare of the stateless child and youth are as followings;
Health: It is found that over half of the samples or 72.6% has no problem. There is only 27.4% having problem.
Education: It is found that over half of the samples or 52.6% has no problem and 47.4% having problem.
Residence: It is found that the ratio of the sample having no problem to the one having problem is fifty-fifty.
Getting job and having income: it is found that over half of the samples or 62.8% has problem and 37.2% having no problem.
Recreation: It is found that over half of the samples or 83.5% has no problem and only 16.5% having problem.
Justice Process: It is found that over half of the samples or 55.0% has problem and 45.0% having no problem.
General Social Service: It is found that over half of the samples or 60.0% has problem and 40.0% having no problem.
The process of fighting the problem of reaching social welfare of the stateless child and youth at the Child and Community Network Development Center is found that struggling form against the problem by using social and cultural fund is conducted in 3 level such as;
Family and relatives level relationship
Community and social level relationship
Community and social level network concept
Especially, network development of the government and private sector based on the people as the center in the local and country level: The previous activities of the Child and Community Network Development Center such as the activity on the stateless child’s day, the activity of the youth conserving locality, the activity of young woman loving, the activity of the coordinate center for child and woman’s right protection, the activity of the stateless community, the activity of stateless people’s health fund, and the activity of building safety area for children, reflect to coordination of the alliance network using the aspect of Child’s Right and Human Trafficking.
However, those activities still be faced with unsmoothness, especially the problem of identification of the stateless child and youth, lacking of knowledge and understanding in their right protected pursuant to the Child Protection Act B.E. 2546, the responsibility of the stateless child and youth to support themselves and their family, and importantly, lacking of the people having knowledge, experience and technique in the locality to be able to work advancing in the area seriously and continuously, along with lacking of emphasizing in the advanced development and social welfare providing for stateless child by the local administrative organizations and other departments.
Suggestions from the research
1. The action of Child and Community Network Development Center is the social process that should be supported continuously.
2. The Ministry of Social Development and Human Security should set welfare in the specific area depending on the conditions of building welfare in advance meaning requiring the social welfare organizations to restore the social development.
3. To set the measure of child protection and child and youth welfare development in the specific area using mechanisms such as the Social Welfare Providing Promotion Act B.E.2546 and the Child Protection in Act B.E. 2546.
4. The Local Administrative Organization needs absolutely to develop social welfare in areas tangibly by seeking knowledge from the research of stateless child and youth applied in the area.
5. The Child and Community Network Development Center is the public benefit organization registered according to the Welfare Providing Promotion Act B.E.2546. In order to be benefit for volunteer standard building and the social welfare worker who work for child and youth in the area, it needs absolutely to set the standard of social welfare training pursuant to the Welfare Providing Promotion Act B.E.2546
6. Setting the organization network for developing and supporting the stateless child and youth should be provided with the period of 3 years as follow:
The first period; the period of coordinating the organization network for developing and supporting the stateless child and youth.
The second period; the period of networking the stateless child and youth supports together with setting the mission and plan
The third period; the year period of projects presentation and determination for setting the action plan
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read