Notifications

You are here

อีบุ๊ค

รูปแบบความเป็นสถาบันครอบครัวเข้มแข็งและยั่งยืน ศึก...

TNRR

Description
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่องรูปแบบความเป็นสถาบันครอบครัว เข้มแข็งและยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชน 3 แห่งใน จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบความเป็นสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืน ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้สถาบันครอบครัวขาดความเข้มแข็งและ ยั่งยืนของ 3 ชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่ม ประชากรการมีส่วนร่วมในการวิจัย จำนวน 3 ชุมชน คือ ชุมชน บ้านบัวงาม หมู่ 3 ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม ชุมชน บ้านตำแย ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ และชุมชน บ้านปะอาว หมู่ 3 ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความเป็นสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืน ในชุมชน 3 แห่งมีลักษณะที่เหมือนกัน ประกอบด้วย 1) มีโครงสร้างทางครอบครัวขนาดใหญ่ มีคนหลายวัย มีอิสระในการเลือกคู่ครอง การเลือกที่อยู่อาศัย มีการสืบทอดมรดกและสืบทอดวงศ์สกุล 2) มีความมั่นคงทางอาชีพรายได้ในการดำรงชีวิต 3) ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 4) มีการใช้ อำนาจในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในครอบครัวร่วมกัน 5) มีการอบรมเลี้ยงดูและขัดเกลาสมาชิกใน ครอบครัวให้เป็นคนดี ) มีการเอาใจใส่ดูแลสุขภาวะของสมาชิกในครอบครัว 7) มีการสืบทอด สถาบันครอบครัวในอนาคต ปัจจัยที่ทำให้สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชุมชน เกิด จาก การมีที่อยู่อาศัยที่เป็นของตนเองและมั่นคงมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวมี โอกาสทางการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมกัน ครอบครัวยึดหลักศาสนาและความเชื่อในการส่งเสริม คุณส่ง จริยธรรมและคุณธรรม ในการดำเนินชีวิต มีการสาธารณสุขที่สมาชิกในครอบครัวรู้จักดูแลตนเอง ครอบครัวมีภาษาถิ่นและประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสื่อสารท้องถิ่นที่สามารถนำไปใช้ในครอบครัว สมัยใหม่อย่างรู้เท่าทัน ครอบครัวมีกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน มีระบบการเมืองท้องถิ่นและ กฎหมายที่มีความยุติธรรมในชุมชน และปัจจัยอื่นๆ เช่น มีผู้นำชุมชนที่เสียสละ และสมาชิกใน ครอบครัวมีความซื่อสัตย์ ปัญหาและอุปสรรค ที่ทำให้ครอบครัวขาดความเข้มแข็ง คือปัญหาที่มี ผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้น้อย ความยากจน ยาเสพติด การไม่ไ ว้วางใจกันและกันในครอบครัว การพนัน หนี้สิน ปัญหาทาง การเกษตร เช่น การใช้ปุ๋ยเคมี มีผลกระทบต่อดิน น้ำ สัตว์ต่างๆ ปัญหาเด็กและเยาวชนที่ก้าวร้าว และสอนยาก โรคภัยที่น่ากลัวและรักษายากขึ้นล้วนเป็นตัวบันทอนให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอลง และแนวทางที่จะสร้างภูมิคุ้มกั นที่ดีแก่สถาบันครอบครัวก็คือ ครอบครัวมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และมีกิจกรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหากันและกันในชุมชน จนกระทั่งเกิดเป็นโครงการ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สถาบันครอบครัวในชุมชนขึ้น จำนวน 3 ชุมชน 7 โครงการ ผลการดำเนินตาม โครงการทำให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เป็นบทเรียนและแบบฝึกหัด ที่จะสร้างทักษะ ให้เกิดการเรียนรู้แก่สถาบันครอบครัว ให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทางครอบครัวด้วยตนเอง และนำไปสู่การสืบทอดและการดำรงอยู่ในรูปแบบสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืน สืบไป<br><br>The objective of the Participatory Action Research in the title of The Model of being strong and Sustainable Family: A case Study of three communities in Ubonratchathani province. were to study a model of strengthen and lasting family, study factors affecting to promote the strengthen family, problems and limitations affecting to lack of strengthen and lasting family of communities in Ubon Ratchathani. This research was the quantitative research and the populations were 3 communities including Ban Bun Ngam community residing at Mop 3 Bua Ngam Sub-District, Det Udom District, Ban Tam Yae community residing at Mueng Sam Sip Sub District, Mueng Sam Sip District and Ban Pa Aow community residing at Moo 3 Pa Aow Sub District, Muang District, Ubon Ratchathani From the findings, it was concluded that a model of strengthen and lasting family was the same characteristics which consisted of 1) There were the big family structure, members were the various ages, freedom to choose the spouse, freedom to select the residence and there were the inheritance and descending from the ancestor 2) There were the welfare of career for living 3) There were the good relationship in family 4) Power was usually used for solving the various problems in family ) Training and disciplining the member of family to become the good man 6) Paid more attention to the health of family member 7) Inherited the family in the future. The main factors that effected to the strengthen and lasing family of community related to the belongingness residence and welfare, the stability of economy, family member having the opportunity to study equally, family believed and practiced the principle of religious strictly and promoted the ethics and moral for living, the public health should be promoted the family member to know how to take care of themselves, family spoke the local language and the local technology should be applied in order to take the family up to date, the participation of recreations and activities, the local politic and law should be equitable and other factors such as there was a sacrifice community leader and family members were honest. Problems and Limitations which effected to the lack of strength in family consisted of problem of varying the social and culture and economy such as less income, poverty, drug, distrusted between member of family, gambler, debts, agricultural problem such as using chemical fertilizer affected to the soil, water and other animals, problem of progressive children and teenager, terrible disease and difficult to cure, all those were the significant part of damaging the family, however the pathway of creating the protection to the family were that family having the participation of activities and learning and exchanging the problems and solutions in the communities, therefore it led to build up the project of immunity for family in community, 3 communities were participated in this project and it consisted of 7 projects. The result of those project found that the family participated the activities of community increasingly, there were both in lesson and exercise which promoted the skill and learning to family in order to protect and solve the family problem by themselves and led to the inheritance and occupied a model of strengthen and lasting family in further

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ