Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในจังหวัดนครสว...

TNRR

Description
การวิจัย เรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ในจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ในระดับบุคคลและระดับพื้นที่ ที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อสร้างรูปแบบหรือแนวทางในการเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบหรือแนวทางการเสริมสร้างครอบครัวเข็มแข็งในพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ในระดับบุคคลและระดับพื้นที่ ที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวในจังหวัดนครสวรรค์ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบ/แนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ในจังหวัดนครสวรรค์ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ / แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในพื้นที่ต้นแบบ ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ตัวแปรการพึ่งพาตนเอง ทุนทางสังคม การแบ่งหน้าที่ สัมพันธภาพ และการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยง ส่งผลทางบวกต่อความเข้มแข็งของครอบครัว โดยที่การพึ่งพาตนเอง ส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวสูงสุด และการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวต่ำสุด ซึ่งตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 5 ตัว สามารถพยากรณ์ความเข้มแข็งของครอบครัว ได้ร้อยละ18 โดยรูปแบบหรือแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว (2) การสร้างความตระหนักให้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง (3) การพัฒนาวิถีการพึ่งพาตนเอง และ (4) การนำหลักคุณธรรมของครอบครัวมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งรูปแบบดังกล่าว เรียกว่า Model 4’A แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. การสร้างความตระหนัก (A1) 2. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (A2) 3. การประเมินการเรียนรู้ (A3) และ4. การประยุกต์ใช้ (A4) โดยรูปแบบดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 7 กิจกรรม คือ (1) กิจกรรมรู้จักฉัน รู้จักเธอ (2) กิจกรรมรู้จักตนเองและครอบครัว (3) กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว (4) กิจกรรมบริโภคด้วยปัญญาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5) กิจกรรมคุณธรรมนำสุข (6) กิจกรรมบ้านนี้มีรัก และ (7) กิจกรรมจากใจถึงใจ โดยรูปแบบดังกล่าวมีคุณภาพอยู่ในระดับ มาก สำหรับผลการทดลองใช้รูปแบบหรือแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในพื้นที่ต้นแบบ พบว่า (1) ความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในด้านการดำเนินการฝึกอบรม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณลักษณะของครอบครัวเข้มแข็ง ว่าสมาชิกในครอบครัวต้องมีความเอื้ออาทรต่อเพื่อนบ้าน / คนในชุมชน รองลงมา เห็นว่าครอบครัวเข้มแข็งสมาชิกในครอบครัวควรมีการเอาใจใส่ต่อกันทั้งในยามปกติ ยามเจ็บป่วย และเมื่อมีปัญหา, ต้องมีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง และครอบครัว, ต้องช่วยเหลือแบ่งเบาภาระงานซึ่งกันและกัน, ต้องเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่จะนำมาใช้ดำเนินชีวิต ตลอดจนสามารถวางแผนครอบครัว และยังเห็นว่าครอบครัวเข้มแข็งสมาชิกในครอบครัวควรมีการแสดงออกถึงการให้กำลังใจซึ่งกันและกันในยามที่เผชิญปัญหา, และควรมีส่วนร่วมในการบอกกล่าว ปรึกษาหารือในเรื่องต่าง ๆ และ(3) พฤติกรรมเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และพบว่าหลังการทดลองใช้รูปแบบหรือแนวทางการเสริมสร้างครอบครัวเข็มแข็ง ในพื้นที่ต้นแบบ ครอบครัวที่เข้ารับการฝึกอบรมมีคุณลักษณะของครอบครัวเข้มแข็งอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และครอบครัวที่เข้ารับการฝึกอบรมที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาล มีระดับความเข้มแข็งของครอบครัว ไม่แตกต่างกันกับครอบครัวที่เข้ารับการฝึกอบรมที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเทศบาล <br><br>This research as the empowerment of the family strengths in Nakhon Sawan province as core objective as follows : 1. to study and situational analysis in individual and area base the family strengths in Nakhon Sawan. 2. to construct model and approach of family strengths in Nakhon Sawan. 3. to applied model of family strengths in prototype area and this as Research and Development (R&D) with Participation Action Research (PAR) and methodology as : 1. to study and situational analysis in level of individual and area base the family strengths in Nakhon Sawan province 2. to construct model and approach of family strengths in Nakhon Sawan province 3. to applied model of family strengths in prototype area The results of study were as follows: From the results of study as follows; self-reliance variable , Social capital , functionality, relatives family and risk avoids management as positive relation to family strengths with self-reliance high relation its. In the other hand. Risk avoids management as low. However., all of variables as forecast 18 percent. The model /approach as the empowerment of family strengths in Nakhon Sawan prototype have as follows. 1. Good relative development in family 2. Construct awareness by self – functional 3. Way of self-reliance development model 4. and applied moral of family to everyday life. However., This Model as “Model 4A’s and have four step; 1. Awareness (A1) Action (A2) 3. Assessment (A 3) 4. Application (A4) and procedural as seven activity. 1. Understranding you am I activity 2. Self – understandings and the family activities 3. Family relationship activity 4.Wisdom adaptable consumer with sufficiency economy approach 5. Moral happiness activity 6. Love house activity 7. Heart to heart activity and so that approach as good quality While the experiment that as follows : 1. Overall of attitude the research project as good 2.The trainee as good understandings characteristics of family strengths as member neighborly and helpfulness with Neighborhoods in the community and hierarchy of its with take care and have a heart of gold on member of family to all situational and Self-actualizations. Reduce functional of work of all. And good understandings sufficiency economy approach and the family planning And member of family should have strategy to problem and participation consults issue 3. All of the empowerment of family strengths behaviors as good and founding post experiment as good and significant at 0.01 level and family sample as location in urban have family strengths indifferent and another.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ