Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน (Eco-villag...

TNRR

Description
Eco-cycle Model” เป็นแนวคิดการพัฒนาชุมชนและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนที่มุ่งเน้นการหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดมูลค่าสูงสุดโดยการใช้พลังงานทดแทน (Renewable energy) การลดปริมาณการใช้ทรัพยากร (Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) โดยเป็นการดำเนินการร่วมกันอย่างครบวงจรระหว่าง น้ำเสีย ขยะของเสีย และการผลิตพลังงาน อีกทั้งรวมไปถึงการใช้ทรัพยากรที่ดิน การจัดวางผังเมือง การจัดระบบขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด การวิจัยนี้ที่ปรึกษาได้ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทน เทคโนโลยีการบำบัดและกำจัดของเสียสำหรับที่อยู่อาศัยและชุมชน เทคโนโลยีการทำความเย็นสำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในเชิงของความเหมาะสม ค่าใช้จ่าย และสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทนสำหรับที่อยู่อาศัยและชุมชนนั้น ประกอบด้วย การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงานสำหรับ 1) ระบบต่างๆ ในที่พักอาศัย 2) ระบบแสงสว่างภายนอกที่พักอาศัย 3) ระบบการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในที่พักอาศัย 4) ระบบสูบน้ำ 5) ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง และ 6) การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังงานลมสำหรับระบบแสงสว่างส่วนกลาง เทคโนโลยีการบำบัดและกำจัดของเสียสำหรับที่อยู่อาศัยและชุมชน ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีด้านการบำบัดและการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ และ 2) เทคโนโลยีด้านการจัดการขยะและของเสีย โดยเทคโนโลยีแรก ครอบคลุมถึง 1.1) การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางธรรมชาติ (ได้แก่ ระบบบ่อซึม ระบบบ่อผึ่ง ระบบบ่อพืชลอยน้ำ และระบบบึงประดิษฐ์) 1.2) การเก็บรวบรวมน้ำฝนเพื่อใช้ประโยชน์ (ได้แก่ ระบบถังเก็บน้ำใต้ดิน และระบบถังเก็บน้ำบนดิน) 1.3) การบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และ 1.4) การนำธาตุอาหารในน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ และเทคโนโลยีที่ 2 นั้นครอบคลุม 2.1) การแปรรูปขยะด้วยความร้อน และ 2.2) การแปรรูปขยะด้วยกระบวนการทางชีวภาพ (ได้แก่ การหมักปุ๋ย และการผลิตก๊าซชีวภาพ) เทคโนโลยีการทำความเย็นสำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ประกอบด้วย ระบบทำความเย็นแบบดูดกลืน และการประยุกต์ใช้สารทำความเย็นแบบ Non CFCs และเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสีย ซึ่งแบ่งระบบการผลิตเป็น ระบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบขั้นตอนเดียว และแบบสองขั้นตอนหรือหลายขั้นตอน นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังได้ทำการรวบรวมข้อมูลและศึกษาแนวทางเบื้องต้นในการรับมือกับอุทกภัยในเบื้องต้นซึ่ง ประกอบด้วย 1) การหนีน้ำ 2) การสู้น้ำ 3) การกันน้ำ 4) การปล่อยน้ำ และ 5) การลอยน้ำ แนวทางในการสร้างเมืองสีเขียว (Green City Guidelines) ซึ่ง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก อันได้แก่ 1) เมืองสีเขียว (green cities) 2) เพื่อนบ้านสีเขียว (green neighbourhoods) 3) ถนนสีเขียว (green streets) และ 4) อาคารสีเขียว (green buildings) ในส่วนของการเสริมสร้างปัญญาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้น คณะผู้วิจัยได้ศึกษาแนวทางต่างๆ และนำเสนอหลักสูตร คุณธรรมของศูนย์คุณธรรมที่จะสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพความคิดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ผู้นำชุมชน เกษตรกร ครู ผู้บริหารหน่วยงานและสถานศึกษา อันประกอบด้วย 1) หลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง 2) หลักสูตรการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณธรรมความดี 3) หลักสูตรการบริหารสถานศึกษาอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม 4) หลักสูตรเสริมสร้างผู้นำจิตอาสาเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 5) หลักสูตรผู้นำเยาวชนจิตอาสา 6) หลักสูตรศาสนสัมพันธ์สำหรับผู้นำศาสนา และ 7) หลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามวิธีทางแห่งความพอเพียง จากการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ สำหรับที่อยู่อาศัยทั้ง 5 แบบ ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) อันได้แก่ บ้านเดี่ยว 2 ชั้น บ้านแฝด 2 ชั้น บ้านแถว 2 ชั้น อาคารชุด และอาคารสูง พบว่าเทคโนโลยีการทำความเย็นนั้นไม่เหมาะกับการนำใช้กับที่อยู่อาศัยของ กคช. เนื่องจากมีต้นทุนที่สูง และไม่ได้มีการติดตั้งระบบการทำความเย็นมากมายนัก ในขณะที่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นสามารถนำใช้ได้กับที่อยู่อาศัยทุกประเภท หากแต่มีข้อจำกัดของความเหมาะสมตามลักษณะทางกายภาพและระบบสาธารณูปโภคของที่อยู่อาศัย เช่น เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางจะไม่เหมาะสมกับการนำใช้กับที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว เป็นต้น ในส่วนของการบำบัดและกำจัดของเสียนั้น การนำใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาจไม่เหมาะกับบ้านเดี่ยวเนื่องจากมีปริมาณของเสียไม่เพียงพอต่อการลงทุนที่คุ้มค่า หากแต่อาจนำใช้ระบบการรวบรวมน้ำฝนขนาดประมาณ 5 ลบ.ม. ได้ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ กับชุมชนขนาดต่างๆ ตามมาตรฐานของ กคช. อันได้แก่ หมู่บ้าน (ประชากร 2,000 คน) ตำบล (ประชากร 8,000 คน) อำเภอ (ประชากร 24,000 คน) และเมือง (ประชากร 72,000 คน) นั้น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเหมาะสมสำหรับชุมชนทุกขนาดเนื่องจากระบบดังกล่าวเป็นระบที่สามารถเพิ่มลดขนาดได้ตามปริมาณการใช้งานไฟฟ้า หากแต่การติดตั้งครั้งละจำนวนมากๆ อาจลดต้นทุนของระบบได้ตามหลักการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) ในขณะที่ระบบบำบัดและกำจัดของเสียทั้งในส่วนของน้ำเสียและขยะอินทรีย์นั้นมีความเหมาะสมกับชุมชนขนาดใหญ่ เนื่องจากมีปริมาณของเสียที่เพียงพอต่อการลงทุนสร้างระบบ เพื่อทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนในทางปฏิบัติ การวิจัยได้คัดเลือก “โครงการเคหะชุมชนบึงกุ่ม” เป็นโครงการนำร่องเพื่อติดตั้งเทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน 3 เทคโนโลยี ได้แก่ 1) ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับระบบแสงสว่างส่วนกลางภายในอาคาร 1 ชุด ณ อาคาร 109 2) ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนร่วม (พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์) สำหรับระบบไฟถนน ณ อาคาร 109 และ 102 อาคารละ 1 ชุด และ 3) ระบบผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด ณ อาคาร 96 นอกจากนี้การวิจัยนี้ยังได้มีการจัดสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อนำเสนอผลการวิจัยเทคโนโลยี รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันประกอบด้วย ตัวแทนจาก กคช. ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรกำกับดูแล หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำไปใช้ประกอบให้การวิจัยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ท้ายที่สุดของการวิจัยคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ (โดยโปรแกรม Microsoft Excel) เพื่อใช้วิเคราะห์การลงทุนและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สำหรับโครงการใหม่ของ กคช. ในอนาคต โดยสามารถเลือกสมมติฐานในการพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ เช่น รูปแบบและจำนวนของที่อยู่อาศัยในชุมชน เทคโนโลยีตามแนวคิด Eco-village และ Eco-cycle สาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ต้นทุนรวมของโครงการ การกำหนดราคาที่อยู่อาศัย อีกทั้งภาระทางการเงินของผู้อยู่อาศัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาต้นแบบที่อยู่อาศัยและต้นแบบชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด Eco-village และ Eco-cycle พร้อมคู่มือการจัดทำโครงการ Eco-village ที่เน้นแนวคิด Eco-cycle และการประหยัดพลังงานโดยใช้พลังงานทดแทนต่อไป <br><br>“Eco-cycle Model” is an idea in sustainably develop community and household, which focuses on maximize resource circulation by use of renewable energy, reduce, recycle and reuse resrouces. The operation effecively synergizes among wastewater, waste, and power generation as well as use of land, city planing, mass transit organizing to maximize benefits. The research has studied technologies of power generation from renewable energy, waste treatment and disposal system for housing and community, eco-friendly refrigerating system, and biogas generation from waste, which relate to development of eco-village in terms of appropriateness, costing, and environment. Technologies of power generation from renewable energy for housing and community consists of use of solar energy to generate power for 1) indoor systems, 2) outdoor lighting system, 3) hot-water solar collector system for indoor use, 4) water pumping system, 5) central wastewater treatment system, and 6) hybrid (solar and wind energy) system for public lighting system. Technologies of waste treatment and disposal for housing and community consists of 1) water treatment and reuse, and 2) waste management. The first technology covers 1.1) natural wastewater treatment (i.e., seepage pit, facultative pond, floating aquatic plant system, and constructed wetland system), 1.2) rain harvesting system (i.e., underground and above ground tank systems), 1.3) wastewater reuse, and 1.4) nutrients recovery. The second technolog covers 2.1) thermochemical conversion and 2.2) biological conversion (i.e., composting and biogas generation). Technologies of refrigeration for eco-housing consists of absorbtion refrigeration system and application of non-CFCs refrigerants. Technology of biogas generation is categorized as single-stage biogas generation system and two-stage or multi-stage systems. Additonally, reserchers have collected information and study preliminary approaches to cope with flood including 1) water escaping 2) water fighting 3) water blocking 4) water letting and 5) floating Guidelines in construction green city include 4 major components, which are 1) green cities 2) green neighbourhoods 3) green streets and 4) green buildings Regarding mind and quality of living development of tenants, reserchers have studied different approaches and presented courses offered by Moral Center, which could develop intellect and behavior of juvenlies, community leaders, farmers, teachers, organization and school executives including 1) Agricultural development to sufficient economy course 2) Moral promotion project administration course 3) Social responsibility for education institute administration course 4) Enhancement of volunteering leaders for organization development course 5) Volunteering juveniles course 6) Religion relationship for religeion leaders course 7) Potential development for leaders to drive community economy by sufficient way course. By analyzing appropriateness of each technology applications for 5-type housing of The National Housing Authority (NHA), which includes 2-storey detached house, 2-storey twin house, 2-storey row house, condominium, and high-rise building, found that refrigeration technologies are not proper to NHA’s housing due to high system cost and not so many refrigerating systems installed. Nevertheless, solar power generation technologies can be applied to all housing types but may have limitations due to physical conditions or facilities (e.g., technologies used for central facilities are not proper to detached house). Regarding to waste treatment and disposal technologies, detached house is not proper to apply since it yields insufficient waste to invest. However, rain harvesting system of 5 m3 might be applied. Applications of technology for different community size base on NHA standard including village (2,000 people), district (8,000 people), town (24,000 people), and city (72,000 people), power generation from solar energy is proper for all community size since such system can be adjusted by amount of electricity required. However, mass installation at a time can reduce cost by economy of scale concept. Waste treatment and disposal systems are suitable for large community since it can generate suuficient waste to invest. To practically test the power generation system from renewable energy, this reserch has selected “Bungkum Housing Community” as a pilot project to install 3 technologies of renewable power generation, which are 1) a set of solar power geneartion for indoor central lighting system at Building 109, 2) 2 sets of hybrid power generation system for street light system at Building 109 and 102, and 3) a set of hot-water solar collector system at Building 96. In addition, this research study also has an academic seminar to present the study, gather opinions and suggestions from related parties including delegations from NHA, communities, government agencies, regulators, environmental organizations, academic institutions, and interested persons as complement to make the research study more complete. Final part of the research study is to develop a software used for investment and economic analysis of future project of NHA. The software allows user to select assumptions for community development in different dimensions such as type and size of housing, technologies of Eco-village and Eco-cycle, facilities, project cost analysis, and price setting, as well as financial obligation of dwellers. Moreover, master plan for housing and community development is also developed together with a mannual in developing Eco-village project, which focuses on Eco-cycle concept and energy preservations by renewable energy.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ