Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาบนพื้นที่สูงในอดีตและปั...

TNRR

Description
บทคัดย่อชื่อเรื่อง : การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาบนพื้นที่สูงในอดีตและปัจจุบันผู้วิจัย : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4, 8, 9,10 ปี พ.ศ. : 2560 งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์แง่มุมต่างๆของการพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง เช่น สภาพปัญหา ความต้องการ รูปแบบและการจัดการเชิงนโยบาย องค์ความรู้ และจุดยืนของหน่วยปฏิบัติงาน การได้ข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้มาจากแบบสำรวจ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการสนทนา ซึ่งเก็บข้อมูลใน 32 พื้นที่ ของ 16 ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง 16 จังหวัดทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตามแนวทางของ หลักการยืนยัน 3 เส้า (Triangulation Tsinnie) หลักการวิภาษวิธี (Dialectic Process) และหลักการ 6 ซี (Content Analysis Teenier )ปัญหาหลักของราษฎรบนพื้นที่สูง คือเรื่องสิทธิในที่ดินทำกิน การขาดแคลนสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และระบบสวัสดิการ หรือการส่งเสริมด้านอาชีพ และวัฒนธรรม ประเพณี และนี้คือสิ่งพื้นฐานที่ราษฎรบนพื้นที่สูงต้องการ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และมีความคาดหวังให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมศักยภาพและสวัสดิการให้ครบวงจร ประกอบกับทุนทางสังคมที่จะทำให้เป็นชุมชนคุณภาพ เช่นความเชื่อ การมีปราชญ์ผู้รู้ในชุมชน ภาษา เครื่องแต่งกาย งานฝีมือ และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ยุทธศาสตร์การพัฒนาจึงถูกกำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการ และมุ่งส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชน/ชนเผ่า งานวิจัยพบว่า การพัฒนาบนพื้นที่สูงนั้น มีความสำเร็จในหลายเรื่อง กล่าวคือ ชาวบ้านมีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อการทำงานของรัฐ ปัญหาฝิ่นได้รับความเข้าใจและการป้องกันที่ถูกจุด เช่นเดียวกับปัญหาความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่าดีขึ้น รัฐสามารถสร้างต้นแบบของการพัฒนาบนพื้นที่สูงได้ เกิดนวัตกรรมของการพัฒนาในอนาคต นั่นคือ การสร้างเครือข่ายการพัฒนาที่เข้มแข็งขึ้น มุ่งการพัฒนาเชิงคุณภาพได้มากขึ้น ใช้เทคโนโลยีออนไลน์และดิจิตัลในการขยายข้อมูลทำกิจกรรมการตลาด การส่งเสริมและอนุรักษ์ต้นทุนทางสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นโครงการต่างๆที่เป็นรูปธรรม ให้มีการบริหารและการจัดการที่ทำให้การพัฒนาบนพื้นที่สูงประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์แก่ราษฎร ชุมชนบนพื้นที่สูง และประเทศชาติโดยส่วนรวมต่อไปอย่างแท้จริง งานวิจัยเชิงเปรียบเทียบการศึกษานี้ ทำให้ได้บทสรุปใหม่บางประการที่น่าสนใจ เช่น การคงอยู่ของปัญหาเดิม และการเกิดใหม่ของปัญหาใหม่ และในแง่ของอัตลักษณ์/สิ่งดีงามเก่าที่ควรรักษาเอาไว้ กับคุณค่าใหม่ที่ควรได้รับการส่งเสริมให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น ความตระหนักต่อความสำคัญของระบบเครือข่าย หรือการร่วมประสานการทำงานของ 4 ประสาน คือ รัฐ ชุมชน/ท้องถิ่น ประชาชน/ชาวบ้าน และเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และความตระหนัก การรับรู้ที่ว่าระบบและกระบวนการพัฒนาที่จะสำเร็จและต่อเนื่องได้ต้องได้รับการริเริ่มและการขับเคลื่อนจากภายในท้ายสุด การสนับสนุนที่เข็มแข็งขึ้นจากทุกภาคส่วนจะเป็นความพยายามที่น่าชื่นชม ทั้งนี้ เพื่อศักยภาพของความเติบโตของชุมชนบนพื้นที่สูง และเพื่อสังคมที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างถาวร<br><br>"AbstractSubject : The comparative study of the development on the highland : Past and PresentResearcher : Technical Promotion and Support Office 4-8-9-10 Year: 2017 The purpose of this research is to analyze different aspects of highland population development, such as image, problems, demands, pattern and policy management, knowledge and positions of operational agencies. Data for this research comes from surveys, questionnaires, interviews and discussions. The data was collected in 32 areas of 16 development centers in 16 provinces in the north and central parts of the country. Then the raw data was put into the finished program in the social sciences. And then the qualitative analysis was performed in accordance with the principles of the Triangulation Tinnier, with the dialectical principles and principles of the Content Analysis Teenier. The main problems of highland people are the rights to land, shortage of necessities for life, and welfare system, or of the promotion of occupational career and cultural traditions. And these are the basic things that highland people want to have improved. Especially, participation and opportunities to improve the quality of life. These cause expectations that the government has to set up a policy to promote the full potential and welfare. Hand in hand with social capitals, the highland communities can easily become quality communities. The social capitals are traditional and religious faiths, knowledgeable sages in communities, languages, costumes, crafts and lifestyles. Development strategies are to be designed to meet the needs and to promote the identity of the community/ tribe. The research also found that developments on highland have been in many aspects a success, namely, that people have faith and confidence in the works of the state. Opium has been understood and solved at points, as well as security issues. And the relationships among the tribes have become much better. The state agencies could create prototypes for highland development. The innovations of future development are to build a stronger network of development, focusing on more qualitative development. To use online and digital technology to expand the information, to do marketing activities, to promoting and preserving social values for maximum benefit. These innovations are to be developed into concrete and practicable projects, with a practical management and well organized administration that maximizes development for the ground benefits to the people, to highland communities and then to the nation as a whole. Comparative method of this research makes some interesting new findings come to light and consciousness, such as the persistence of old problems, the emergence of new problems. And in terms of identities / good old things to preserve, with new values that should be encouraged to get stronger. Awareness of the importance of networking or the cooperation of the 4 parties: the state, community/ locals, citizens / villagers and the private sectors / NGOs. Least but not last is the awareness / perception that a successful and sustainable development projects and planning must be initiated and driven from within. Finally the more support will be appreciable, -for the more highland community potential growth and sustainable development society."

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ