Notifications

You are here

อีบุ๊ค

นวัตกรรมการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงสู่การคุ้มครองทา...

TNRR

Description
"บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง:นวัตกรรมการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงสู่การคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสม เพื่อผู้ด้อยโอกาสผู้วิจัย : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ปี พ.ศ. : 2560การวิจัยเรื่องนวัตกรรมการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงสู่การคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมเพื่อผู้ด้อยโอกาส มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาทางสังคมของผู้ด้อยโอกาส การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมของผู้ด้อยโอกาส และเพื่อการนำเสนอนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับความต้องการการคุ้มครองทางสังคมเพื่อผู้ด้อยโอกาส โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมุ่งศึกษาถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สถานการณ์ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ การคุ้มครองทางสังคม และการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนที่มีในปัจจุบัน เพื่อสร้างนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหามาตรการการคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมกับผู้ด้อยโอกาสในชุมชน โดยมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่เขตรับผิดชอบของ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 รวม 12 พื้นที่ วิธีการคัดเลือกกรณีศึกษาได้มาจากการศึกษาฐานข้อมูลสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ฐานข้อมูลทางด้านสังคมของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และฐานข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมของ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 ย้อนหลัง 2 ปี สรุปผลจากการศึกษาดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาต่อยอดแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาของเกษตรกรในหลากหลายรูปแบบ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้เรียนรู้จากการลองผิดลองถูกโดยใช้ฐานกสิกรรมเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ได้เกิดรูปแบบนวัตกรรมการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปัญหาความยากจนของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งหมด 12 รูปแบบ ได้แก่ 1.รูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี (บ้านสอนบิน) โดยการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง 23 ประการมาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพผู้ใช้บริการให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ เป็นการสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพให้ผู้รับบริการพึ่งตนเองได้ 2. รูปแบบศูนย์เรียนรู้เพื่อความยั่งยืนจากฐานคิดการเกษตรผสมผสาน ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านท่าเต้น ตำบลพระเพลิง อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนที่เผชิญกับภัยทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง อุทกภัย และปัญหาอื่นๆ และได้เริ่มเรียนรู้วิถีพอเพียงตามรอยพ่อ โดยการทอลองใช้กับพื้นที่ตนเองจนได้ผลเกิดรูปแบบการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงจนได้ผล จากกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ประยุกต์ใช้เกษตรผสมผสาน จนเกิดนวัตกรรมที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องการปลูกพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่ชุมชน ซึ่งมาจากการร่วมกันวางแผนก่อนการปลูก และการพิจารณาจากหลักอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกิดรายได้ ชาวบ้านแก้ไขปัญหาหนี้สินได้ มีอาหารปลอดสารพิษบริโภค และร่างกายแข็งแรง คนในชุมชนห่างไกลยาเสพย์ติด 3.รูปแบบชีวิตพอเพียงเพื่อหลังการพ้นโทษของผู้ด้อยโอกาส ของเรือนจำชั่วคราวเขาระกำ อำเภอเมือง จังหวัดตราด ภายใต้แนวคิดสร้างโอกาสให้กลับคืนสู่สังคมอย่างเป็นสุขร่วมกัน โดยเริ่มต้นจากการตีโจทย์ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สู่การวางแผนและลงมือทำ เกิดจุดเปลี่ยนสู่ความพอเพียง ที่สามารถสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีอาชีพที่มั่นคงจากการทำการเกษตร 1 ไร่ทำจริง มีกินไม่จน เมื่อพ้นโทษออกไปก็สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ 4. รูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงจากพ่อหลวงสู่ชมชน ของตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีจุดเริ่มต้นจากการทบทวนตัวเอง เก็บข้อมูลและการทำแผนชุมชน เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และปัญหาสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนและชุมชนอยู่ดี มีความสุข ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง หนี้สินลด รายได้เพิ่ม และมีอาชีพที่มั่นคง 5. รูปแบบการพัฒนาชุมชนสู่ศูนย์เรียนรู้ประจำตำบลตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนบ้านเตย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เกิดจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนที่มีปัญหาเรื่องที่ดินที่เป็นดินเค็ม ดินเสีย เกิดปัญหาภัยแล้งน้ำท่วมซ้ำซาก ส่งผลกระทบต่อการเกษตรที่ไม่ได้ผล จนนำไปสู่การเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ และการนำเคล็ดลับการแก้ปัญหาในชุมชนอย่างยั่งยืนมาใช้ เช่นการแก้ดินเค็ม โดยการห่มดิน ปลูกหญ้าแฝก ปลูกพืชคลุมดิน และการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมการแก้หนี้เสียและสร้างรายได้ โดยการทำบัญชีครัวเรือน การวางแผนการเพาะปลูก และการจัดการชุมชนโดยการส่งเสริมกลุ่มอาชีพสร้างรายได้และลดรายจ่าย 6. รูปแบบนวัตกรรมหลุมพอเพียงสู่กลุ่มฮักแพงแบ่งปันเพื่อผู้ด้อยโอกาส ของศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วัดป่านาคำ ตำบลจุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจุดเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน ตีโจทย์ปัญหา ศึกษาข้อมูล เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน และแสวงหาทางออกโดยมีเป้าหมายเพื่อชาวบ้านแก้จน ด้วยการนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ ลองผิดลองถูก ก่อเกิดเป็นหลุมพอเพียง ซึ่งเป็นนวัตกรรมด้านการเกษตรที่ใช้กระบวนการพึ่งพิงอิงอาศัยของธรรมชาติหล่อเลี้ยงตนเอง ต่อยอดสู่แนวคิดธนาคารหมูหลุม ที่สร้างให้คนด้อยโอกาสได้มีทุนชีวิตเพิ่มจน และสามารถสร้างให้เกิดหลุมบุญที่ส่งต่อการดูแลจากแนวคิดที่ว่า เมื่อเราเคยได้รับโอกาสก็ควรให้โอกาสคนที่เคยด้อยโอกาสเช่นกัน จึงเกิดการแบ่งบันอาหาร และทรัพยากรต่างๆ ให้กับกลุ่มคนที่พิการ และยากจนในโรงพยาบาลได้กินได้ใช้เพื่อการดำรงชีวิตให้ดียิ่งขึ้น 7. รูปแบบสวัสดิการพอเพียง เพื่อผู้ด้อยโอกาส ของศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ศูนย์เรียนรู้ ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย วัดป่าดงใหญ่ วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มต้นจากการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ก่อเกิดโครงการ 9 ชุมชน 9 ศูนย์เรียนรู้จากศาสตร์พระราชา จนสามารถสร้างให้เกิดโคกหนองนาโมเดล โดยมีเป้าหมายเพื่อการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน เกิดวิถีพอเพียง ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ มีรายได้เสริม ชุมชนมีการแบ่งปันพืชผัก และการทำบัญชีครัวเรือน ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อทำให้เกิดความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทั้งในและนอกชุมชน 8. รูปแบบนวัตกรรมเพื่อผู้ต้องขัง กับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก ตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เริ่มต้นจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นฐานตั้งของต้นแบบโมเดล เพื่อนพึ่งภายายาก เพื่อเป้าหมายในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยเน้นการฟื้นฟูที่ยั่งยืน โดยผลสุดท้ายที่ได้คือการส่งเสริมทำการผลิตเกษตรอินทรีย์ จนก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนวิธีผลิต เปลี่ยนวิถีชีวิต และเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังให้ดีขึ้นหลังจากกลับคืนสู่สังคม 9. รูปแบบปราชญ์ชุมชน สร้างสรรค์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพอเพียง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกกระทือ ตำบลวังใหญ่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จากจุดเริ่มต้นของอดีตผู้ใหญ่บ้านที่ได้สานฝันประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน จุดประกายให้เกิดการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน นำสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดของคนในชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ วางแผนชีวิต สร้างอาชีพที่มั่นคง มีเงินออม และไม่มีหนี้อันเกิดจากกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพตนเอง ในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอการ นำชุมชนสู่การทำเกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม โดยใช้ฐานคิดจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการใช้ชีวิตบนทางสายกลาง 10. รูปแบบปราชญ์โมเดล เรียนรู้วิธีคิด สร้างชีวิตใหม่จากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยเริ่มต้นจากการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สู่กิจกรรมสร้างศูนย์เรียนรู้ ทำเกษตรอินทรีย์ การเผาถ่านจากไม้เหลือใช้ การผลิตก๊าซชีวภาพจากมวลสัตว์ และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยจุดสำคัญคือการศึกษาเรียนรู้และทดลองทำ จนกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ชาวบ้านและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่สนใจ (กลุ่มนักโทษในเรือนจำ) โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 11. รูปแบบเกษตรวิถีพุทธ สร้างชุมชนพอเพียงเพื่อการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ของศูนย์เรียนรู้เกษตรวิถีพุทธ นายวิฑูร หนูเสน บ้านเลขที่ 209 หมู่ 9 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีจุดเริ่มต้นจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวสู่สวนยางวนเกษตร ที่ได้เรียนรู้และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ครอบครัวและชุมชน ภายใต้แนวทางตามรอยวิถีพุทธ (อิทธิบาท 4) และสร้างให้เกิดการช่วยเหลือชุมชน สังคม และผู้ด้อยโอกาส จนทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมคือคนในชุมชนมีความสุขแบบพอเพียง สุขภาพร่างกายแข็งแรง เกิดความยั่งยืนของระบบวนเกษตรและเกษตรอินทรีย์ 12. รูปแบบนวัตกรรมทางเลือกสำหรับประชาชนและสิ่งแวดล้อม ไบโอดีเซล ตามแนวพระราชดำริ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยะลาไบโอดีเซล ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองจัง หวัดยะลา เริ่มต้นจากกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากนำมันเหลือใช้ สู่การเรียนรู้วิธีการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนกลายเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่ช่วยหนุนเสริมให้สมาชิกกลุ่มเกิดอาชีพ สร้างรายได้ทั้งคนในชุมชนและกลุ่มคนพิการ คนด้อยโอกาสในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จากผลการศึกษา ทำให้เกิดนวัตกรรมการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงสู่การคุ้มครองทางสังคม ที่เหมาะสมเพื่อผู้ด้อยโอกาส ซึ่งมีจุดเริ่มต้นของรูปแบบเดียวกันคือการเริ่มจากกระบวนการวิเคราะห์ตัวปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่ความด้อยโอกาสเกิดจากปัญหาความยากจน และเมื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ก็จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งทุกคนสามารถนำไปใช้ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาในระดับบุคคล กลุ่ม ชุมชน หรือองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอชน สามารถที่จะนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปสร้างให้เกิดชุมชนพอเพียงได้จริงในเชิงประจักษ์ทุกกรณี และเมื่อคนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ พึ่งพิงกันได้ เกิดเครือข่ายในการช่วยเหลือกัน การคุ้มครองทางสังคมก็จะเกิดขึ้นในชุมชนเสมอ จากการที่ทุกคนต่างดูแลซึ่งกันและกันภายใต้วิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" <br><br>Abstract Research title : Sufficiency Economy Application Innovation towards Appropriate Social Protection for Disadvantaged PeopleResearcher : Technical Promotion and Support Office 1-12, Ministry of Social Development and Human SecurityYear : 2017The research, titled as Sufficiency Economy Application Innovation towards Appropriate Social Protection for Disadvantaged People, had objectives to study the social problem situation of disadvantaged people, study the application of Sufficiency Economy for Appropriate Social Protection for Disadvantaged People and offers the Sufficiency Economy Innovation in accordance with the social protection needs of disadvantaged people. This research was a Qualitative Research focused the study on the way of life, how disadvantaged people live in economic dimension, social and cultural dimensions. It also studied the situation of disadvantaged people in the areas as well as studied the social protection and the application of Sufficiency Economy in the current communities for creating the innovation to solve measure problem of social protection that appropriate for disadvantaged people in the communities. The study scope areas were under responsibility of the Technical Promotion and Support Office 1-12 altogether 12 offices. The methods for selecting the case study were derived from the study of statistical database of the National Statistical Office, the study of social database of the Office of Social Development and Human Security and the study of social situation database of the Technical Promotion and Support Office 1-12 from 2 years retrospective study. The research result reflected the development of ideas getting from the philosophy of Sufficiency Economy that conduced towards the solving of poverty and many more difficulties of farmer. New innovations were produced for people in local areas to learn and practice. These innovations started from agricultural foundation. There were ideas of new innovations getting from Sufficiency Economy to help solving poverty problem of 12 groups of disadvantaged people as follow. 1. Life skills development model based on the guideline concept from Sufficiency Economy of Nong Khae Life Supporting and Development Center (Ban Sorn Bin) in Nong Khae district, Saraburi province brought 23 Sufficiency Economy Principles to be applied in many activities of the Center with objectives to strengthen and improve the capacity of the service receivers to be able to live their lives normally and to also construct the alternative occupational choices for them to select and become self-reliance. 2. Learning Center model for sustainable agriculture based on the mixed farming of the Sufficiency Economy Learning Center Ban Tha Ten Community, Prapleng sub-district, Kaochagan district, Sa Kaeo province started their first step in analyzing the problem condition of the community facing with natural disasters that cause droughts, floods, and other problem. Then they learned the Sufficiency Economy Philosophy given by HM King Bhumibol and altogether helping each other to try and apply the mixed farming on their lands till successful result occurred. They coordinated in thinking, doing, resolving problem, and applying the mixed farming till they gain the innovation that appropriate to their community area. The achievement occurred for they planned before starting the cultivation and considered the demand and supply principle. This generated income for villagers, they had non-toxic foodstuffs for consumption, they had healthy body and they were safe from drugs problem. 3. Sufficient life style for disadvantaged people after being released from prison model of the temporary prison at Kao Ragam, Muang district, Trad province had program to construct the opportunity for previous inmates to return to society and live happily together by starting the strategy of 3 loops and 2 conditions towards planning and doing for creating the changing point to Sufficiency that construct well-being life from daily application to sustainable occupation from agriculture program named one Rai seriously do sufficient for consumption and not being poor for those previous inmates to do as their occupation. 4. Sufficiency Economy model from the Royal Father to the community of Nong Sarai sub-district, Phanom Thuan district, Kanchanaburi province had a starting point from self-reviewing, data collecting, and planning community plan to solve debt and health problem with objectives for everyone in the community to live happily and have a good result that everyone has healthy body, debt reducing, more income, and have sustainable occupation. 5. Community Development toward Sufficiency Economy Learning Center based on Sufficiency Economy Concept model of the Sufficiency Economy Learning Center Ban Toei Community in Phimai district, Nakhon Ratchasima province analyzed the problem condition of the community where land had problem such as saline soil, malnourished soil, repeating drought and flood which affecting ineffective agriculture leading to the need of learning organic farming and bringing tips to solve community problem sustainably such as knowledge to adjust saline soil by covering the soil, cultivating vetiver grass and soil covering plants, and how to use chemical fertilizers as well as promoting the solution for paying debt and earning income by recording the household account , planning the cultivation, managing the community, promoting occupational groups for generating income and reducing expenses. 6. Innovative Sufficiency holes for sharing to disadvantaged people model of the Moral Development Center at Panakam temple, Joomjang sub-district, Guchinarai district, Kalasin province had a starting point from community problem analyzing, working out a solution, studying the information, visiting learning centers and searching for solution with objectives to help villagers step out of poverty by applying HM King Bhumibol knowledge many times till the Sufficient holes which was the innovative agricultural process interdependent with nature. After Sufficient holes successfully done, then pig holes idea occurred for those who were disadvantaged people to gain more. This created merit holes to transfer love and care for those who were still in underprivileged condition. Thus the food and other resources sharing were transferred to disabilities and poor people in the hospital for consumption for a better standard of living. 7.Sufficient welfare model for disadvantaged people of the Buddhist Brahma Wachirayarn at Learning Center of Putalay Mahawitchalai, Wat Padongyai Wang Or, Hua Don sub-district, Khueang Nai district, Ubon Ratchathani province started from the application of Sufficiency Economy Concept that led to nine community projects nine learning centers from the King till finally the Kok Nong Na model settled with the objective to help underprivileged in community, create Sufficiency way, grow organic vegetables, earn additional income, share vegetables, and record household account. This resulted the creation of underprivileged a network to help the both inside and outside the community. 8. Innovative model for inmates and Sufficiency Economy for friends of the Peung Pung (Pa) Yam Yark foundation, Ban Hae sub-district, Muang district, Arngthong province started from the philosophy of Sufficiency Economy used as base of the model. The purpose of Peung Pung (Pa) Yam Yark aimed to help the flood victims focusing on sustainable restoration. The final results were the promotion of the organic farming that changed productive process, changed the way of life, and changed the way of thinking for develop the inmate quality of life after their return to society. 9. The community philosophers creating Community Enterprise Group of Housewife Enterprise Group at Ban Kok Kratue, Wang Yai sub-district, Sri Samrong district, Sukhothai Province started by the previous village headman who dreamed of applying the concept of Sufficiency Economy to the community. This sparked an analysis of community problem, leading to the change of community people mindset. The process of learning, life planning, creating a stable occupation, saving money, and have no debt were the results from learning process and developing self-capacity to turn the crisis into an opportunity to lead the community toward the mixed farming based on the philosophy of Sufficiency Economy and living in the middle line.10. Guru model learning how to think, construct a new life with the concept getting from Sufficiency Economy of the Sufficiency Economy Learning Center in Mae Moh district, Lampang province started from the application of Sufficiency Economy to settle the learning center of organic farming, burning charcoal from waste wood, Biogas production from animal mass and much more. The point is to study, learn and experiment till it becomes a learning center that transfer knowledge to the villagers and to the underprivileged who are interested (Prisoners in prison) for free (of charge). 11. Buddhist agricultural style, building sufficient community to help the underprivileged of the Agricultural Education Center of Buddhism by Mr.Witoon Nhoo-san reside at 209 Moo 9, Tamot sub-district, Tamot district, Phatthalung province started point from doing old traditional style of single crop cultivation to the mixed plants combined with rubber plantations. We have learned and embraced the philosophy of Sufficiency Economy to families and communities under the guidelines of the Buddhist path (four foundations for accomplishment 4), and to help the community, society and the underprivileged till the results are tangible which were people in the community are happy enough and healthy as well as being able to sustain the agroforestry system. 12. Alternative Innovation model for people and environment, Biodiesel by Royal Initiatives of Yala Biodiesel Community Enterprise Group, Lam Mai sub-district, Mueang district, Yala province, started from the idea to solve the problems caused by waste oil. This led us to learn how to produce biodiesel from acknowledge of Royal Project till it became a community enterprise that helped to boost the group members to earn more income for both people in the community and the disabilities. The underprivileged in the community can be self-reliance under the concept of Sufficiency Economy. The study results reflected the occurrence of innovations applying sufficiency economy to appropriate social protection. The beginning of the innovation started in same pattern which were the analysis of the problem. Most of the disadvantages are caused by their poverty but after applying the philosophy of Sufficiency Economy, the learning process which everyone can use it started. Whether solving problems at the individual, community, or organizational level, both government and private sectors, everyone being able to bring Sufficiency Economy concept to build a self-sufficient community in all cases and when people in the community can rely on themselves, then the network can be settled to help each other. Social protection always happens in the community from the fact that everyone is taking care of each other under the philosophy of Sufficiency Economy.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ