Notifications

You are here

อีบุ๊ค

มาตรฐานความอยู่สบายของที่อยู่อาศัยและชุมชนฃเพื่อกา...

TNRR

Description
บทคัดย่อโครงการศึกษามาตรฐานความอยู่สบายของที่อยู่อาศัยและชุมชน เพื่อการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วมนี้ เกิดจากดำริของการเคหะแห่งชาติที่มีหน้าที่หนึ่งในการพัฒนามาตรฐานที่อยู่อาศัยของประเทศให้ดียิ่งขึ้น เป็นโครงการนำร่องการพัฒนามาตรฐานจากชุมชนที่มีความอยู่สบายจริงในประเทศไทย โดยใช้พื้นที่ริมแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงครามเป็นกรณีศึกษา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดจากโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยเมืองสมุทรสงครามแบบมีส่วนร่วม ที่การเคหะแห่งชาติได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2552 จนเกิดเป็นภาคีเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสมุทรสงครามที่ทำงานเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาที่อยู่อาศัยในสมุทรสงครามมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ปี การศึกษานี้จึงเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนามาตรฐานที่อยู่อาศัยโดยการประสานความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับความรู้ที่มีรากฐานมาจากต่างประเทศเป็นครั้งแรก ชุมชนริมแควอ้อมคือพื้นที่ 2 ฝั่งของแควอ้อม ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดสมุทรสงคราม ในพื้นที่อำเภอบางคนทีและอำเภออัมพวา ตั้งแต่ปากคลองด้านแม่น้ำแม่กลองไปยังสุดเขตจังหวัดที่บริเวณวัดแก้วเจริญ เป็นระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล มีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา 3,201 หลังคาเรือน มีประชากร 9,888 คน เป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานมานานและยังสามารถสืบทอดรักษาภูมิปัญญาการตั้งถิ่นฐานของบรรพบุรุษได้จนปัจจุบัน แควอ้อมเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญไปยังราชบุรีทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นที่ตั้งของค่ายบางกุ้ง มีวัดเก่าแก่ตั้งอยู่มากถึง 11 วัด เป็นเส้นทางเสด็จประพาสต้น มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติระบบนิเวศน์สามน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ด้านวัฒนธรรม มีเรือนไทยประเพณี และเรือนพื้นถิ่นตั้งอยู่มาก มีวิถีชีวิตแบบชุมชนริมน้ำ มีความเป็นเครือญาติ ชาวแควอ้อมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวสวนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจนมีฐานะดี และเห็นคุณค่าของความอยู่สบายในชุมชนของตน มีผู้นำชุมชนที่ต้องการรักษาอัตลักษณ์ทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมไว้ กระบวนการศึกษาเป็นการศึกษาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมคู่ขนานไปกับการศึกษาเชิงวิชาการ ในระยะเวลาศึกษา 9 เดือนโดยเริ่มจากการสร้างและขยายภาคีเครือข่ายฯให้ครบทุกภาคส่วน ครอบคลุมคนทุกรุ่น รวมทั้ง กศน. เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นคู่ขนานกันไป กระบวนการศึกษาแบบมีส่วนร่วมแบ่งได้เป็น 12 ขั้นตอน ตั้งแต่การศึกษาปัจจัยความอยู่สบายจากปราชญ์และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น การประกวดภาพวาดและเรียงความจากนักเรียน การเสวนาในงานเปิดตัวที่มีภาคีฯ เข้าร่วมมากกว่า 100 คน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 การร่วมสำรวจภาพรวมของชุมชนริมแควอ้อม และถ่ายภาพบ้านเรือนกว่า 2,000 ภาพ มาต่อกันจนเห็นภูมิทัศน์ชุมชน การศึกษาดูงานครั้งที่ 1 ใน 3 ชุมชนในกรุงเทพมหานครและนครปฐม พัฒนามาตรฐานเบื้องต้นและนำมาตรฐานไปเสนอในการประชุมผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ 1 จากนั้นทำการศึกษาเชิงลึก ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะที่ 2 ศึกษาบ้านกรณีศึกษาจำนวน 32 กรณี วิเคราะห์จำแนกบ้านเป็น 4 ประเภท คือ เรือนไทย เรือนพื้นถิ่นประเภทที่อยู่อาศัยและร้านค้า และบ้านสมัยใหม่ และแบ่งชุมชนเป็น 3 ประเภท คือ ชุมชนหนาแน่นปากคลอง ชุมชนชาวสวนช่วงกลางคลอง และชุมชนการค้าเก่าย่านวัดแก้วเจริญ ถอดรหัสปัจจัยที่ทำให้เกิดความอยู่สบายออกมาเป็น 6 หมวด โดยอาศัยแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหลัก คือ (1) สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (2) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (ที่มนุษย์สร้างขึ้น) (3) ด้านสังคม และวัฒนธรรม (3) ด้านเศรษฐกิจและการเงิน (5) ด้านการบริหารจัดการ และ ด้านที่ (6) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา จากนั้นได้ยกร่างมาตรฐานฯครั้งที่ 2 จัดการดูงานครั้งที่ 2 ใน 4 ชุมชนที่อยุธยา นครสวรรค์ และอุทัยธานี ทำการทดสอบมาตรฐานโดยการวัดเปรียบเทียบความอยู่สบายระหว่างชุมชนริมแควอ้อมกับชุมชนที่ดูงาน จัดการประชุมปฏิบัติการระยะที่ 3 การร่วมวิเคราะห์มาตรฐานฯที่ยกร่างขึ้นทั้งมาตรฐานระดับบ้านและระดับชุมชน นำมาตรฐานฯไปทดสอบกับบ้านและชุมชนริมแควอ้อมในกรณีศึกษาที่เลือกขึ้นใหม่ เป็นบ้าน 16 หลังและชุมชนระดับหมู่บ้าน 3 ชุมชน ปรับปรุงและแปลงมาตรฐานไปเป็นหลักการและแนวทางในการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย แล้วนำมาตรฐานผ่านการสอบทานโดยการประชุมผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ 2 ปรับแก้เป็นมาตรฐานฉบับสมบูรณ์ จัดทำคู่มือทั้งระดับบ้านและระดับชุมชน จัดทำสื่อวีดีทัศน์ นำเสนอในการสัมมนาเผยแพร่ผลงาน รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้เชี่ยวชาญ ภาคีเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสมุทรสงครามทุกภาคส่วน ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของการเคหะแห่งชาติ จากกระบวนการ มาตรฐานความอยู่สบายฯนี้จึงได้ผ่านการสอบทานและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆทุกระยะในกระบวนการทั้ง 11 กระบวนการ และยังมีการนำมาตรฐานไปทดสอบก่อนการนำมาสรุปเป็นมาตรฐานฉบับสมบูรณ์ แปลงมาตรฐานไปเป็นหลักการและแนวทางในการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยมาตรฐานความอยู่สบายฉบับสมบูรณ์ที่ได้จากการศึกษาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมคู่ขนานกับการศึกษาเชิงวิชาการนี้ แบ่งเป็น (1) มาตรฐานความอยู่สบายของที่อยู่อาศัยและชุมชน: ระดับบ้าน แบ่งออกเป็น 5 หมวด 10 มาตรฐาน 70 ดัชนี และ 211 ตัวชี้วัด แบ่งออกเป็น ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 35 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 176 ตัวชี้วัด และ (2) มาตรฐานความอยู่สบายของที่อยู่อาศัยและชุมชน:ระดับชุมชน แบ่งออกเป็น 6 หมวด 22 มาตรฐาน 69 ดัชนี และ 386 ตัวชี้วัด แบ่งออกเป็น ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 96 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 290 ตัวชี้วัด โดยความอยู่สบายเกิดจากการทำงานร่วมกันของปัจจัยต่างๆทั้ง 6 นี้อย่างผสมผสานเป็นองค์รวมมาตรฐานความอยู่สบายฯ ที่ได้จากการศึกษานี้ สามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยได้โดยตรง อย่างมีประสิทธิภาพ เฉพาะในพื้นที่ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับกรณีศึกษา สามารถใช้ประเมินระดับความอยู่สบายของบ้านและชุมชนได้ โดยใช้ Rating Scale 5 ระดับ การเคหะแห่งชาติสามารถนำหลักการและแนวทางการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ได้จากการศึกษานี้ไปใช้ได้ และควรมีการศึกษาต่อยอดในพื้นที่ที่มีบริบทแตกต่าง ในชุมชนทุกประเภท ในที่อยู่อาศัยทุกรูปแบบเพื่อเป็นมาตรฐานที่มีนัยยะทั่วไป ใช้ประกอบกับมาตรฐานเฉพาะพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะที่มีบริบทคล้ายคลึงชุมชนริมแควอ้อม สามารถนำไปใช้เช่นการนำมาตรฐานไปออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น และการนำคู่มือที่ได้จากการศึกษานี้ไปเผยแพร่แก่ผู้มาอยู่ใหม่ และสามารถพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการมีที่อยู่อาศัยและชุมชนอยู่สบายได้ การศึกษามาตรฐานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมนี้มีประโยชน์มาก ทำให้เกิดมาตรฐานที่ได้จากองค์ความรู้นอกตำราที่สำคัญจำนวนมาก เกิดการจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รู้ รัก บ้านเกิด สร้างความตระหนักรู้เรื่องความสำคัญของที่อยู่อาศัยแก่คนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างมาก และทำให้เกิดการเปลี่ยนความคิดสถาปนิกของรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการข้อเสนอแนะจากการศึกษามีดังนี้ (1) ในกระบวนการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยในอนาคต ควรมีการนำหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึง (พื้นที่และชุมชนเดิมก่อน) และพัฒนา โดยต้องดำเนินการในทั้ง 6 มิติขององค์ประกอบความอยู่สบาย (2) ควรมีการศึกษาต่อยอดจากโครงการนี้อีกมาก ได้แก่ การศึกษาเพื่อเพิ่มเติมและยกรับดับความถูกต้องแม่นยำของมาตรฐาน การขยายการศึกษามาตรฐานฯ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ในชุมชนที่มีบริบทและขนาดแตกต่างจากกรณีศึกษานี้ และในที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ จนครอบคลุมที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สำคัญ (3) ควรมีการแปลงมาตรฐานไปสู่ข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) ควรมีการสร้างความเข้าใจและขยายภาคีเครือข่ายไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย (5) ควรมีการปลูกฝังเรื่องนี้ให้เยาวชนคนรุ่นต่อไป และควรมีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชนในทุกระดับและทุกรูปแบบของการศึกษาการที่การเคหะแห่งชาติดำริให้มีการวิจัยนำร่องเป็นต้นแบบของการศึกษามาตรฐานความอยู่สบายของที่อยู่อาศัยและชุมชน จากชุมชนอยู่สบายที่มีอยู่จริงในประเทศไทยโดยกระบวนการมีส่วนร่วมในครั้งนี้ จึงมีคุณูปการยิ่ง ทั้งสำหรับการเคหะแห่งชาติเอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสมุทรสงครามทุกภาคส่วน รวมทั้งได้เปิดมิติใหม่ในเชิงวิชาการในการพัฒนามาตรฐานโดยการประสานความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับมาตรฐานวิชาการจากต่างประเทศ เป็นจุดตั้งต้นการพัฒนามาตรฐานคุณลักษณะอยู่สบายของที่อยู่อาศัยและชุมชนในประเทศไทยที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อความอยู่สบายได้ในอนาคต<br><br>AbstractThe Study of the Development of Housing and Community Comfortable Living Standards Through Participatory Research was initiated by the National Housing Authority (NHA) to fulfill the mandate to develop standards for better housing in Thailand. The project was a pilot study of housing standards, which derived knowledge from a community that actually has comfortable housing and community. The study area is communities along both sides of the Kwae Awm Canal in Samut Songkhram Province. This study is a continuation of the Project for Housing Development Planning in Samut Songkhram and conducted through a participatory process, which the NHA commissioned to Chula Unisearch of Chulalongkorn University in 2009. Since then, Samut Songkhram Housing Development Network (SSHDN) has established and SSHDN partners who have worked together for over a period of eight years up to the present day. This SSHDN network identified the communities along the Khwae Awm Khlong as a potential pilot site for the study of The Comfortable Living Standards. This is the first study of its kind, which defines standards for housing that were developed through the synthesis of learning and traditional wisdom of the locality with international concepts of quality living.The greater Rim Khwae Awm settlement straddles the Khwae (big canal) Awm, an important tributary of Samut Songkhram Province connect to Ratchaburi Province. The study area extends from the entrance of the canal where it connects with the Mae Klong River to Keo Charoen Temple, for a length of seven kilometers, encompassing five sub-districts, 3,201 households and a population of nearly 10,000 residents. The settlement pre-dates the Ayutthaya era, and is unique for having preserved the traditional wisdom of the forebears of today’s residents. Khwae Awm Canal was and still is an important link, and the settlement was the site for an important military base (Bang Kung Camp) during the Siam-Burma sieges. Currently there are 11 temples in the locality, and the environment is characterized by lush natural resources and a harmonious eco-system. The local housing represents traditional Thai architecture and indigenous craftsmanship. The lifestyle of the residents epitomizes the waterfront living, and many of the locals are blood relatives. The working-age population mostly works in fruit and vegetable orchards, which extend in-land from the Khwae Awm Canal. The cultivators of these orchards apply principles of sufficiency economy in their work and daily life. The community is satisfied with its traditional way of life and elects community leaders who are dedicated to preserving the traditions and environment. period of this study is nine months and used a participatory process in parallel with the academic research. The project encompassed 12 steps starting with an assessment of factors behind comfortable through the eyes of local sages and tapping into the traditional wisdom of the locality. The first phase involved with assembling and expanding the network of development partners included the Office of the Non-Formal and Informal Education: NFE to create a community curriculum to support the process of identifying factors affecting comfortable living, tapping into local wisdom, conducting picture-drawing and essay contests among school children, convening project orientation seminars and workshops, conducting a broad survey of the community, creating a photo log with over 2,000 images of the houses in Rim Khwae Awm, conducting comparative study tours to similar communities in Bangkok and Nakorn Pathom, developing a preliminary set of standards for review by an expert panel, conducting 32 case studies of households which reflect four different types of housing (traditional Thai, indigenous, shop house, and modern), and classifying the settlement into three sub-divisions (densely settled area near the entrance of the canal, orchard farmer settlements in the middle section, and traditional mercantile settlement near Keo Charoen Temple). Based on concepts of sustainability, six dimensions of comfortable living were defined as follows: (1) Natural environment; (2) Man-made built environment; (3) Socio-cultural; (4) Economy and finance; (5) Management; and (6) Learning and development. Additional study tours were conducted in Ayutthaya, Nakorn Sawan, and Uthai Thani Provinces to further refine the preliminary set of standards. The draft set of standards was field-tested among 16 households and three neighborhoods in Rim Khwae Awm to assess the applicability of the indicators. Once the final set of indicators was developed, two handbooks were produced (household and community) to explain how to apply the indicators in development planning. The two handbooks are accompanied by short video films to provide a more graphic demonstration of the concepts and principles. These outputs were presented to a seminar of stakeholders, development partners and specialists for opinion and recommendations. This study of standards of comfortable living included a process of repeated testing and refinement at each of the eleven steps. The draft standards were further tested before inclusion in the final set. The standards were translated into principles and guidelines for housing development planning. The complete set of standards derived by this pilot project can be divided into the following: Household level: 5 groups, 10 standards, 70 indices, and 211 indicators; Community level: 6 groups, 22 standards, 69 indicators, and 386 factors. The standards from this project can be applied directly to housing and community development planning. The NHA can use these findings to inform guidelines for housing development projects as well. These standards should be studied in different contexts around Thailand to see how generalizable they are. Local administrative organizations should apply the standards as part of the local regulations and laws related to housing and community development. The local curriculum (e.g., Know and love the homestead) template was developed by this project in collaboration with the Office of Non-formal Education to present the concepts and indicators in language that is easy to understand. This curriculum should be applied by, with support from the Office of Non-formal education, in other localities to broadly replicate the success. Based on the findings of this study, the following recommendations are proposed: (1) Planning for housing development should apply principles of HM King Bhumibol Adulyadej of understanding, accessing (indigenous locality and community) and developing across the six dimensions of comfortable living; (2) There should be follow-on studies to fill gaps in the present study and increase the level of accuracy of the standards. In particular, studies should be conducted in areas that are dissimilar to Rim Khwae Awm; (3) The standards should be developed into laws and regulations of local administrative organizations; (4) The network of development partners in this area should be expanded; and (5) Younger generations should be indoctrinated in the concepts of comfortable living. This study was conceived from the visionary initiative of the NHA and implemented through a participatory process with local stakeholders, development partners, academic specialists and staffs of related agencies. The study has explored new concepts of quality and comfortable living for housing and communities. Standards were developed, with qualitative and quantitative indicators, to guide application in future development projects. The standards are built upon traditional wisdom, actual field examples, and synthesis of international concepts of comfortable and affordable housing.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ