Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความมั่นคงท...

TNRR

Description
โครงการวิจัยนี้เกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเสนอแนวทางของการแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยให้ความสำคัญในการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าสำหรับภาคครัวเรือน และสิ่งที่โครงการให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมุ่งเน้นไปที่การใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ดังนั้น โครงการนี้จึงเริ่มจากการศึกษาหลักเกณฑ์และองค์ประกอบของการออกแบบในการจัดสร้างบ้านประหยัดพลังงาน ศึกษาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผ่านการทำงานของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับระบบสำรองพลังงานไฟฟ้า จากนั้นมีการจัดทำโครงการนำร่อง เพื่อทดลองใช้งานระบบดังกล่าวตามลักษณะการใช้งานจริง ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์และประเมินผลรวมทั้งมีการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินของการดำเนินการตามโครงการนำร่อง นอกจากนี้ มีการศึกษาปัญหา อุปสรรค กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและแนวทางแก้ไข ผลจากการจัดทำโครงการ พบว่า บ้านประหยัดพลังงาน เป็นบ้านที่มีการใช้พลังงานน้อยที่สุด สำหรับการปรับสภาวะแวดล้อมให้ผู้อยู่อาศัยอยู่สบาย ซึ่งการออกแบบและจัดสร้างต้องคำนึงที่ตั้งและทิศทาง ระบบผนังและหลังคาต้องป้องกันความร้อนและความชื่นได้ดี เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านต้องมีประสิทธิภาพสูงและใช้พลังงานน้อย บ้านควรมีการใช้พลังงานทดแทนร่วมกับระบบสำรองพลังงานไฟฟ้า โดยพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับประเทศไทยคือพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสำหรับการใช้งานในระดับครัวเรือนคือ ชนิดผลึกรวม และเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางรายได้ของครัวเรือนจึงควรติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าความต้องการใช้งานร้อยละ 70 และต้องใช้งานร่วมกับระบบสำรองพลังงานไฟฟ้า โดยระบบสำรองไฟฟ้าที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะดังกล่าว คือ แบตเตอรี่วานาเดียม ดังนั้น ในโครงการวิจัยนี้ จึงมีการจัดทำโครงการนำร่อง โดยการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 6 กิโลวัตต์ เพื่อผลิตไฟฟ้า และติดตั้งระบบสำรองพลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่วานาเดียมขนาด 2 กิโลวัตต์ จากนั้นทำการทดลองใช้งานระบบตามลักษณะการใช้งานจริง รวมทั้งมีการวิเคราะห์และประเมินผลระบบที่ทำการติดตั้ง พบว่า ระบบสามารถใช้งานตามลักษณะการใช้งานจริงได้ นอกจากนี้ มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของบ้านที่มีและไม่มีระบบผลิตและสำรองพลังงานไฟฟ้า ภายใต้สมมติฐานการผ่อนชำระ 25 ปี โดยบ้านที่ไม่มีระบบฯ ผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 และบ้านที่มีระบบฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ผลจากการประเมิน พบว่า ค่าใช้จ่ายสุทธิรายเดือนของทั้งสองกรณีมีค่าใกล้เคียงกัน แสดงให้เห็นว่า บ้านที่ติดตั้งระบบผลิตและสำรองพลังงานไฟฟ้า จะมีความคุ้มค่าก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ดังนั้น การกำหนดนโยบายจากทางภาครัฐ จึงเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการเข้าถึงการใช้พลังงานทดแทนของภาคประชาชน

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ