Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาทดลองการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ&...

TNRR

Description
โครงการศึกษาทดลองการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยบำบัดน้ำเสียที่มีผลทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของโครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นการดำเนินงานในรูปแบบของการวิจัยทดลองกับสถานที่จริง โดยดำเนินการทดลองที่โครงการบ้านเอื้ออาทรประชาอุทิศ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นอาคารสูง จำนวน 12 อาคาร ในการทดลองได้มีการดัดแปลงเครื่องเติมอากาศ ให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องกวน โดยเปิดเครื่องกวนผสม 15 นาที ทุกๆ 4 ชั่วโมง และเพิ่มท่อนำตะกอนหมุนเวียนกลับไปลงที่ใต้ถังกรองไร้อากาศ รวมทั้งการพัฒนาการช่วยบำบัดน้ำเสีย โดยการใช้ อีเอ็ม ที่สะดวกต่อการควบคุม และบำรุงรักษา และเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่ชัดเจน ในการดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียของชุมชน จากการดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 21 สัปดาห์ พบว่า การใช้อีเอ็มช่วยในการบำบัดน้ำเสียสามารถช่วยลดกลิ่นเหม็นของระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศและช่วยกำจัดตะกอนจุลินทรีย์ทำให้น้ำใสขึ้นได้ โดยประสิทธิภาพในการลดค่า BOD เฉลี่ยของอาคาร 1- 12 พบว่า มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 42-77 ส่วนค่าน้ำทิ้งในสระหน่วงมีค่าบีโอดีน้ำทิ้งเฉลี่ย เท่ากับ 19 มก./ล. และผลจากการเปลี่ยนลักษณะการเติมอากาศจากเดิมเปิด 24 ชั่วโมงต่อวัน(เสียค่าไฟฟ้า 187 บาทต่อวันต่ออาคาร) เป็น 1.5 ชั่วโมงต่อวัน(เสียค่าไฟฟ้า 12 บาทต่อวันต่ออาคาร) ทำให้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 175 บาทต่อวันต่ออาคาร จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ ควบคู่ไปกับการเติมอีเอ็ม สามารถลดค่าบีโอดีได้ร้อยละ 42-77 ซึ่งประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพขึ้นกับปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในระบบ ซึ่งในการทดลองนี้ควบคุมโดยปริมาณของ media ในถังปฏิกิริยา การบำบัดน้ำเสียจะสามารถทำงานได้ดีหากมีการตรวจสอบ media ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อยู่เสมอ และเมื่อน้ำไหลผ่านบ่อหน่วงพบว่าสามารถลดค่าบีโอดีเพิ่มได้อีก ดังนั้นในการบำบัดน้ำเสียของโครงการบ้านเอื้ออาทรควรใช้สระหน่วงน้ำช่วยในการบำบัดน้ำเสียด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียอีกทาง การสำรวจพฤติกรรมผู้อยู่อาศัยของโครงการบ้านเอื้ออาทรจังหวัดสมุทรปราการ(ประชาอุทิศ) ประกอบด้วย 12 อาคาร จำนวน 536 ห้อง ช่วงที่ทำการทดลองมีลูกบ้านอยู่มากกว่าร้อยละ 95 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สอบถามในครั้งแรกของการสำรวจมี 262 ราย และครั้งที่สอง 253 ราย ผลจากการสำรวจ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 76 อยู่ในกลุ่มอายุ 31-50 มีการศึกษาระหว่างประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาร้อยละ 56 ระดับ ปวช./ปวส. จนถึงระดับปริญญาตรีร้อยละ 42 เป็นพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 35 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 29 เป็นข้าราชการและค้าขายอย่างละร้อยละ 9 ร้อยละ 81 ตอบว่ามีจำนวนผู้อาศัย 2-3 รายต่อห้อง ร้อยละ 50 มีรายได้ต่อครัวเรือน 15,001-20,000 ส่วนที่รายได้ 20,001-25,000 และ ที่ต่ำกว่า 15,000 มีจำนวนร้อยละที่เท่ากันคือร้อยละ 21 โดยสรุป โครงการบ้านเอื้ออาทรจังหวัดสมุทรปราการ(ประชาอุทิศ) เป็นโครงการที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบ้านเอื้ออาทรที่เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพียงแต่มีข้อสังเกตว่าร้อยละ 11 ไม่ได้เป็นเจ้าห้องเองแต่เป็นผู้เช่าต่อจากเจ้าของห้อง จากการเปรียบเทียบผลสำรวจก่อนและหลังการทดลองฯพบว่าพฤติกรรมของลูกบ้านในการแยกขยะแห้งและขยะเปียก(เป็นผลจากการทิ้งเศษอาหาร)ได้ปรับปรุงดีขึ้นมากจากเดิมร้อยละ 13 ไม่แยกขยะ เป็นร้อยละ 46 ที่มีการแยกขยะ สำหรับการรับรู้ชื่อเสียงและประโยชน์ของ “อีเอ็ม” ก็ดีขึ้นจากที่ร้อยละ 23 ไม่รู้จัก “อีเอ็ม” ได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.4 เท่านั้น ได้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ “อีเอ็ม” มากขึ้นจากร้อยละ 11 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ทั้งนี้ เป็นผลจากการประชาสัมพันธ์รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมโดยติดแผ่นป้ายพลาสติกขนาดใหญ่ติดหน้าอาคารทุกอาคาร มีการแจกตัวอย่างแชมพูล้างจานและน้ำยา “อีเอ็ม” ที่จัดหาโดยการเคหะแห่งชาติ มีการจัดเสวนาเรื่องสิ่งแวดล้อมและประโยชน์ของ “อีเอ็ม” กับหัวหน้าอาคาร รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ระหว่างที่ทำการสำรวจ สำหรับปัญหาท่อน้ำตันและส้วมตันยังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ดีขึ้น แต่สำหรับปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นเน่าได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากที่เคยมีปัญหาร้อยละ 16 คงเหลือเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น จากการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่ามีลูกบ้านอยู่เป็นจำนวนมากที่ยังไม่ทราบเรื่องว่าเมื่อครบ 5 ปีของโครงการ ลูกบ้านจะมีภาระร่วมกันโดยการใช้งบส่วนกลางที่จะถูกจัดเก็บเป็นรายเดือนมาใช้จ่ายเป็นค่าดูแลและจัดการบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น การเคหะแห่งชาติคงต้องย้ำกับบริษัทรับบริหารโครงการ (Outsource) ให้มีการประชาสัมพันธ์มากขึ้นในเรื่องนี้ และการมีระเบียบของการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน การจัดการทิ้งขยะของครัวเรือนต้องมีระเบียบและถูกต้องเพื่อชุมชนน่าอยู่และประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จะถูกเก็บในอนาคตหรือเมื่อครบ 5 ปี ของโครงการ ข้อเสนอแนะสำหรับการทำประชาสัมพันธ์ การติดแผ่นป้ายขนาดใหญ่หน้าอาคารเป็นสื่อที่ได้ผลมากที่สุดเพราะเห็นได้ชัดและเป็นที่สังเกตง่ายของลูกบ้านและอยู่ทนได้มากกว่า 6 เดือน (ในกรณีใช้เทคนิคการผลิตที่ถูกต้อง ทนทานต่อแดดและฝน) ค่าใช้จ่ายของการผลิตก็ไม่แพงมากเมื่อเทียบกับผลที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาและภาษาที่ใช้ในการสื่อประชาสัมพันธ์ รวมทั้งรูปภาพที่กระตุ้นให้เกิดความสนใจต้องง่ายและชัดเจนต่อการทำความเข้าใจสำหรับกลุ่มเป้าหมายของโครงการบ้านเอื้ออาทร คำสำคัญ : อีเอ็ม / ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ / บีโอดี / สระหน่วงน้ำ <br><br>The Trial Study Project Using Effective Micro-organisms in Association with Wastewater Treatment which may have impact on economy and environment of the Eua-Arthorn housing project was carried out on site as a trial basis, at Samut-Prakarn -Arthorn housing project, Pracha-Utit Eua. It consists of twelve condominium buildings. The existing aerator was modified to use as a mixer operating 15 minutes at four hours interval. And a recycle sludge’s pipe was modified to return the sludge to anaerobic filter. An easy method to control and maintain on the use of EM, as well as a clear work procedure, were developed to assist the effectiveness of wastewater treatment. From the 21 months trial, it was found that EM could help reduce odor of the anaerobic treatment plants, and reduce suspended sludge-generating clearer wastewater. The average BOD removal efficiencies of building 1- 12 were in the range of 42-77%. The retention pond’s effluent had an average BOD of 19 mg/l. And from the modification of a 24 hour-aeration system (electricity cost 187 Baht/day/building) to 1.5 hours per day (electricity cost 12 Baht/day/building) could save an electricity cost of 175 Baht/day/building. It, then, can be concluded that using anaerobic wastewater treatment plant in association with EM feeding could remove BOD from 42% to 77%. In general, the efficiency of a biological treatment facility will depend on the amount of microorganisms in the system. In this trial, the amount was be controlled by the volume of media. Media should be well maintained so that the treatment efficiency can be kept. And when the wastewater flowed through the retention pond, it was found that additional BOD could be removed. So, Eua-Arthorn housing project should incorporate a retention pond as an option to improve their wastewater treatment efficiency. Occupant behavior surveys were carried out at Eua-Arthorn housing project, Samut-Prakarn (Pracha-Utit). It consists of 12 buildings with an amount of 536 rooms. During the trial period, the rate of occupancy was higher than 95%. The number of samplings during the first period were 262, and the second period were 253. The results were as follows; the number of response to the questionnaires were 76% with age ranging from 31-50 years old, 56% are primary to secondary school educated, 42% are higher education (Por Wor Chor/Por Wor Sor) up to Bachelor degree, 35% were private company’s employees, 29% general workers, 9% each were government officials or shop owners. Out of those responses, 81% had 2-3 occupants per room, 50% had 15,001 – 20,000 Baht incomes per family, while 21% for both with incomes of 20,001-25,000 Baht/family or with a lower income of 15,000 Baht/family. In summary, Eua-Arthorn housing project, Samut-Prakarn (Pracha-Utit) has met its Eua-Arthorn housing project establishment objectives which to provide housing for low income people. However, it should be noted that 11% of occupancy were not the room owners, instead, they rented from the owners. In comparison of the first and the post survey, it was found that their behavior on separation of dried and wet refuse (the outcome of food waste disposal) had been improved from 13% of the previous survey to 46%. For the name and the usefulness of “EM”, was also reduced from the do-not-known 23% to only 0.4%. The use of EM mixed products were increased from 11% to 20% as a result of the environmental campaign using large-size plastic cutouts posting on all buildings. Distribution of dish cleaning shampoos and “EM products” which were procured by National Housing Authority were carried out. A talk on environmental and usefulness of “EM” with heads of buildings, including public relation activities during the survey were also carried out. For clogged sewer and blocked toilet issues were not improved. But, the odor issue had been significantly reduced from 16% object able to only 1%. From the latter survey, it was found that, a large number of occupants still do not know that, after five year of the housing project promotion period, the occupants have to share the wastewater treatment costs out of their monthly payment to the central fund. So, NHA must inform the outsource company to provide more PR for this issue. And for the orderly environment management of the community, household refuse management must follow proper orders and measures for the community cleanliness and to save the central expenditures which to be collected in the future or when the project 5 years promotion period ended. Suggestions for public relation activities, posting large cut-outs on buildings are the most effective measure, because it can be clearly seen and easily noticed by the occupants, and it is last more than 6 months (in case with the right printing technique and it can withstand sunlight and rain), the production cost is not so expensive compared with its outcomes. However, the content and the wording including interesting pictures must be easy and clear to understand by the Eua-Arthorn housing project ‘s targeted occupants. Key words : EM / Anaerobic Wastewater Treatment Plant / BOD / Retention Pond

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ