Description
การพัฒนาระบบก่อสร้างบ้านในปัจจุบัน มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องทุกยุคทุกสมัย จากระบบการก่อสร้างแบบหล่อในที่สู่ระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูป เนื่องจากสามารถทำงานได้รวดเร็ว ใช้แรงงานน้อย ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และราคาค่าแรงฝีมือที่สูงขึ้นได้ ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเลือกใช้ระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง โดยทำการศึกษามาตรฐานการออกแบบ เทคนิคการออกแบบจุดต่อและการประสานรอยต่อ กระบวนการก่อสร้าง ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของการก่อสร้างอาคารชิ้นส่วนสำเร็จรูป ในการศึกษางานวิจัยได้ทำการออกแบบอาคารสำเร็จรูป 4 แบบ คือ บ้านแถว 2 ชั้น 2 แบบ และอาคาร 5 ชั้น 2 แบบ โดยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่เลือกใช้จะเป็นระบบผนังรับแรงและมีรอยต่อแบบแห้ง และได้ดำเนินการศึกษาความต้องการของผู้อยู่อาศัย เอกสารการออกแบบตามมาตรฐานสากล กฎหมาย และข้อบัญญัติต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูประบบประสานพิกัด การออกแบบโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปและจุดต่อให้มีความเหมาะสม ขั้นตอนการผลิตและหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปได้ในโครงการ ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนและค่าขนส่งจากโรงงาน ขั้นตอนการประกอบติดตั้งที่สามารถนำไปก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านต้นทุนของการก่อสร้าง ระยะเวลาการก่อสร้าง ความคุ้มทุนในการก่อสร้าง และเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ของการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปและการก่อสร้างแบบหล่อในที่ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ผลที่ได้จากการศึกษาประกอบไปด้วย เทคโนโลยีการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่เหมาะสม แข็งแรง สามารถผลิตและติดตั้งได้ง่าย มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และได้จัดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่องค์กรของการเคหะแห่งชาติและหน่วยงานภายนอก วิศวกร สถาปนิก ผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและรายย่อย ผู้ประกอบการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด และการประยุกต์ใช้ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโครงการก่อสร้างของการเคหะแห่งชาติได้อย่างยั่งยืน คำสำคัญ ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ผนังรับแรง จุดต่อแบบแห้ง การผลิตชิ้นส่วนในโครงการ ระบบประสานพิกัด <br><br> Construction systems have been continuously developed from conventional to prefabricated construction systems and widely used. Generally, prefabricated construction system reduced construction period and lack of labors issues. This study will provide a feasibility analysis in adopting prefabricated construction system for low to middle income housing. Construction methods, financial analysis and risk analysis will also be examined. Four types of building will be designed and studied, i.e. two types of two-storey townhouse and two types of five-storey building. The construction with prefabricated system using shear-wall structure with dry joints will be selected. The following issues will be highlighted: designs of suitable prefabricated panels and joints, suitability of prefabricated building system (manufacturing process, transportation and erection) for different project types in terms of cost and time effectiveness, and comparison of pros and cons between conventional and prefabricated systems. The expected outcomes of this study are the appropriate prefabricated construction technology, stable and easy installation, economic and social benefit. Other contributions will be dissemination and utilization of knowledge between National Housing Authority and private sectors and then applies the prefabricated system to other types of building and construction. Keywords : Precast Concrete, Bearing Wall, Dry Joint, Precast Concrete Site-Cast, Modular Coordination System
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
การเคหะแห่งชาติ
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read