Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การศึกษาปัญหาที่เป็นผลกระทบต่อเด็กชาวเขาใช้แรงงานใ...

TNRR

Description
ชื่อโครงการวิจัย : การศึกษาปัญหาที่เป็นผลกระทบต่อเด็กชาวเขาใช้แรงงานในเมืองเชียงใหม่: กรณีศึกษาเด็กชาวเขาเร่ขายของที่ระลึก พวงมาลัย และดอกไม้ ชื่อผู้วิจัย : นางเพทาย เมฆี และคณะ ปีที่ทำวิจัย : พ.ศ. 2554 การวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาที่เป็นผลกระทบต่อเด็กชาวเขาใช้แรงงานในเมืองเชียงใหม่: กรณีศึกษาเด็กชาวเขาเร่ขายของที่ระลึก พวงมาลัย และดอกไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เป็นผลกระทบต่อชีวิตเด็กชาวเขาเร่ขายของที่ระลึก พวงมาลัย และดอกไม้ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ชีวิต สิทธิขั้นพื้นฐาน และความด้อยโอกาสทางสุขภาวะ ตลอดจนภาวะเสี่ยงทางสังคมของเด็กและเยาวชนชาวเขา และหาแนวทางเสริมสร้างทักษะในการปรับฐานการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนชาวเขาในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR: Participatory Action Research) ประชากรในการวิจัย คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนชาวเขา 4 ชุมชนเป้าหมายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ชุมชนระแกง ชุมชนวัดหัวฝาย ชุมชนศรีปิงเมือง และชุมชนวัดสวนดอก ศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการจัดเวทีสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า 4 ชุมชนเป้าหมายซึ่งเป็นชุมชนในเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันมีชาวเขาเคลื่อนย้ายเข้ามาใช้ชีวิตอยู่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทยใหญ่ อาข่า และลาหู่ โดยมีรูปแบบการเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่เป็นครอบครัว และมาประกอบอาชีพต่างๆในเมือง ชาวเขาที่เป็นผู้ใหญ่ทำงานรับจ้างเป็นกรรมกรก่อสร้าง ส่วนชาวเขาที่เป็นเด็กเล็กจะช่วยครอบครัวทำงานหาเงินด้วยการเร่ขายของที่ระลึกพวงมาลัย ดอกไม้ตามสี่แยกไฟแดง ร้านอาหาร สถานบันเทิง โดยช่วงเวลาทำงานของเด็กจะเกิดขึ้นหลังเลิกเรียนตั้งแต่สี่โมงเย็นไปจนถึงห้าทุ่มหรือเที่ยงคืน ชีวิตของเด็กเหล่านี้เป็นชีวิตที่ขาดโอกาสในการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสุขอนามัย การเรียนรู้ การศึกษา รวมถึงด้านชีวิตความเป็นอยู่ ในส่วนแนวทางเสริมสร้างทักษะในการปรับพื้นฐานการดำเนินชีวิตและเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชนชาวเขาในชุมชนเป้าหมายนั้น พบว่า ชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านความรู้เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กควรได้รับ การดูแลตนเองด้านสุขอนามัย และชุมชนเกิดการเรียนรู้ในการจัดการตนเองเพื่อการอยู่ร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้สภาพแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น สมาชิกในชุมชนได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ แสดงความคิด ความเห็น และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวขึ้น ได้ช่วยกันสร้างความรับผิดชอบของตนต่อสังคม และสนับสนุนให้รู้คุณค่าของการทำงานร่วมกัน ในส่วนของการดำเนินมาตรการทั้งในเชิงป้องกัน คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนา จะต้องได้รับการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน <br><br>-

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ