Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาวิจัยการจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนเมืองแ...

TNRR

Description
ด้วยความสำคัญของการค้าชายแดนตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้พื้นที่รอยต่อชายแดนของประเทศไทยกลายเป็นที่ที่เหมาะสำหรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จำนวนมากและมีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนชนบทกลายเป็นชุมชนเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตการค้าชายแดนไทย-มาเลเซียซึ่งถือเป็นเขตการค้าชายแดนที่สำคัญและมีมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าสูงสุดของประเทศไทย อย่างไรก็ตามชายแดนไทย-มาเลเซียยังมีจุดอ่อนในเรื่องการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนเมืองและที่อยู่อาศัยที่เป็นผลมาจากเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองใน 2ประเด็นสำคัญ คือ ขาดแผนรองรับในด้านที่อยู่อาศัยในเขตเมือง และขาดการรองรับบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีการจัดทำโครงการศึกษาวิจัยการจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนเมืองและที่อยู่อาศัย ในเขตการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังทางสังคม วัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐานของประชากร ตลอดจนกระบวนการพัฒนาของชุมชนเมืองในพื้นที่เศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ของที่อยู่อาศัย เมือง และชุมชนในเขตการค้าชายแดนไทย-มาเลเซียในปัจจุบัน ศึกษาแนวทาง รูปแบบ และกระบวนการของการพัฒนาเมืองในมิติของที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียที่เหมาะสม และจัดทำแผนพัฒนาเมืองในมิติของที่อยู่อาศัยและชุมชนในพื้นที่เขตการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีกระบวนการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) ที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและปฏิบัติการภาคสนาม 4 เทศบาลในเขตการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ประกอบด้วยขเทศบาลเมืองสะเดา เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ เทศบาลตำบลสำนักขาม จังหวัดสงขลา และเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา รวมถึงการศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบการจัดการเพื่อการพัฒนาเมืองในมิติของที่อยู่อาศัยและชุมชน เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาเมืองในมิติที่อยู่อาศัยและชุมชนของทั้ง 4 เทศบาลดังกล่าวผลการวิจัยพบว่า ประชาชนถือครองที่ดินแต่ละครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3,269.9 ตารางวา หรือ 8.2 ไร่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการพักอาศัยบนเนื้อที่ต่ำกว่า 50 ตารางวา ในลักษณะบ้านเดี่ยวที่ตนเองเจ้าของและมีทะเบียนบ้านในชุมชนที่อาศัยอยู่ โดยเป็นบ้านคอนกรีตแบบถาวร จำนวน 2.6 ห้อง 1.5 ชั้นเลือกสร้างเองมากกว่าซื้อที่สำเร็จจากโครงการ และเห็นว่าในเขตเทศบาลช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวของสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นมาก ส่วนการเกิดปัญหาในเขตเมืองด้านลักษณะที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยในระดับน้อย และด้านมลภาวะที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับไม่มีหรือไม่ปรากฏสถานการณ์ประชาชนในเขตการค้าชายแดนไทย-มาเลเซียส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักเป็นการค้าขายหรือธุรกิจส่วนตัว ไม่มีอาชีพรอง มีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนอยู่ที่ 23,458.3 บาทต่อเดือน ส่วนรายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย 17,245.0 บาทต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายหลักเป็นค่าใช้จ่ายประจำวันหรือประจำเดือน และมีรายได้พอดีกับรายจ่าย จึงไม่มีหนี้ของครัวเรือนทั่วไปและไม่มีหนี้ของครัวเรือนอันเกิดจากที่ดินและที่อยู่อาศัย สำหรับปัญหาทางเศรษฐกิจที่ประชาชนประสบคือ เรื่องงานหรือรายได้ไม่แน่นอนมากที่สุด ประชาชนแต่ละครัวเรือนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นครอบครัวเดี่ยว มักเลือกอาศัยอยู่ในชุมชนที่ใกล้ญาติพี่น้องและที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ใกล้ชิดกับโรงเรียนหรือสถานศึกษามากที่สุด สำหรับกิจกรรมที่ไม่ต้องการให้อยู่ในชุมชนที่อยู่อาศัยมากที่สุดคือ โรงงานและอุตสาหกรรม และเห็นว่า การขยายตัวของชุมชนเมืองส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างแน่นอน นอกจากนี้เห็นว่า เทศบาลได้จัดบริการสาธารณะในภาพรวมอยู่ในระดับดี และต้องการให้เทศบาลดำเนินนโยบายการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการในนโยบายด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมและสังคมจากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน ความต้องการการใช้ที่ดินในอนาคต และความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับรองรับการพัฒนา นำมาสู่แนวทางการเลือกที่ตั้งและการออกแบบโครงการที่อยู่อาศัยของทั้ง 4 เทศบาล โดยมีนำเสนอลักษณะของอาคารหลัก 4 ประเภทคือ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮมส์อาคารพาณิชย์บนพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรรูปที่ดินของทั้ง 4 เทศบาล<br><br>As border has been significant in cross-border trade for decades, border area isappropriate for settling down and taking up community. It has been changed from rural tourban area from time to time. As clearly seen in Thai-Malaysia border, this area becomes thetop most import-export value among Thailand borders. However, weaknesses in term ofhousing and urban community management caused by cross-border trade and investmentare still existed. The impact of the community’s extensive growth is from two major factorsincluding deficiency of housing and urban community development plan and public servicesupported by local government offices. In order to study social, cultural, populationsettlement and community development backgrounds, study current situation of housing,urban and community, discover appropriate model, form and process of housing and urbancommunity development including prepare housing and urban development plan in thetrading area along Thailand-Malaysia border, the research Management of Housing and UrbanCommunity Development in the Area along Thailand-Malaysia Border has been conducted.This study adopts mixed research methodology in 4 major areas involved Sadao TownMunicipality, Padangbezar Town Municipality, Sumnakkham Subdistrict Municipality andBetong Town Municipality by using survey and site visit of community prototype in term ofhousing and urban community development for proposing housing and urban communityงdevelopment plan of 4 municipalities.It is founded that the average number of land possession of each household is 3,269.9sqaure wa or 8.2 rai and the average amount of land usage of each household is less than 50square wa. Most of the population owns detached house which has household registration inthe community. Most of house is permanent concrete structure house with 2.6 separaterooms, 1.5 storeys and self-constructed house rather than prefabricated house. Moreover, thesurvey result indicates that during 10 years ago, the number of building in these areas hasbeen increased extensively which causes housing problem in urban community in moderatelevel while environmental problem has occurred in less level and no pollution problem hasbeen shown.For demographic data, it is shown that most of the population in the trading area ofThailand-Malaysia border deals with self-own business, no secondary occupation for extraincome with average household revenue 23,458.3 baht per month while average householdexpense 17,245.0 Baht per month. Most of expense is from their daily or monthly life.Therefore, no general household debt from land or house investment shows but the majoreconomical problem is uncertain income. The inhabitant in these areas has lived in theircommunity since their ancestor with the single family. They prefer to live in the communitywith their cousin but on the other hands, they refuse to include factory in their community.Moreover, from their opinion, urban community expansion leads to way of life transformationof local people. For public service provided by local government office, it is clearly statedthat the municipalities have arranged public service in good level but they need moreimprovement on housing environment especially in term of cultural and social promotion.According to data analysis of current and future land usage and properness of areadevelopment, this leads to site selection and project design in 4 areas. The results presentsin 4 major housing plan which are detached house, semi-detached house, townhome andcommercial building.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ