Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเ...

TNRR

Description
โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบายเชิงสังคม เศรษฐกิจ กฎระเบียบและกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศสมาชิกอาเซียน ศึกษาสถานการณ์ความต้องการแรงงานในแต่ละกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เมืองและจังหวัดที่อยู่ตามแนวทางการพัฒนาทั้ง 4 ภูมิภาค ที่มีความต้องการด้านที่อยู่อาศัย ที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาพื้นที่ของรัฐบาล ศึกษาวิเคราะห์กฎหมาย และแนวทางการพัฒนาพื้นที่ พื้นที่ชายแดนและพื้นที่ต่อเนื่องของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากที่ดิน การถือครองที่ดิน การขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดินว่างเปล่า และการติดตามตรวจสอบนโยบายที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน จัดทำแผนงานรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรรมสิทธิ์ การย้ายถิ่น การตั้งถิ่นฐาน และการครอบครองที่ดินสำหรับประเทศไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับแนวทางการศึกษา คณะทำงานใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ผสมผสานกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) รวมทั้งการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ และความต้องการแรงงานในพื้นที่ในระยะ 3 ปี โดยใช้สมการเชิงเส้น (Linear Equation) ในลักษณะอนุกรมเวลา (Time Series) ส่วนในระยะ 5 ปี อาศัยวิธีการพยากรณ์ในลักษณะการคาดการณ์โดยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาที่อยู่อาศัยในพื้นที่จึงอาศัยวิธีการคำนวณปริมาณที่อยู่อาศัยจากอัตราการเปลี่ยนแปลงตามข้อมูลที่ปรากฏในระยะ 3 ปี และอาศัยวิธีการพยากรณ์ในลักษณะการคาดการณ์โดยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในระยะ 5 ปี เช่นเดียวกันกับการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ และความต้องการแรงงานในพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า เศรษฐกิจของจังหวัดในพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย จังหวัดตาก สงขลา สระแก้ว มุกดาหาร เชียงราย กาญจนบุรี และพิษณุโลกมีแนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจที่ขยายและเติบโตขึ้นในช่วงระยะ 3-5 ปี ซึ่งส่งผลต่อความต้องการแรงงานในพื้นที่และความต้องการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพล คือ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดที่เพิ่มขึ้น และมูลค่าการค้าชายแดนที่เพิ่มสูงขึ้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งการพัฒนาเส้นทางและระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่อันเป็นผลให้ความต้องการที่ดิน ราคาที่ดินขยับตัวสูงขึ้น และเกิดการขยายตัวของเมืองตามการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ยังขาดการบริหารจัดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเตรียมการรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโอกาส อุปสรรค ข้อดี ข้อเสียในการถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดิน และมาตรฐานการถือครองที่ดินของประเทศไทย และของต่างประเทศ ประกอบกับโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดิน ซึ่งพบประเด็นสำคัญคือ การบริหารจัดการที่ดินของประเทศไทยยังขาดเอกภาพ และระบบเอกสารสิทธิ์มีหลายลักษณะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การถือครองที่ดินกระจุกตัวอยู่ในภาครัฐ และกลุ่มทุน ขาดการวางแผน กำกับ ดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และการถือครองที่ดินแอบแฝงคนต่างด้าว เช่น การให้ตัวแทนถือครองที่ดิน และการเข้าแย่งยึดที่ดิน จากข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยนำไปสู่การสังเคราะห์และจัดทำร่างแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนา เพื่อมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนา จัดการที่ดินในฐานะทุน เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของมนุษย์ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ 3 ด้าน คือ (1) สร้างโอกาส และความเป็นธรรมในการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน (2) ยกระดับความสามารถในการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับศักยภาพที่ดิน และ(3) ปรับระบบการจัดการที่ดินรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานดังกล่าวประกอบมาตรการสำคัญ 6 มาตรการด้วยกัน คือ (1) การแก้ไขปรับปรุง เพิ่มเติมกฎหมาย (2) การใช้เครื่องมือทางภาษี (3) การกำกับ ติดตามและควบคุม (4) การพัฒนากลไกและจัดระบบ (5) การผลักดันการใช้ประโยชน์ทรัพยากร และ(6) การเตรียมรองรับการเปลี่ยนแปลงระดับพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้ร่างแผนงานดำเนินงานรองรับการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาสามารถนำไปสู่การผลักดันแก้ไขปัญหาได้อย่างรอบด้าน จึงได้วิเคราะห์และกำหนดเป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาการถือครอง และการบริหารจัดการที่ดินระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งแบ่งเป็นระยะละสามปีต่อเนื่องกันในเชิงนโยบายระดับประเทศ และในเชิงการจัดการระดับพื้นที่ โดยสรุปได้ดังนี้ ข้อเสนอในระยะสั้น ได้แก่ (1) สร้างเกณฑ์การจำแนกประเภทที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นมาตรฐาน (2) ยกระดับสมรรถนะของบุคลากรภาครัฐให้บริหารจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม และ(3) พัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพดูแลการถือครองที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อเสนอในระยะระยะกลาง ได้แก่ (1) เสริมสร้างชุมชน และองค์กรภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการที่ดิน (2) พัฒนากลไก และวิธีการจัดการความขัดแย้งเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินด้วยสันติวิธี และ(3) ยกระดับและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการที่ดินและใช้ประโยชน์ที่ดิน และข้อเสนอในระยะยาว ได้แก่ (1) จัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปที่ดิน และดำเนินการปฏิรูปการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งระบบ (2) จัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูปที่ดินให้เป็นเครื่องมือทางการเงินเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และ(3) ฟื้นฟูเมือง และรื้อประกอบสร้างเมืองใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งต้องได้รับการผลักดันจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป<br><br>This research, entitled Thailand’s Land Use Planning Guidelines to Serve AEC Integration, aimed to study and analyse the situation and social and economic policy, laws and regulations pertaining to land and land use of mainland ASEAN countries, which include labour demand in each focus group in the towns/cities and provinces located on the development belt of four regions (these towns/cities and provinces all have housing demands), in accordance with the Thai government’s area development policy. It also studied and analysed laws and the guidelines concerning the development of the areas, the boundary areas, and the connected areas (of the bordering ASEAN member countries) in relation to land use, land possession, the lack of efficiency in administering and managing open land and the concrete follow-up and inspection of the policy. It was also the objectives of this study to outline policy suggestions on land utilisation, design an operation plan to cope with changes in the possession right structures, moving to a new living area, settling down, and land This research was conducted using quantitative and qualitative methods as well as linear equation of time series to forecast the probable economic conditions and labour demand in the next three years. The prediction of the next five-year period was based on experts’ opinions. The analysis concerning the probable conditions of housing development in the area was the result of calculating the number of housing from the data of the three years which was the rate of changes in that period. The experts’ forecast by estimating the probable housing demand condition was also applied in this analysis. This was done in the same way as the analysis of economic condition and labour demand in the areas. The findings revealed that the economy in the target areas, consisting of the following provinces: Tak, Songkhla, Sakaew, Mukdaharn, Chiangrai, Kanchanaburi and Phitsanulok, had the tendency to expand and grow over the next three to five years, which would lead to the rise in labour demand and the demand in housing development in the area. These would be due to the following influential factors: increase in gross provincial products, trade value at the boundary, area development strategies, infrastructure development in the special economic zones, and development of communication routes and transportation systems which linked the areas. This led to the rise of land demand, and thus land price went up. Consequently, town/cities expanded in relation to the rapid economic growth. However, there was a lack of efficient land utilisation, administration and management and planning, as well as preparation to serve housing demands. Besides matters concerning opportunities, threats, strengths, and weaknesses concerning land possession, land utilisation, laws and regulations pertaining to land management, the standard of land possession in Thailand and other bordering countries and the cooperation between countries on land management were also analysed. It was found that Thailand’s land administration and management still lacked operational unity and that rights document systems were of many standards. In addition, most lands were in the possession of public sectors and capitalist groups, and there were lacks of planning and supervision on efficient land utilisation, hidden land possession of an alien by using somebody else’s title, and land grabbing. The findings of the study were then synthesised and an operation plan was designed to respond to the consequences of changes with the following development vision: Land management as capital - to promote economic drives and upgrade people’s quality of life and stability. The three key strategies were 1) providing opportunities and maintaining fairness in land possession and land use, 2) enhancing the ability of efficient land use in accordance with land potential, and 3) improving land management systems which respond to changes in sustainable land use. The measures in implementing the operation plans were listed as follows: 1) systemising fair standards of land possession practise, 2) developing mechanism and methods to maximise land use, 3) directing, monitoring and controlling, 4) developing mechanisms and systemising, 5) pushing land utilization, and 6) preparing to respond to changes in local areas. In order that the designed operation plan would achieve its goal by effectively solving the overall problems, an additional analysis was carried out and more suggestions for solving landholding and land administration and management problems were determined. These were outlined in three consecutive steps, each of which lasts three years. They were as follows: 1) Immediate Operation: 1.1 stipulating land categorisation and land utilisation; 1.2 upgrading the state officials’ capability to be able to efficiently administer and manage lands fairly; 1.3 developing the potential of local administrative organisation to be able to take care of land possession and land utilisation. 2) Second Operation Phase: 2.1 encouraging communities and private groups to cooperate in land administration; 2.2 developing mechanisms and methods for managing conflicts to peacefully solve problems relating to lands; 2.3 upgrading and developing the body of knowledge about land management and land utilisation. 3) Third Operation Phase: 3.1 preparing a land reform model scheme; then, reforming the whole system of land possession and land utilisation; 3.2 setting up funds for land reform to finance operations relating to lands; and 3.3 developing towns/cities and reconstructing a new town/city to increase the land utilisation. Additionally, these would need to be influenced by the government and the organisations concerned.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ