Description
ประเด็นปัญหาเรื่องอัตราลดความเสี่ยงและอัตราการซื้อคืนของที่อยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้าบ้านเอื้ออาทร และทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ ของทางการเคหะแห่งชาตินั้น มีความพยายามที่จะหาเครื่องมือ หรือระบบทางด้านการเงินหลากหลายรูปแบบเข้ามาช่วย หรือบรรเทาประเด็นปัญหาในข้างต้น ให้ลดน้อยลง และสร้างความยั่งยืนของทั้งผู้บริโภคและทางการเคหะแห่งชาติไปทั้งพร้อม ๆ กันดังนั้น แนวคิดจากนโยบายและแผนงานของรัฐต่อการให้กู้แก่ผู้มีรายได้น้อย เช่น การประกันเงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ จำนอง (Mortgage Insurance) ที่ต่างประเทศนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ที่จะลดความเสี่ยง และสร้างเสถียรภาพให้กับระบบการเงินในปัจจุบัน การเคหะแห่งชาติจึงเห็นควรให้มีการศึกษารูปแบบของการพัฒนาระบบการเงินในลักษณะนี้ ที่เรียกว่าระบบประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยมอบหมายให้คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งแบ่งการศึกษาข้อมูลเป็น 3 ช่วง คือ 1.ศึกษารูปแบบระบบประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ 2. สัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง และ 3 จัดทำรูปแบบจำลองระบบประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
ผลการวิจัยโดยสาระที่น่าสนใจมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ 1. รูปแบบที่ต่างประเทศนิยมใช้ส่วนใหญ่ มักจะเป็นการรองรับและลดความเสี่ยง ที่เน้นไปที่กลุ่มของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งกลุ่มที่สร้างครอบครัวใหม่ ซึ่งยังมีรายได้ไม่มากนัก โดยรูปแบบแต่ละประเทศ จะมีความแตกต่างกัน ไม่มีเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นแนวทางที่ชัดเจนมากนัก เนื่องมาจากบริบทและสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศแตกต่างกัน 2. ข้อมูลและความเห็นของการเคหะแห่งชาติ จะนำระบบทางการเงินนี้มาใช้นั้น จากภาพรวมส่วนใหญ่แล้ว ค่อนข้างเห็นด้วยกับการนำระบบการเงินนี้มาประยุกต์ใช้ แต่ก็ยังมีประเด็นปลีกย่อย ที่มีส่วน ในการนำมาสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรม อาทิเช่น การสนับสนุนของภาครัฐ อัตราเบี้ยประกันในแต่ละเดือน กลุ่มผู้บริโภคที่มีหลากหลายระดับความต้องการ และประเด็นสำคัญที่สุด ก็คือ การจัดตั้งในเชิงลักษณะของกองทุนประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่สามารถบริหารจัดการและตรวจสอบโดยชุมชน และ 3. จากประเด็นซึ่งแนะในข้อที่ 2 คณะผู้วิจัย จึงได้มีการจัดทำรูปแบบจำลองกองทุนประกันสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย ที่สามารถรองรับผู้บริโภคที่มีหลากหลายระดับความต้องการ โดยสามารถแบ่งเป็น 4 ระดับ โดยในแต่ละระดับ จะมีวิธีการบริหารจัดการและตรวจสอบที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ได้สรุปรูปแบบของการนำมาใช้งานในเชิงลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการต่อยอดในการนำมาใช้ และ ให้ตอบโจทย์ความต้องการตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยต่อไป
<br><br>Due to the issues of default risk and repurchase of houses under the Uer A-Dhon project and other properties of the National Housing, this public agency has initiated a variety of tools and/or financial instruments or systems to resolve or alleviate such issues and to create sustainability for consumers and its own entity. One of those tools, Housing Mortgage Insurance for low-income household, is under the study by the Faculty of Business Administration of Dhurakij Pundit University under the agreement between the National Housing and the faculty.
The study consists of 3 sections:
Section 1 Study on the Housing Mortgage Insurance of foreign countries
Section 2 Interview and Data Collection
Section 3 Model Development of the Housing Mortgage Insurance to be launched in Thailand
The study has found 3 main highlights. The first is the Housing Mortgage Insurance used in the foreign countries emphasizes the support and risk-reduction by subsidizing the low-income household and newly-married families with moderate income. Housing Mortgage Insurance varies in accordance with the context and nature of each country. The second is that the opinion from the interviewees supports the concept of the Housing Mortgage Insurance, however, some points must be emphasized, such as the government support, monthly premium, different demand of home buyers, and the most important\the Housing Mortgage Insurance Fund which should be transparent, and well-organized. The third is that the model of the Housing Mortgage Insurance developed by the researchers to serve different types of home buyers which are classified into 4 major groups. The software is also provided to run simulation for each scenario of such model and for further research
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
การเคหะแห่งชาติ
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read