Description
การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้สูงอายุ ของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และระบบการบริหารจัดการ ของเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ และเพื่อจัดทากลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้สูงอายุ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ศึกษาโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยแบ่งตาม เขตรับผิดชอบของสานักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ (การลงพื้นที่ศึกษาดูงานการบริหารจัดการองค์กรเครือข่ายด้านผู้สูงอายุและการสนทนากลุ่ม) ในที่นี้ได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาและจำนวนองค์กร ที่ได้มีการศึกษาดูงานและการสนทนากลุ่ม ได้มีการคำนวณสัดส่วนการเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ของสำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 52 องค์กร ส่วนการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณได้คัดเลือกพื้นที่จากการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random จากพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ เขต 1-12 จำนวนทั้งสิ้น 3,840 ตัวอย่าง
ผลจากการศึกษาพบว่า เครือข่ายผู้สูงอายุมีรูปแบบองค์กรที่มีการแบ่งตามโครงสร้างหน้าที่ เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยอาศัยภารกิจ/กิจกรรม และการก่อตัวของกลุ่มผลประโยชน์ในสังคม ซึ่งแบ่งเป็นเครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเครือข่ายดังกล่าว มุ่งเน้นการดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของหน่วยงาน หรือโครงสร้างหลักของกลุ่มผลประโยชน์นั้นๆ จากการวิเคราะห์เครือข่ายด้านผู้สูงอายุขององค์กร ทั้ง 4 รูปแบบ มีการบริหารจัดการเครือข่ายคล้ายกันใน 2 แนวทาง คือ การใช้กลไกการบริหารตามแนวดิ่ง และกลไกการบริหารแนวราบ ซึ่งในการวิเคราะห์การใช้กลไกการบริหาร พบว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จะเน้นที่กลไกการทำงานตามแนวดิ่ง คือ มีโครงสร้างการบริหารงานแบบลำดับชั้น โดยมีการปฏิบัติงานตามคำสั่ง และหน้าที่รับถ่ายทอดคำสั่ง ส่งผลให้การติดสินใจในการบริหารงานต่างๆ ต้องมาจากผู้ที่มีศักยภาพสูงกว่า ซึ่งเป็นลักษณะการบริหารงานภายในองค์กร แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงการประสานงานองค์กรระหว่างกระทรวงฯ กับหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกกระทรวง จะใช้กลไกการทำงานตามแนวราบ แต่ก็ไม่ได้มีประสานงานในลักษณะของกระบวนการทำงานเครือข่ายที่ชัดเจน มีเพียงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในลักษณะของการประสานข้อมูลโครงการและกิจกรรม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรเครือข่ายภายนอก พบว่า องค์กรภายนอกกระทรวง จะมีการทำงานที่เน้นกลไกการบริหารแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง กล่าวคือ ใช้รูปแบบการบริหารที่เน้นการประสานงาน การมอบงาน และความร่วมมือในแนวราบ เป็นหลัก อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างแกนนำขององค์กรเป็นจุดเชื่อมต่อ (Node) ของแต่ละเครือข่าย โดยการบริหารงานในรูปแบบนี้จะให้ความสำคัญกับแกนนำหรือผู้นำเครือข่าย
และภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนและการบริหารงานเครือข่าย ไม่เน้นการสั่งการหรือการบังคับบัญชาแบบลำดับชั้นเหมือนองค์กรภาครัฐ ซึ่งองค์กรที่เน้นการใช้กลไกแนวราบ เช่น องค์กรภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น โดยองค์กรเหล่านี้มักจะอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในทุกกระบวนการ จากผลการศึกษาทำให้เห็นได้ว่า การจัดทำกลยุทธ์ในการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้สูงอายุ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้นต้องอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนอีกหลายประการ ซึ่งกระทรวงฯ ยังไม่ได้มีการลงไปปฏิบัติงานร่วมกับภาคีภายนอกกระทรวงอย่างจริงจัง ทั้งนี้หากวิเคราะห์ถึงภารกิจของกระทรวงฯ ที่ต้องทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมากในพื้นที่แต่มีข้อจำกัดใน เรื่องของหน่วยงานระดับพื้นที่ การทำงานกับภาคีเครือข่ายย่อมเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้งานของกระทรวงฯสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาการดำเนินงานเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ สามารถนำเสนอแนวทางการทำงานและกลยุทธ์การทำงานด้านผู้สูงอายุ 3 ประเด็น คือ
หนึ่ง คือ การบริหารจัดการเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการในการส่งเสริมกระบวนการ มีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในด้านต่างๆ
สอง คือ การส่งเสริมและพัฒนาผู้นำองค์กรเครือข่ายด้านผู้สูงอายุให้มีศักยภาพในการทำงาน และมีพลังในการดึงภาคีเครือข่ายเข้ามาทำงานร่วมกันโดยการมีส่วนร่วมจากผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการ ในการคัดสรรผู้นำองค์กร การพัฒนาศักยภาพของผู้นำ
สาม คือ การจัดทำยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการ ในการทำงานร่วมกันเพื่อวางแผนและปฏิบัติงานร่วมกันในหลาย ๆ ด้านระหว่างกระทรวงและภาคีเครือข่าย
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ประกอบด้วยข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ การสนับสนุนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต่อภาคีเครือข่ายในในหลายๆ ด้าน เพื่อส่งเสริมกลไกการพัฒนาระบบ การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การสนับสนุนด้านงบประมาณ องค์ความรู้ และการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ รวมไปถึงการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อให้โครงการ กิจกรรมที่ดำเนินงานกับผู้สูงอายุเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และหนุนเสริมการดำเนินงานซึ่งกันและกัน เพื่อลดระยะเวลาในการดำเนินงาน และมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ควรมีการจัดทำยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือเครือข่ายผู้สูงอายุในระดับเทศอย่างชัดเจน และควรมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลของผู้สูงอายุ อย่างเป็นระบบ เพื่อนำข้อมูลของผู้สูงอายุ มาช่วยกำหนดแนวทางการพัฒนางานต่อไป
<br><br> The objectives of Strategies for Elderly Network Strengthen of Ministry of Social Development and Human Security are to study style and system of elderly network management and to provide strategies aiming to strengthen elderly network of Ministry of Social Development and Human Security
This research applies mixed method both quantitative and qualitative methodology in responsible area of the Technical and Promotion Support Office 1-12. The qualitative data which is purposive sampling derives from field visits and focus groups composing 52 agencies. Whereas, the quantitative data which is simple random is chosen of 3,840 samplings in responsible area of the Technical and Promotion Support Office 1-12
The study result of Strategies for Elderly Network Strengthen of Ministry of Social Development and Human Security has been found that style of elderly network is divided by mission, activities and social groups. Elderly network composes of 4 groups; government, people, private and non-government. All above 4 groups proceed their duties according to principle, objectives and structure. The similar of proceeding styles of 4 groups are applied both vertical and horizontal management. The vertical management is implemented by Ministry of Social Development and Human Security that hierarchy system is applied for structural management. The decision making depends on higher competency person of the group. In terms of collaboration to other agencies, horizontal management is selected; for example, demanding data and activities matters. When taking account into communication between Ministry of Social Development and Human Security and agencies (inside and outside), it is found that cooperation and mission assignment are slightly horizontal management style through node leaders’ relation. This cooperation focuses on leader network to move forward. Moreover, People and NGO groups are subjected to apply the horizontal management style by using participation in every process.
There are various factors affecting to strategies for elderly network strengthen of Ministry of Social Development and Human Security, the cooperation between the Ministry and outside elderly network do not seriously proceed though. There are many target groups and agencies in area or province. Guidelines and strategies of elderly working are revealed in three criterion;
Firstly : Elderly network management applies participation support to other networks.
Secondly : Not only support and development for leaders’ elderly network are needed but also leader selection and development are really crucial to drive the elderly network.
Thirdly : Strategies gather and elderly network cooperation need operation plan among inside and outside elderly networks.
Three policy recommendations are disclosed in this research. First, the support of Ministry of Social Development and Human Security for elderly networks on budget, knowledge operation system and mission should seriously be implemented in order that projects and activities on elderly are consistently proceeded. Second, strategies and cooperation of elderly network should be distinctly promoted in national issue. Third, elderly data based should be clearly created and linked targeting to development plan.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read