Notifications

You are here

อีบุ๊ค

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม

TNRR

Description
การศึกษาเรื่อง เด็กที่ไม่ใครต้องการกับความไม่เป็นในธรรมสังคมนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่า หนึ่ง ปัญหาเด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้น เกิดขึ้นตลอดทุกขั้นตอนของชีวิตเด็ก หรือ ตั้งแต่ เด็กปฏิสนธิ รู้ว่าเด็กอยู่ในครรภ์จนคลอด และเด็กเติบโต สอง การกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้น ไม่เป็นธรรมกับเด็กอย่างที่สุด เด็กเหล่านี้เป็นเหยื่อของความไม่เป็นธรรมในสังคม มากกว่าการนเด็กอีกคนหนึ่งที่ต้องการความสงสาร หรือ การสงเคราะห์จากรัฐ หรือ สังคม หรือ เป็นภาระที่เป็นการลงโทษเด็กซ้ำสาม ความไม่เป็นธรรมที่กระทำกับเด็กนั้นมาจากพ่อแม่ หรือ คนที่รักเด็กมากที่สุด พอ ๆ กับความไม่เป็นธรรมในสังคมที่สืบเนื่องจากระบบชายเป็นใหญ่และระบบทุนนิยม ซึ่งกระทำกับครอบครัวของเด็ก โดยที่สังคมไม่ตระหนักรู้ว่า นโยบายของรัฐ หรือสังคมนั้น โหดร้ายกับเด็กมากที่สุด สี่ ผลการศึกษานี้ จะเป็นข้อเสนอแนะให้รัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เห็นถึงมิติของปัญหาในเชิงความไม่เป็นธรรมในสังคมของปัญหา และของสาเหตุของปัญหา เพื่อพิจารณาปรับนโยบายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งเนื้อหาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อแสดงถึงประเด็นปัญหาและสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับ หนึ่ง แม่ที่มีลูกและทอดทิ้งลูกจำนวน 50 คนและ สอง เด็กหรือลูกที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งจำนวน 70 คน ผลการศึกษาพบว่า หนึ่ง การศึกษาประสบการณ์ของแม่ที่ไม่ต้องการลูกพบว่า การไม่ต้องการลูกของพ่อและแม่ หรือการที่ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการนี้ เกิดขึ้นในทุกช่วงชีวิตของเด็ก ตั้งแต่ขั้นตอนการมีเพศสัมพันธ์ของพ่อแม่เด็ก ซึ่งเป็นเพศสัมพันธ์ที่เป็นแบบไม่ต้องการลูกแต่กลับได้ลูก ซึ่งเป็นการไม่ต้องการลูกตั้งแต่ต้น จึงแตกต่างอย่างมากกับพ่อแม่ที่มีเพศสัมพันธ์แบบต้องการลูก ในขั้นตอนการทราบว่าตั้งครรภ์ พ่อและหรือแม่ ก็มีตวามต้องการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความไม่ต้องการเด็กอย่างสูงสุด เนื่องจากขั้นตอนนี้ พ่อของเด็กมักปฏิเสธลูกของตนเมื่อทราบว่าแฟนของตนตั้งท้อง ส่วนในขั้นตอนการดูแลครรภ์ ก็ไม่มีการดูแลภรรยาขณะท้อง และการทอดทิ้งภรรยาให้คลอดลูกเองคนเดียว เมื่อถึงขั้นตอนการเลี้ยงดูลูก พ่อและหรือแม่ก็ไม่รับผิดชอบเลี้ยงลูกเท่าที่ควร จนลูกบางคนบอกว่า ไม่เคยเห็นหน้าพ่อหรือแม่ของตนเองเลยตั้งแต่เกิด ลูกถูกเลี้ยงดูโดยบุคคลอื่น ได้แก่ การทิ้งลูกไว้กับ ปู่ ย่า ตา ยายเลี้ยงที่บ้าน และตนเองไปทำงานในเมือง แต่ไม่ส่งเสียหรือกลับมาเยี่ยมลูกหรือส่งเสียบ้างแต่ไม่สม่ำเสมอ ตลอดจนขั้นตอนการหย่าร้าง และการแต่งงานใหม่ของพ่อแม่ ซึ่งเป็นการไม่ต้องการลูกขั้นสูงสุดอีกครั้งความไม่ต้องการลูกทั้งหมดนี้ เป็นความไม่เป็นธรรมกับเด็กที่ถูกทำให้เกิดมาเป็นเด็กที่อ่อนแอ และเป็นเด็กที่ต้องการความรักมากที่สุด สอง การไม่ต้องการเด็กโดยเฉพาะของพ่อนั้น มีสาเหตุจากระบบชายเป็นใหญ่ จากประสบการณ์ของแม่ที่มีลูกไม่ต้องการนั้น พบว่า เพศสัมพันธ์ของระบบชายเป็นใหญ่ เป็นเพศสัมพันธ์ที่ผู้ชายสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ไม่จำกัด ผู้ชายซึ่งรวมทั้งพ่อแม่ปู่ย่าตายายของเด็ก ไม่ต้องการรับผิดชอบกับการตั้งครรภ์ หรือ ชีวิตเด็กที่เกิดขึ้นมาโดยการสั่งให้ทำแท้ง ผู้ชายสามารถทิ้งลูกและเมีย ไปมีเมียใหม่และมีลูกคนใหม่ได้ ผู้ชายสามารถผลักภาระการส่งเสียการเลี้ยงดูลูกของตนเอง ให้กับแม่ของเด็ก หรือ คนอื่นได้ในทำนองเดียวกัน จากประสบการณ์ของลูกที่ไม่เป็นที่ต้องการนั้น ก็พบว่าตนเองที่ถูกพ่อแม่ โดยเฉพาะพ่อทอดทิ้งตั้งแต่แรกเกิด ไม่เคยเห็นหน้า พ่อแม่โดยเฉพาะพ่อบางคน ไม่รับผิดชอบลูก ไม่กลับมาหรือกลับมาน้อยครั้งมาก และไม่ส่งเงินให้ และให้ปู่ย่าตายาย หรือ ญาติที่ยากจน สูงอายุ ช่วยเลี้ยงดูเด็ก โดยไม่ได้รับเงินที่พอเพียงจากพ่อแม่ ทำให้พวกเขาก็ไม่อาจเลี้ยงดูเด็กอย่างมีคุณภาพ และที่รุนแรงที่สุด คือ การไม่ต้องการเด็กหรือผลักใสให้เด็กออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ทำมากินด้วยตนเอง ไปอยู่สถานบริการต่าง ๆ ของรัฐ อีกนัยหนึ่ง คือ ระบบชายเป็นใหญ่ไม่สนใจความทุกข์ของเด็ก เป็นระบบที่สร้างปัญหา คือ การทำให้เด็กเกิดและไม่สนใจที่จะแก้ปัญหา คือ เพิกเฉยกับเด็กที่ระบบทำให้เกิดขึ้นมา นอกจากนี้ ระบบชายเป็นใหญ่ที่ทำงานในระดับของปู่ย่าตายาย ได้สร้างมายาคติต่าง ๆ และอคติต่อลูกเขยและลูกสะใภ้ก็มีส่วนสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อการไม่ต้องการเด็ก กล่าวคือ พ่อแม่ของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย มักเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการท้อง การทำแท้ง การเลือกลูกเขยและลูกสะใภ้ เช่น มีความเห็นว่า อายุมากเกินไปกลัวจะมาหลอกลูกสาว อายุน้อยเกินไปจะเลี้ยงลูกสาวตนเองอย่างไร ท้องก่อนแต่งหรือท้องระหว่างวัยเรียนซึ่งขัดกับค่านิยมชายเป็นใหญ่ทำให้ว่าที่พ่อตาแม่ยายอาย และฐานะที่ยากจนกว่าทำให้ไม่ยอมรับลูกเขยหรือลูกสะใภ้ อย่างไรก็ตามเมื่อลูกสาว ลูกชาย ลูกเขย ลูกสะใภ้ มาอยู่ด้วยกันแล้ว พฤติกรรมบางอย่างของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่ต่างจากค่านิยมของคนรุ่นเก่า ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน เช่น ความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายครอบครัว ความรับผิดชอบในงานบ้าน และการเสพสิ่งเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ ก็ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแตกร้าวขึ้นมาและส่งผลทำให้เด็กกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ สาม ระบบทุนนิยมเป็นอีกระบบหนึ่ง ที่บังคับให้พ่อแม่ซึ่งยังมีความรัก ความต้องการลูก ให้ไม่ต้องการลูก หรือต้องทอดทิ้งลูกไปทำงาน ระบบทุนนิยมโลก ได้เปลี่ยน หรือ ทำลายระบบเศรษฐกิจในชนบท ที่พึ่งตัวเองได้ ให้พึ่งพาตัวเองไม่ได้ และทำให้ชาวนาชาวไร่หรือพ่อแม่ของเด็ก ต้องพึ่งพารายได้จากระบบทุนนิยมด้วยการให้ผลิต พืชเงินสด และบริโภคโดยใช้เงินสด ทำให้พ่อแม่ต้องเป็นทาสเงินสด และเมื่อไม่มีเงินสดก็จำเป็นที่จะต้องทิ้งลูกไปทำงานให้กับระบบทุนนิยมในเมือง เพื่อได้เงินอันเล็กน้อยมาเลี้ยงลูก อีกนัยหนึ่ง พ่อแม่ถูกระบบทุนนิยมโลกบังคับให้ทิ้งลูกไปทำงาน หรือ ระบบทุนนิยมโลกเป็นระบบที่ไม่ต้องการเด็ก เพราะว่าเด็กเป็นภาระเป็นค่าใช้จ่ายของการผลิต ที่ระบบทุนนิยมต้องลดเพื่อสร้างกำไร เนื่องจากการทำงานในเมืองนี้ ได้เงินน้อย และทำงานหนักที่ชาวนาทั่วไปไม่อยากทำแต่ระบบทุนนิยมก็ใช้ลูกของพ่อแม่ที่ไม่ต้องการลูกนี้เป็นตัวประกัน บังคับให้พ่อแม่ต้องทนทำงานหนัก รายได้น้อยด้วยความคิดว่าเป็นการทำเพื่อลูก ทั้งที่การทิ้งลูกเป็นการทำร้ายลูก สังคมแบบทุนนิยมนี้ ยังขูดรีดกับพ่อแม่ของเด็กเพิ่มขึ้นอีก โดยการบังคับให้พ่อแม่ของเด็ก เลี้ยงเด็กซึ่งเมื่อโตขึ้นจะเป็นแรงงานให้กับระบบทุนนิยมต่อไป ซึ่งเป็นประโยชน์กับระบบทุนนิยม หากพ่อแม่เลี้ยงดูเด็กไม่ได้ ระบบสังคมที่ถูกครอบงำโดยระบบทุนนิยมนี้ ก็ไม่สนใจปล่อยให้เด็กเอาชีวิตรอดช่วยตัวเอง หรือไม่ก็ปล่อยให้กับระบบครอบครัว วัด หรือ องค์กรสาธารณะ ที่สงสารเด็กเข้ามารับภาระแทน การที่ระบบทุนนิยมโหดร้ายกับเด็กเช่นนี้ได้ เพราะระบบทุนนิยมนี้ ต้องการแค่กำลังแรงงานแบบแรงงานไร้ทักษะ ที่ทำงานให้ได้จำนวนมาก เช่นเดียวกับความต้องการแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีทักษะเท่านั้น ระบบนี้ไม่ต้องการเด็กที่มีคุณภาพ เนื่องเพราะระบบนี้มีแรงงานซึ่งได้สร้างแรงงานที่มีคุณภาพสูงแล้วจากครอบครัวชนชั้นกลางและชนชั้นสูง อีกนัยหนึ่งระบบทุนนิยมโลกจึงสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเด็ก สี่ ระบบทุนนิยมโลกยังทำงานร่วมกับระบบชายเป็นใหญ่ สร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเด็กที่ไม่เป็นที่ต้องการนี้อีกด้วย คือ ระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ ได้สร้างมายาคติเกี่ยวกับคุณค่าของลูกแบบผิด ๆ ไว้รองรับการตัดสินใจไม่เลี้ยงลูกเองขึ้นมา มายาคตินี้ทำให้ทั้งพ่อแม่ไม่รู้สึกผิดที่ทิ้งลูก มายาคติเหล่านี้เช่น ความคิดว่าเงินสำคัญกว่าลูก การเลี้ยงลูกต้องใช้เงิน ความมั่นคงของชีวิตมาก่อนการเลี้ยงลูก ลูกสองขวบโตแล้ว การไม่คิดอยู่เลี้ยงลูกจนลูกโต ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายนั้นดีที่สุดแล้ว เด็กเติบโตในต่างจังหวัดดีกับเด็กมากกว่า และความสบายที่ไม่ต้องเลี้ยงลูกเอง เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ชายในระบบชายเป็นใหญ่เมื่อเข้ามาทำงานในเมือง ได้รับรายได้เป็นเงินสดจากค่าแรง ที่น้อยแต่ต้องทำงานหนัก ก็จะนำเงินสดเหล่านี้ไปใช้ในการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ยาเสพติด เล่นการพนัน และการมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่กลายเป็นสินค้า ทำกำไรให้กับระบบทุนนิยมไปแล้วทั้งสิ้น การกระทำนี้ มีผลทำให้ครอบครัวของสามีภรรยาในเมืองล่มสลาย และส่งผลต่อลูกที่อยู่กับปู่ย่าตายายด้วย คือ ทำให้สามีและภรรยาแยกทางกัน ลูกไม่ได้รับเงินทองส่งเสียที่เพียงพอ และลูกถูกทอดทิ้ง เมื่อทั้งพ่อและแม่ต่างแต่งงานใหม่และมีลูกใหม่ ดังนั้นความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้าง คือ ระบบทุนนิยมโลกและชายเป็นใหญ่ได้สร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเด็ก โดยบังคับให้พ่อแม่ไม่ต้องการ หรือ ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ หรืออีกนัยหนึ่งพ่อแม่เองก็เป็นเหยื่อของระบบทั้งสองนี้มากพอ ๆ กับลูกที่เป็นเหยื่อ <br><br>The principal objectives of this study of the unwanted children and inequity are to demonstrate how that the process of being unwanted starting from conception to maturity. Then, the next objective is to influence the perception of the unwanted children as the victim of inequity, which is in need of the rebuilding of their rights rather than therapy or welfare. The following object is the rejection from their parent’s, as well as patriarchy and capitalist society. Last, to recommend the Ministry of Social Development and Social Security revise their notion and policy, that is related to inequity of unwanted children. To illustrate the earlier objectives, this study has utilized the qualitative study to indepth interview fifty mothers who have left their children and seventy unwanted children. According to the mothers with the experienced of leaving children, it is found that the being unwanted has happened in every process: sexuality that is not intended to have children, unwanted pregnancy, father’s rejection of not his children, pregnancy with attempted abortion, pre-natal care, delivery and post-natal care without father, being left to grandparent responsibility, and divorce, remarriage and having brothers or sisters of step parents. It is an injustice for the children whose time need parent most. Second, according to the experiences of the mothers, it is found that patriarchy is closely related to the children un-wanting. Patriarchy allows men to have unlimited sex or sex partners; they are allowed not to take responsibility of the pregnancies, they and decision to do abortion are closely related. They can easily push their children custody to other people especially grandparents. They can have new wives even before their sons were born. They have left their children for work that having no or less money back home to their children. Lastly, they can have new wives and new children and ignore the unwanted ones. Also, the patriarchy has also worked through grandparents. Both sides of patriarchal grandparents have provided the negative meaning of pregnancy, pushing for abortion, rejecting daughters or sons in law based on prejudice criteria such as age that too young or too old, pregnancy and schooling, pregnancy and marriage, socioeconomic status, different social values, and lifestyles. Consequently, fathers refused their wives and certainly their children. Third, capitalist society has forced parents to leave their children for work in town. The capitalist system has changed self-sufficiently economy in the rural area to market dependency where parents have to leave their sons to town to earn the little cash. The capitalist system does not willing to pay child care for their parents. Although the wage is small and not enough for child care, the working parents have to work. The capitalist system makes them believe that they have to do it for their children. It blinds them from the belief that it should be the capitalist system to pay for child care because the children are the benefit or the future workers of the capitalist system. The system ignores the unwanted children because it needs only unskilled labor. It externalizes the cost of child care of unwanted children to society. In other words, the global capitalist system is brutality to children. Fourth, the interaction of patriarchy and capitalist system has doubled inequity to the unwanted children by mixing patriarchy and capitalist myths to legitimizes their children leaving such as money and security. They are more important than children, growing in rural area with grandparent, which is better than in town. A two years old child is old enough to leave them or never consider about taking care children until they grow up. Also, the interaction of patriarchy and capitalist ideology on alcohol drinking, cigarette smoking, extra-marital sex, gambling, drug and spending times with male colleagues have drained out time and money from their family and consequently the marriage lives have dissolved, and none can take care of children except grandparents. In other words, both parents and children are the victims of the patriarchy and capitalist system.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ