Notifications

You are here

อีบุ๊ค

แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมให้กับประชากรแ...

TNRR

Description
บทคัดย่อชื่อเรื่อง : แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับประชากรแฝงในจังหวัดชลบุรีผู้วิจัย : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3ปี พ.ศ. : 2559 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและความต้องการด้านสวัสดิการสังคมของประชากรแฝงในพื้นที่ และแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มประชากรแฝงในพื้นที่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความต้องการบริการของประชากรแฝงต่อการให้บริการของภาคส่วนในด้านความมั่นคง บริการสวัสดิการด้านสุขภาพระดับมาก ความต้องการบริการสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมระดับปานกลาง ด้านการศึกษาความต้องการบริการด้านการศึกษาและการเรียนรู้ระดับมาก ความต้องการบริการข้อมูลข่าวสารระดับมาก ด้านเศรษฐกิจ ความต้องการบริการทางด้านรายได้และการออมระดับมาก และด้านสังคมความต้องการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคมระดับมากความต้องการบริการทางสังคม ระดับมาก แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับประชากรแฝงในพื้นที่ ประกอบด้วย ประชากรแฝงอยู่เกิน 5 ปี ควรย้ายภูมิลำเนาเข้ามาในพื้นที่ ปรับระเบียบกฎหมายให้เปิดกว้างในเรื่องบริการ การปรับอำนาจให้ท้องถิ่นสามารถทำได้ หน่วยงานทุกภาคส่วนส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้นในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงเพื่อลดจำนวนประชากรแฝงเนื่องจากเข้ามาอาศัยเพื่อหางาน การแก้ไขการกระจายงบประมาณภาครัฐสู่พื้นที่ให้ตรงกับประชากรที่อาศัยอยู่จริงในจังหวัด ข้อเสนอแนะ ท้องถิ่นจัดสำรวจประชากรแฝงในเขตพื้นที่เป็นฐานข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ ในระบบสมาร์ทการ์ด มีช่องทางการสื่อสารให้ประชากรแฝงทราบ ใช้สิทธิของตน มีเครือข่ายสหวิชาชีพ/สหวิชาการ การเชื่อมประสานภาคธุรกิจช่วยสนับสนุนในเรื่องการจัดสวัสดิการ<br><br>ABSTRACTTitle: The Appropriate Model of Social Welfare for The Non-registered Population in Chonburi Province .Researcher : The Technical Promotion and Support Office, Region 3Year : 2016 The objectives of this research were to study welfare situation, problems and needs of the non-registered population in the local areas, and to suggest guidelines for managing welfare suitable for the non-registered population. It was a mixed-method research approach. The study results revealed that the sample population needed security and health welfare services at the high level. They also needed residential and environmental welfare at the middle level, the educational and learning welfare at the high level, informational service at the high level, the economic income and saving services at the high level, and social and participatory aspects at the high level, and social service at the high level. Guidelines for managing social welfare appropriate for the non-registered population in the local areas were developed. The non-registered populations were those who moved into the area and had lived in for over five years. The guidelines also suggested for adjusting the law and regulations to allow local authorities to manage this issue. All sectors should create short-termed occupations in the local areas in order to minimize the number of their people to move for job seeking in other areas. Improving the budget distribution to the provincial population was also needed. It was suggested that the local authorities should conduct a survey to identify the non-registered population in their areas for updating database. The effective management needed smart card system, a channel for communication to inform population about their rights, multidisciplinary and interdisciplinary networks, and connecting with business sectors in welfare management.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ