Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาการจัดทำบ้านประกอบสำเร็จ (บ้าน Knock D...

TNRR

Description
การเคหะแห่งชาติจึงได้มอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาวิจัย “โครงการศึกษาการจัดทำบ้านประกอบสำเร็จ (Knock Down) เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน” ซึ่งครอบคลุมการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทั้งทางด้านเทคนิค การเงิน และด้านสังคม รวมทั้ง ความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับภาคเอกชน จนถึงการออกแบบจัดทำแบบบ้าน และประเมินราคา จำนวน 12 แบบบ้าน สำหรับ 4 ภูมิภาคของประเทศ โดยแบบบ้านทั้งหมดนี้จะคำนึงถึงลักษณะเฉพาะทางด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ความเชื่อ และลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่จะต้องสอดคล้องกับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีราคาประหยัด ก่อสร้างง่าย มีความน่าอยู่น่าสบาย ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ เพื่อให้การออกแบบบ้านมีความสอดคล้องกับบริบททางด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ และวัฒนธรรมตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลลักษณะสภาพภูมิอากาศ 4 ภูมิภาคของประเทศไทย โดยศึกษาข้อมูลลักษณะอากาศจาก 4 จังหวัดตัวแทน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุบลราชธานี และสงขลา และพบว่าลักษณะอากาศของภาคใต้เป็นลักษณะอากาศเฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ อย่างชัดเจนในเรื่องของความชื้น และปริมาณน้ำฝน ในขณะที่ภาคเหนือจะมีลักษณะอากาศหนาวเย็นมากกว่าภาคอื่นๆ เป็นพิเศษ ผลการวิเคราะห์สภาพอากาศดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบบ้านให้มีการป้องกันแดด ลม ฝน และเพิ่มการระบายอากาศธรรมชาติเพื่อสร้างความน่าสบายต่อไป นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาลักษณะเด่น และอัตลักษณ์การออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจากภาคต่างๆ มาประกอบเป็นแนวทางการออกแบบบ้าน โดยทำการศึกษาเอกสารข้อมูล ตำรา งานวิจัยต่างๆ รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นจากกรมศิลปากร เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของบ้านพื้นถิ่น ทางด้านการจัดวางพื้นที่ใช้สอย วัสดุการก่อสร้าง สัดส่วนรูปทรงหลังคา รวมทั้งการตกแต่งประดับประดาต่างๆ จากผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ได้กล่าวมา คณะผู้วิจัยได้นำมาสรุปเป็นแนวทางการออกแบบบ้านจำนวน 12 แบบ สำหรับ 4 ภูมิภาค โดยแต่ละภาคจะมีแบบบ้านชั้นเดียว แบบบ้านชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง และแบบบ้าน 2 ชั้น โดยมีพื้นที่บ้านประมาณ 36 – 72 ตารางเมตร การออกแบบบ้านได้คำนึงถึงเรื่องการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) การป้องกันความร้อน การบังแดด การระบายอากาศธรรมชาติ แสงสว่างธรรมชาติ การประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคณะผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจำลองการระบายอากาศ ระดับแสงสว่างธรรมชาติ การใช้พลังงาน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เข้ามาประกอบการออกแบบจนได้แบบบ้านที่ช่วยให้เกิดความน่าสบาย ประหยัดพลังงาน และเป็นบ้านคาร์บอนต่ำได้ หลังจากคณะผู้วิจัยได้ทำการออกแบบร่างแล้วเสร็จ ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในวงการออกแบบก่อสร้างบ้านจำนวน 50 คน ซึ่งได้แก่ สถาปนิก วิศวกร นักวิชาการ ผู้ก่อสร้าง ผู้ผลิตวัสดุ รวมทั้งตัวแทนบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ทำธุรกิจบ้านจัดสรรในท้องตลาด เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบบ้าน ความเป็นมาของแนวคิดในการออกแบบ รวมทั้งความเป็นไปได้ของโครงการที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต ซึ่งข้อคิดเห็นต่างๆ จากที่ประชุมได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาแบบร่างและจัดทำแบบรายละเอียดต่อไป ซึ่งในขั้นสุดท้าย คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบก่อสร้างบ้านทั้ง 12 แบบ ด้วยระบบ BIM (Building Information Modeling) พร้อมกับจัดทำเอกสารรายการประกอบแบบ (Specification) รายการคำนวณราคาและวัสดุ (Bill of Quantity) โมเดลบ้านทั้ง 12 แบบ ภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับโครงการ รวมทั้งจัดทำคู่มือการประกอบบ้านเพื่อนำเสนอต่อการเคหะแห่งชาติ และนำแสดงในที่ประชุมสัมมนาแถลงผลการดำเนินการในขั้นสุดท้าย<br><br>NHA appointed Chulalongkorn University to conduct a research on the design and construction of knock-down home. The scopes of work include feasibility studies of techniques, finance, social, and also possibility of partnership with private organizations. The works also cover building designs and preparations of construction document for 12 houses to be built in 4 regions of Thailand. The designs must be concerned with different geological, climatic, social characteristics, and vernacular architectures of those four regions. Current living standard, low cost, simple construction & installation, comfort, energy saving, low-carbon emission, and environmental friendliness are also integrated as the main design criteria of the houses. In order to design the houses that respond well with all the contexts of physical environment and regional culture. Researchers selected 4 provinces as representatives for different climatic conditions. Those are Bangkok, Chiangmai, Ubonratchathani, and Songkla. It was found that from other regions of Thailand, Songkla or southern part of Thailand has a specific climate. It is apparent that the South has more rainfall and humidity whereas the North is cooler than others. This climate analysis is used to set a criteria for designing the houses in terms of rain protection, shading, natural ventilation, thermal comfort, and daylight utilization. In addition, vernacular architectural identities of the four regions was studied in depth. That includes reviews of literature, studies, research, books, and interview with vernacular architecture expert from government agency (i.e., Department of Fine Art). Data on architectural elements, space planning, local materials, and decorations were gathered for use in the designs. From data gathering and analysis, researchers came across the designs of 12 houses for 4 regions. Each region has 3 types of houses; one-story house, two-story house, and one-story house with elevated ground floor. The total construction areas are estimated at about 36 – 72 sq.m. Universal design elements are integrated in the design. Heat protection, sun shading, natural ventilation, natural light, energy conservation, and carbon emission were studied by using computer simulations throughout the design process in order to insure that the houses are comfortable, energy saving, and low-carbon. After finishing with preliminary design of the houses, researchers held a focus group meeting between 50 experts in housing industry, including architects, engineers, contractors, materials manufacturers and suppliers, academia, and housing developers in Thai market. The objective is to gather idea and comment about the preliminary design of the houses. Background and possibility of project to be continued in the future was introduced to the group along with how the designs were concluded so far. Interesting feedbacks regarding space planning, market demand, expected cost and time of construction, and possible public-private partnership (PPP) method were discussed in the meeting. In the end, researchers brought all the comments to develop final designs of the 12 houses using BIM (Building Information Modeling) technology. Construction specification and bill of quantity (BOQ) documents including physical models, installation manuals, and project introduction VDO was to be made for the final seminar

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ