Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การผูกทุนวัฒนธรรมแบบข้ามพื้นที่ในการส่งเสริมความมั...

TNRR

Description
บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การผูกทุนวัฒนธรรมแบบข้ามพื้นที่ในการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ อูรักลาโว้ย: กรณีศึกษาภูเก็ต ผู้วิจัย : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ปี พ.ศ. : 2559 การวิจัยเรื่องการผูกทุนวัฒนธรรมแบบข้ามพื้นที่ในการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย: กรณีศึกษาภูเก็ต 1) เพื่อศึกษาทุนทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย 2) เพื่อศึกษาการเชื่อมโยงทุนทางสังคมของกลุ่มของกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ยย่อยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมในการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ยพื้นที่จังหวัดภูเก็ต การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และได้ปรับประยุกต์การวิจัยหรือเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) วิธีวิทยาการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Method and Technique) และการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา (Anthropology Ethnography Methodology) ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานการวิจัย เอกสารวิชาการ การประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์รายบุคคล การลงพื้นที่สังเกตกิจกรรมแบบไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย ประกอบด้วย ชุมชนบ้านสะปำ ชุมชนหาดราไวย์ และ ชุมชนแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สรุปผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ยเป็นชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน มีความกลมกลืน และผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมแบบไทยได้อย่างหมดจดลงตัว ผ่านการแต่งกาย การใช้ภาษา การดำเนินชีวิต วัฒนธรรมด้านภา ประเพณี ความเชื่อ ถูกถ่ายทอดให้สังคมภายนอกได้รู้จัก ได้แก่ ภาษา ประเพณี ความเชื่อ เช่น ประเพณีลอยเรือ อาบน้ำมนต์ การเกิด การรักษาอาการเจ็บป่วย การตาย การรำและขับร้องรองเง็ง เป็นต้น ทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ยเป็นทุนที่อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเครือญาติที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกันทั้งสามพื้นที่ คือ พื้นที่สะปำ พื้นที่ราไวย์ และพื้นที่สิเหร่ กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ยเป็นคนที่ยังต้องการการพัฒนา ไมได้ต้องการความช่วยเหลือ หากแต่ต้องการการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานภายนอก ข้อค้นพบจากงานวิจัย คือ กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ยมีเกียรติ เป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในสังคมที่ได้รับนามสกุลพระราชทาน จุดแข็งคือ กลุ่มชาติพันธุ์นี้มีความเป็นเครือญาติ มีการไปมาหาสู่ ติดต่อ สัมพันธ์ พูดคุยและมีการแต่งงานไปอยู่กันในชุมชน การจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมในการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย พื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีเป้าหมายเพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นว่าทุนทางสังคมที่ปรากฏและดำรงอยู่ได้ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมภายนอก ในแง่ของการพัฒนาและการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ยังขาดการเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาชุมชนและการพัฒนาชุมชนในด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ในวิถีชีวิต เช่น การศึกษา สุขภาพอนามัย เศรษฐกิจครัวเรือน และต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ให้เห็นเป้าหมายร่วมกันต่อการพัฒนาชุมชนร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับหน่วยงานภายนอก ระหว่างหน่วยงานภายนอกด้วยกัน เพื่อชี้ให้เห็นทิศทางและเป้าหมายต่อการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้เพื่อการแก้ไขปัญหา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนและความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ยควรมุ่งส่งเสริมให้เกิดกระบวนการ การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง โดยให้ชุมชนเป็นผู้คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจและวางแผนการพัฒนา และดำเนินการด้วยตนเอง ขณะที่หน่วยงานภายนอกควรทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและกัลยาณมิตรที่เสริมสร้างความรู้ด้านการพัฒนาอย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม <br><br>Abstract Research Title : Cultural capital bonding on crossing-area for promoting the social security of Urak Lawoi : a study case from Phuket province Researcher : Technical Promotion and Support Office 11, Ministry of Social Development and Human Security Year : 2016 The research titled as Cultural capital bonding on crossing-area for promoting the social security of Urak Lawoi : a study case from Phuket province had objectives to 1) study the social capital of Urak Lawoi, 2) study the relation of social capital of ethnic group of Urak Lawoi in Phuket province area, and 3) study the guideline how to apply the social capital for promoting the social security of Urak Lawoi in Phuket province. This research was a survey research but had been adjusted to applied research. The researcher used qualitative method and technique and anthropology ethnography methodology to study and collect data information from documents, research reports, academic documents, focus group meetings, individual interviews, visiting study areas of Urak Lawoi for observation with non participation in Ban Sapam community, Rawai beach community, Laem Tookgae community, Siray island in Muang District, Phuket Province. The study result found that Urak Lawoi was an ethnicity who live in Thailand for long time. They harmonious blended into Thai culture completely well through marriage, language usage, way of living, cultural tradition and beliefs that were propagated to outside society which were language, tradition, beliefs such as floating boat festival, bath the holy water, birth, healing, death, dancing and singing "Rhong Ngang". The cultural capital of Urak Lawoi was capital that based on the family relationship network connecting in three areas of Sapam, Rawai, and Sirey. Urak Lawoi was an ethnicity that would like the development but they did not want help. They rather would like to coordinate with outside agency instead. The result found from the study showed that Urak Lawoi had dignity. They were group of honored people in the society who was given Royal surname. Their strength point was family relationship network for they visit, connect, have relationship, speak, and marry each other in the community. Recommendation for applying the social capital for promoting the social security of Urak Lawoi in Phuket province area had aim to reflect the social capital that was able to appear and remain still must have interaction with social structure, economic, politic, and outside culture. In the dimension of social development and promoting human security, the study found the lack of connection to solve the community problem and other aspects development that occurred and remain in their way of life such as health and sanitation and household economics. It should start from analyzing the target point together toward the development of the community between the villagers and outside agency and among agencies for the direction to target point to apply the exiting social capital to solve the problem. The agencies that related to the development of Urak Lawoi community and their living should emphasize the promoting for self-reliance learning process by letting the community to think, analyze, make decision, plan the development plan, and do it by one self while the outside agency should mentor and being true friend to support the technical knowledge for them to know and be able to keep pace in changing society.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ