Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การจัดระบบการดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวสำหร...

TNRR

Description
โครงการวิจัย “การจัดระบบการดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุ ในครอบครัวและชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลทางสังคมและการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และระบบการดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุในครอบครัว และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดระบบการดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสานักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 ทั้งที่พึ่งตนเองได้ จานวน 1,184 คน และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง จานวน 249 คน และการสนทนากลุ่ม กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและในชุมชน จานวน 25 กลุ่ม สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ความต้องการการดูแลทางสังคมและความต้องการการดูแลระยะยาว พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการการดูแล 2 ด้านหลักๆ ได้แก่ ความต้องการการดูแลบริการสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง มีความต้องการบริการสถานบริบาลคนชรามากกว่าต้องการอยู่บ้านหรืออยู่กับครอบครัว ครอบครัวของผู้สูงอายุมีค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอต่อการดูแล ความต้องการการบริการทางสังคมพบว่าผู้สูงอายุต้องการให้มีการจัดผู้จัดการดูแลที่ทาหน้าที่วางแผนและประสานการดูแล เมื่ออยู่ในภาวะที่ช่วยตัวเองไม่ได้ เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบ วิธีการ ของระบบการดูแลทางสังคมและการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุในครอบครัวระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศพบว่าประเทศไทยยังมีระบบการดูแลระยะยาวอย่างไม่เป็นรูปธรรม เน้นการดูแลจากครอบครัวและการสงเคราะห์เป็นครั้งคราว สาหรับต่างประเทศเน้นการดูแลจากครอบครัวเช่นกัน และมีการจ่ายเงินสมทบเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพและระบบการดูแลระยะยาวตั้งแต่วัยทางาน และแนวทางการจัดระบบการดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน ได้แก่ การทาแผนและเตรียมงบประมาณรองรับ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มและคนในชุมชน ในการดูแลคนในครอบครัว ชุมชน การติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง และการใช้เครือข่ายภายนอกชุมชนร่วมดูแล ข้อเสนอแนะจากการศึกษา สานักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ (สสว.) ควรส่งเสริมหน่วยงาน ในพื้นที่ให้นาข้อมูลด้านผู้สูงอายุไปใช้ประโยชน์เพื่อจัดบริการด้านระบบการดูแลทางสังคมแก่ผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการ และกรมกิจการผู้สูงอายุ ควรเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการทาฐานข้อมูลการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การตรวจเยี่ยมบ้าน การบริการทางสังคมให้กับผู้สูงอายุในชุมชน<br><br>The objectives of Social Care System and Long Tem Care for Elderly at home and in community are to study needs and compare models procedures of social care system and long term care for elderly between Thai and international and to acquire the guidelines on social care system and long term care for elderly home and in community. This research applies both quantitative and qualitative methodology. The sampling population is the people aged sixty years old and up who settle in responsible area of Technical Promotion and Support Office 1- 12: furthermore, the purposive sampling are chosen of 249 dependent elderly and 1,184 independent elderly. To fulfill the information received, the focus group consisting of stakeholder in elderly care services and the care givers total 2 5group is considered conducted as well. The study results of social care and long term care needed have been found that elderly truly require in two criteria which are health care and social care consequently. Dependent elderly need nursing home more than living at home or with families due to inadequate expense. When elderly are in dependent status, they need the coordinator in planning and organizing service cares. In terms of comparing models procedures of social care system and long term care for elderly between Thai and international, Thai has no concrete social care and long term care, mostly aiming to Residual model of social welfare Residual model of social welfare. On the other hands, interational countries emphasize on family care and co-pay into Health Care Insurance since working. The core relating cares and the supportive cares are divided in two groups who are core crucial in elderly care and relating in care support. The guidelines dependent elderly care are conducting plans and budget allocation, strengthen people concourity continuous care and applying outer networks to mutual servke cares. In terms of recommendations Technical Promotion and Support Offices have to encourage local organizations in elderly information application in order to meet the proper need of elderly. Moreover, the Departemen Ilderly Nifairs should empower elderly volunteer through elderly healthy waar datos en collection home visiting as well, the Department of Elderly Affairs should provides a wices for elderly in community.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ