Description
การศึกษาวิจัยเรื่องอนาคตการจัดสวัสดิการสังคมไทยเมื่อสู่ประชาคมอาเซียน ภายใต้ภารกิจ
ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง
“อนาคตการจัดสวัสดิการสังคมไทยเมื่อสู่ประชาคมอาเซียน ภายใต้ภารกิจของกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศ
ไทยในปัจจุบัน ภายใต้ภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเพื่อหา
แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทยที่เหมาะสมเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้เทคนิค
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ได้ความคิดเห็นของหัวหน้า
หน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR
(Ethnographic Delphi Futures Research) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับอนาคตการจัดสวัสดิการ
สังคมไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายใต้ภารกิจกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ ในช่วง 10 ปี ถึง 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2559 – 2579) โดยการสำรวจจากความคิดเห็นของกลุ่ม
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดสวัสดิการสังคม ทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ระบบการจัดสวัสดิการสังคมของไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นเชิง
สถาบัน ซึ่งมีความครอบคลุมและสามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายและในเชิง
พื้นที่มากขึ้น โดยมีระบบการดำ เนินงานจัดสวัสดิการสังคมตามอง ค์ประกอบ 4 ด้าน
หลัก ประกอบด้วย 1) ระบบการช่วยเหลือทางสังคม เป็นระบบของการสงเคราะห์ ให้เงิน สิ่งของ
เครื่องใช้อุปโภคบริโภค รวมไปถึงการให้การศึกษา การฝึกอาชีพเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และ
การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งบริการจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย 2) ระบบการ
บริการสังคม เป็นการจัดบริการโดยภาครัฐเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน
ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการมีงานทำและการมีรายได้ และด้าน
การบริการสังคมและนันทนาการ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีการ
ดำเนินงานเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับบริการของหน่วยงานในสังกัดเท่านั้น 3) ระบบการ
ประกันสังคม เป็นการจัดสวัสดิการสังคมโดยภาครัฐเพื่อคุ้มครองป้องกันประชาชนที่มีรายได้ไม่ให้
ได้รับความเดือดร้อน เมื่อต้องสูญเสียรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การ
เลี้ยงชีพ ให้ยังมีหลักประกันที่สามารถบรรเทาความเดือดร้อน สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควร
และ 4) ระบบการส่งเสริมสนับสนุนหุ้นส่วนทางสังคม เป็นการบริหารจัดการเพิ่มเติมเพื่อให้ระบบ
สวัสดิการสังคมทำงานได้ดียิ่งขึ้น การสร้างความเข้มแข็งให้กับหุ้นส่วนทางสังคม ส่งเสริมจิตอาสา
การให้และการช่วยเหลือทางสังคม ได้แก่ การดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใน และการ
ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภายนอก
ข
แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเมื่อเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ เสนอแก่ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ
ควรลดข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย รวมทั้งควรมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ มีการ
กำหนดกฎหมายสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และการจัดสวัสดิการสังคมในอนาคต ควรเป็นการจัด
สวัสดิการในรูปแบบเพื่อคนทุกกลุ่มหรือพหุวัฒนธรรม รวมทั้งต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับ
ประชาชนเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมในเชิงพหุวัฒนธรรมด้วย ควรลดบทบาทของภาครัฐให้
น้อยลง โดยที่ภาครัฐทำหน้าที่ในการดูแลควบคุมมาตรฐานและประเมินผล ในส่วนของภาคเอกชน
ควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศ มีส่วนในการรับผิดชอบต่อการจัด
สวัสดิการสังคม (CSR and social enterprise) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ ควรมาตรการการดำเนินงานของกระทรวงฯ ต้องมีความชัดเจน และสามารถให้ความช่วยเหลือ
ได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงฯ และตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานต่างๆ
ภายใต้กระทรวงฯ ต้องมีการเตรียมความพร้อมหน่วยงาน ทั้งทางด้านทักษะภาษาอังกฤษและภาษาของ
ประเทศต่างๆในอาเซียน เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการที่เป็นชาวต่างชาติ การกำหนด
หลักเกณฑ์ในการให้บริการที่ชัดเจนและครอบคลุม กรณีเป็นชาวต่างชาติที่มารับบริการสวัสดิการสังคม
และต้องเตรียมรับมือกับปัญหาทางสังคมที่จะมีความหลากหลายและรุนแรงยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรมีนโยบายให้ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงฯ ศึกษาทบทวนกฎหมาย
ทุกฉบับที่อยู่กระทรวงฯ รับผิดชอบ ควรปรับปรุงแก้ไขให้มีความทันสมัยและเป็นปัจจุบัน ควรมี
นโยบายส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมเป็นการเฉพาะในพื้นที่ที่มีลักษณะพหุวัฒนธรรมซึ่งมีความ
หลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อการ
เสริมสร้างสังคมสันติสุข ควรส่งเสริมความร่วมมือให้ชาติในอาเซียน มีการจัดตั้งประชาคมสวัสดิการ
อาเซียน (ASEAN Welfare) เพื่อดูแลทางด้านสวัสดิการแก่คนอาเซียนทุกคน รัฐบาลควรมีนโยบายที่
ชัดเจนในการให้กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีจากคนต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างมี
ประสิทธิภาพและรัดกุม เพื่อนำมาจัดสวัสดิการในด้านต่างๆ แก่คนต่างชาติและครอบครัว และควรมี
นโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ภาคเอกชน ภาคประชาชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วน
ร่วมในการจัดสวัสดิการแก่คนในชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยภาครัฐทำหน้าที่ในการสนับสนุนงบประมาณ
พร้อมทั้งกำกับ ดูแล และควบคุมมาตรฐาน สำหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อจัดทำ
ฐานข้อมูลประชากรอาเซียนอย่างเป็นระบบ และควรมีการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และทักษะด้าน
ต่างๆ ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานกับคนต่างชาติได้
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read