Notifications

You are here

อีบุ๊ค

รูปแบบการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่ว...

TNRR

Description
การวิจัยเรื่องรูปแบบการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีส่วน ร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการเตรียมความพร้อมของประชาชนในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และ ความต้องการ ความคาดหวังของประชาชนเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เพื่อหารูปแบบและทดลองนำรูปแบบการ เตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมไปใช้ในชุมชนตัวอย่าง สำหรับ วิธีการศึกษาเป็นการประยุกต์ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่ง ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมชุมชน การออกแบบและกำหนดแผนงานวิจัย การดำเนินการวิจัยเพื่อ แก้ไขปัญหา และการวิเคราะห์สรุปบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มวัยแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปจนถึงอายุ 59 ปี ตัวแทนองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ ผนู้ ำชุมชน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่ เก่ยี วขอ้ ง ในตำบลท่มี อี ัตราสว่ นของผู้สูงอายุต่อประชากรวัยแรงงานมากเป็นอันดับ 1-3 รวมจำนวน 36 ตำบล ผลการศึกษา พบว่า สถานภาพการเตรียมความพร้อมของประชาชนในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุใน ด้านสุขภาพ(อาการที่เจ็บป่วย) ส่วนใหญ่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นโรคกระเพาะ อาหาร กลุ่มตัวอย่างดูแลตนเองได้ในระดับดี มีความสัมพันธ์กับครอบครัวในระดับดี ส่วนใหญ่มี สัมพันธภาพกับชุมชนสม่ำเสมอ กลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 10,991 บาท และมีการออมเงินเป็น สมาชิกกองทุน ฝากธนาคาร สำหรับสวัสดิการหลัก ส่วนใหญ่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเบิกการ ประกันสังคม กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการและความคาดหวังในการเตรียมความพร้อมฯด้านสัมพันธภาพ กับสมาชกิ ในครอบครัวมากท่สี ุด และมีการเตรียมความพรอ้ มฯดา้ นการเรยี นรตู้ ลอดชีวติ น้อยที่สุด จากผล การทดลองนำรูปแบบการเตรียมความพร้อมฯ 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพ อาชีพรายได้ การออม และการมีส่วน ร่วมทางสังคม ไปจัดทำเป็นโครงการ กิจกรรมที่มีความเป็นไปได้ ในแต่ละพื้นที่ รวม 50 โครงการ ได้สรุป รูปแบบการเตรียมความพร้อมกอ่ นเขา้ สู่วัยผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับชุมชน ควรประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การให้ความรู้และกระตุ้นเตือน การจัดตั้งกลุ่ม การวางแผนชีวิต และการป้องกันและดูแลตนเอง ทั้งนี้จะทำ ให้ เกิดระบบคุ้มกันทางสังคม (สมาชิกวัยแรงงานได้รับสวัสดิการในระยะยาว) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ 1. อปท. ควรเป็นแกนนำในโครงการมากกว่าการเห็นชอบหรือ หนุนเสริมอยู่ด้านหลัง 2. ควรกระตุ้นบทบาทภาคประชาชนในการขับเคลื่อนทั้งกระบวนงาน โดยค้นหาผู้นำ ธรรมชาติ และปราชญ์ชุมชนมาช่วยหนุนเสริม แต่ควรเน้นเรื่องการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยเฉพาะการ มอบหมายให้เจ้าหน้าดูแลโครงการ/กิจกรรมโดยเฉพาะและอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการสนับสนุน งบประมาณท่ชี ัดเจน 3. ควรมกี ารจัดตงั้ กลมุ่ หรือศูนยป์ ฏิบัตงิ านด้านการเตรยี มความพรอ้ มในการเข้าสู่วัย ผู้สูงอายุในแต่ละชุมชน และการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน โดยเฉพาะเพิ่มความตะหนักให้ ประชาชนสนใจเข้าร่วมการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ<br><br>The purpose of this study was to investigate the current situation of preparedness for old age of the Thai citizen, including the needs and expectation in their old age in order to develop a model of engaging people to be prepared for their old age. The model would be put on trial in the sampling communities. The study adopted the combining qualitative and quantitative methods as research methodology. The process of the study was divided into 4 steps: 1) initial preparation for the community, 2) development of the study design, plan and schedule, 3) implementation process, and 4) lessons learned analysis. The sample of the study consisted of: working-aged persons (those who aged between 20-59 years old), representatives of local administrative organizations, community leaders, and representatives of government agencies concerned. The sample was derived from the top-three Tambon with the highest rate of labor force participation from each of all the 12 regions across the country, altogether 36 Tambon. The results of the situation of preparedness for old age of the Thai citizen with regard to their health found that most of them had common illnesses such as general body aches, gastroenteritis, etc. In addition to this, most people were able to take good care of themselves, had good relationship with the family, and had good relationship within their own community. The average income was 10,911 per month. Most of them also had savings bank account and was a member of community funds. With regard to mainstream welfare, most of them had access to social security and universal health coverage. The type of preparedness the sample needed and expected most was maintaining good relationship with the family, where the least was lifelong learning. The study team had developed 4 models of preparedness for old age which included: health preparedness, occupation and income preparedness, savings preparedness, and social participation preparedness. The 4 models were put on trial at the target communities. As a result, 50 projects/activities were developed by the communities based on each model and in response to the particular needs of each community. It was found that appropriate models of preparedness for old age mostly preferred by the communities were: educate people to be ready for their old age, establish community groups based on mutual interest, create personal life plan, and encourage self protection and self care. These 4 models were expected to help generate social security within the community in the long run. The study recommendations were: 1) local administrative organizations should be in the driver’s seat rather than in the back seat, 2) people sector should be encouraged to take the lead throughout the process, natural leaders as well as community intellects should be invited to take part as a supporting team, and budget allocation together with appointment of the project staff should be clearly made to ensure the continuity of the projects/activities, and 3) each community should establish its own working group or Aging Preparedness Centre, in collaboration with private sector, especially to help on raising an awareness among community people to get ready for their old age.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ