Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูที่อยู่อาศัยที่...

TNRR

Description
โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ของเมือง ในพื้นที่เมืองเก่า จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์ศึกษาเพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของเมือง ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย และเสริมสร้างเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของชุมชน สร้างจิตสำนึกในประชาชน ให้เห็นความสำคัญของการจัดทำแผนพัฒนาฟื้นฟูเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเมืองและการจัดการที่อยู่อาศัย ร่วมกับชุมชน หน่วยงานท้องถิ่นและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักการและวิธีการของงานออกแบบชุมชนเมือง (Urban Design) เพื่อศึกษา รวบรวม วิเคราะห์และสรุปแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาที่เหมาะสม ร่วมกับกระบวนการปลุกชุมชน หรือการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของอาคารและคนในชุมชน ได้ตระหนักในคุณค่าของชุมชนอยู่อาศัยที่ตนเองอาศัยอยู่ ในขั้นตอนการดำเนินงานได้แบ่งขอบเขตพื้นที่ศึกษาออกเป็นสองระดับ ได้แก่ (1) ขอบเขตย่านเมืองเก่าภายในแนวคูเมืองเดิมทั้งหมด โดยศึกษาในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม การตั้งถิ่นฐาน ระบบเศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิต ลักษณะทางกายภาพ ระบบโครงสร้างชุมชน วิวัฒนาการและรูปแบบของสถาปัตยกรรม และ (2) ขอบเขตพื้นที่นำร่องบริเวณชุมชนวัดพระธาตุเชิงชุม ซึ่งมุ่งศึกษาข้อมูลเชิงลึกของเรือนไม้ทรงคุณค่า ปัญหาและปัจจัยเสี่ยงต่อการเก็บรักษา ศักยภาพและข้อสนับสนุนต่อการอนุรักษ์ และทัศนคติของเจ้าของเรือนไม้ทรงคุณค่าที่อยู่ในบริเวณพื้นที่นำร่องทั้งหมด จากการศึกษาพื้นที่ในระดับย่านเมืองเก่าด้วยกระบวนการของงานออกแบบชุมชนเมือง ทำให้สามารถสรุปแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของเมืองในรูปแบบของแผนงานการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วยแนวทางที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมของเมือง ได้แก่ (1) แนวทางการพัฒนาย่านเมืองเก่าสกลนคร (2) แนวทางการอนุรักษ์เรือนทรงคุณค่า (3) แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง บริเวณพื้นที่นำร่อง (4) แนวทางการปรับปรุงเส้นทางสำคัญทางประวัติศาสตร์ (5) แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ว่างสาธารณะ (6) แนวทางการปรับปรุงสถานที่สำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรม และ (7) แนวทางการออกแบบเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสกลนคร ส่วนในด้านการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือการปลุกชุมชนนั้น ผลจากการดำเนินงานโครงการได้ส่งผลให้เกิดการรวมตัวของคนในและคนนอก มีการจัดตั้งกลุ่มพัฒนาและฟื้นฟูที่อยู่อาศัยเมืองสกลนคร(คนรักษ์สกล) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของภาคี 3 ฝ่าย ได้แก่ (1) เทศบาลฯ ผู้อาวุโส ผู้นำชุมชน (2) เจ้าของเรือน และ (3) กลุ่มนักวิชาการจากการเคหะแห่งชาติและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อร่วมกันพัฒนาและฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของเมือง ทั้งในด้านกายภาพของที่อยู่อาศัยและวัฒนธรรมในการอยู่อาศัยอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของเมืองสกลนคร โดยยึดแนวทางการดำเนินงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป<br><br>-

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ