Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาศักยภาพของเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอด จั...

TNRR

Description
การวิจัย “การศึกษาศักยภาพของเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” มีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอด จังหวัดตาก จากการใช้ระบบสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย 2) เพื่อศึกษาศักยภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ของเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอด จังหวัดตาก 3) เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบการพัฒนา พฤติกรรมและความต้องการทางด้านเศรษฐกิจและที่อยู่อาศัยของประชากรเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอด จังหวัดตาก 4) เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของเขตเศรษฐกิจพิเศษ นครแม่สอด จังหวัดตาก กับเมืองชายแดนที่เป็นกรณีตัวอย่าง (Best Practice) ในลักษณะเขตเศรษฐกิจข้ามแดน (Cross Border Economic Zone) 4 แห่ง และ 5) เพื่อจัดทำแผนแม่บท (Master Plan) ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มี 3 กลุ่ม คือ ประชากรที่อยู่ในเขตที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มประชากรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอด ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และกลุ่มประชากรที่นำมาเปรียบเทียบกรณีตัวอย่างจากเขตเศรษฐกิจข้ามแดนใน 4 จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 5,600 ชุด การสัมภาษณ์จำนวน 80 ราย การสนทนากลุ่ม การศึกษาเอกสาร และการบันทึกภาพด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 หรือ ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการวิจัยข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ คือ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ ขอบเขตปกครองอำเภอแม่สอด แผนที่รอยเลื่อนในอำเภอแม่สอด บริเวณน้ำท่วมในอำเภอแม่สอด แผนที่สถานที่ราชการในอำเภอแม่สอด แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอด ที่ตั้งโรงพยาบาลในอำเภอแม่สอด จำนวนครัวเรือนในอำเภอแม่สอด เส้นทางน้ำในอำเภอแม่สอด พื้นที่เสี่ยงแผ่นดินถล่มในอำเภอแม่สอด ความหนาแน่นของประชากร ในอำเภอแม่สอด แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมในอำเภอแม่สอด ที่ตั้งโรงเรียนและสถานศึกษาในอำเภอแม่สอด ที่ตั้งสถาบันทางศาสนาในอำเภอแม่สอด เขตชุมชนในอำเภอแม่สอด พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบ แหล่งธรรมชาติทางธรณีวิทยา แผนที่จำแนกเขตป่าสงวน เขตอนุรักษ์ และเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ แผนที่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด แนววางสายเคเบิล กฟผ. อำเภอแม่สอด พื้นที่เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและสนามบินใหม่ ในอำเภอแม่สอด แผนที่การสร้างเส้นทางคมนาคมรอบเมืองแม่สอด แผนที่ที่ตั้งศูนย์ราชการแห่งใหม่ในอำเภอ แม่สอด แผนที่พื้นที่ให้บริการน้ำประปาของ กปภ. ในอำเภอแม่สอด แผนที่พื้นที่ขอปรับปรุงผังเมืองรวมอำเภอแม่สอด ผังวางแผนการใช้ที่ดินของเทศบาลนครแม่สอด แนวการสร้างเส้นทางคมนาคมรอบเมืองแม่สอด พื้นที่ขอปรับปรุงแผนผังเมือง ที่ตั้งศูนย์ราชการแห่งใหม่ พื้นที่เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและสนามบินใหม่ และ แนวคันป้องกันน้ำท่วมในอำเภอแม่สอด2. ศักยภาพทางด้านกายภาพของอำเภอแม่สอดมีความเหมาะสมในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากยังมีพื้นที่ที่ยังสามารถขยายเป็นเมืองใหม่หรือขยายจากขอบเขตเมืองเดิม และ มีท่าเรือกระจายสินค้าไปยังเขตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 22 จุด จุดผ่านแดนถาวร 1 จุด และมีโครงการก่อสร้างจุดที่ 2 ในอนาคต ซึ่งเส้นทางข้ามแดนไปยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ในอำเภอแม่สอดจะมี ความสะดวกมากกว่าตำแหน่งอื่นในทางฝั่งตะวันตกของไทย อำเภอแม่สอดสามารถสร้างรายได้จากศุลกากร ได้มากเป็นอันดับ 3 และการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันอุปสรรคจากเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างแม่สอดกับถนนสายหลักในประเทศไทยเพื่อขึ้นสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นเส้นทาง ระยะยาว ผ่านภูเขาสูงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ด้านสายการบินมีเส้นทางสายการบินทั้งในประเทศและไปยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ แต่ยังคงเป็นสายการบินที่ใช้เครื่องขนาดเล็ก ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และภัยหนาว ที่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ และอาจเกิดภัยแล้งเนื่องจากแม่น้ำเมยมีขนาดเล็ก และพื้นที่เขตชุมชนและเมืองเป็นพื้นที่ราบรับน้ำที่มาจากภูเขา แต่ได้มีโครงการแนวคันป้องกันน้ำท่วมที่จะไหลมาจากทางทิศตะวันออก ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยว อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์และอุทยานแห่งชาติทำให้มีแหล่งท่องเที่ยวในลักษณะธรรมชาติมาก นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมที่หลากหลายทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมก็มีมากเช่นกัน เช่น วัดไทยวัฒนาราม ที่เป็นศิลปะของไทยผสมกับเมียนมาร์ กิจกรรมของชาวเขา เป็นต้น ทำให้เกิดธุรกิจโรงแรม โฮมสเตย์ พื้นที่ตั้งแคมป์ มากขึ้น และมีการย้ายถิ่นของคนต่างชาติต่างภาษาโดยเฉพาะชาวเมียนมาร์ที่เข้ามาเป็นแรงงานหลักในอำเภอแม่สอด 3. จากผลการวิจัยประชากรที่อยู่ในอำเภออื่น และในอีก 9 จังหวัด ความต้องการหรือหากจำเป็น ที่จะเข้ามาอาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอดส่วนใหญ่จะเลือกพื้นที่ที่เป็นเขตเทศบาล แต่ประชากรในเขตเทศบาล แม่สอดนั้นกลับมีความต้องการที่แตกต่างไปคือต้องการที่อยู่อาศัยในเขตชานเมือง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความแออัด หรือผังเมืองที่มีการกระจุกตัว และปัญหาอุทกภัยที่พบบ่อยครั้งด้านความต้องการที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ต้องการบ้านเดี่ยว 1-2 ชั้น ขนาดห้องนอน 3-5 ห้องนอน ห้องน้ำ 1-3 ห้อง เนื่องจากส่วนใหญ่มีลักษณะของสมาชิกครอบครัวเป็น สามี ภรรยา บุตร ซึ่งมีขนาดครอบครัวไม่เกิน 4 คน ส่วนลักษณะที่อยู่อาศัยที่ต้องการให้มีในเขตเทศบาลแม่สอดคือ คอนโด และแฟลต อาคารพาณิชย์อาจเนื่องมาจากข้อจำกัดของพื้นที่ และราคาที่อยู่อาศัยและเป้าหมายในการใช้เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งอาจเป็นเพื่อการเรียนการทำงาน และทำธุรกิจเท่านั้น หากเป็นบ้านต้องการบ้านในเขตชานเมือง ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ประชากรในพื้นที่วิจัยหลักและวิจัยรองต้องการซื้อแบบเงินผ่อน เงินดาวน์ไม่เกิน 100,000-. บาท อัตราผ่อนไม่เกิน 5,000 -.บาท/เดือน และมีระยะเวลาผ่อนชำระ ไม่เกิน 30 ปี ปัจจัยที่ประชากรในพื้นที่อำเภอแม่สอดให้ความสำคัญคือราคาที่อยู่อาศัยมากกว่าปัจจัยด้านอื่น ซึ่งขัดแย้งกับความต้องการของประชากรในต่างอำเภอและต่างพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์หรือที่อยู่อาศัย บุคลากร สิ่งนำเสนอทางกายภาพของที่อยู่อาศัยมากกว่าด้านราคา 4. จากผลการวิจัยอำเภอแม่สอดมีจำนวนประชากรน้อยกว่าพื้นที่เขตเศรษฐกิจข้ามแดนทั้ง 4 เขต ทั้งในภาพระดับอำเภอและระดับจังหวัด ด้านปริมาณสินค้าข้ามแดนอำเภอแม่สอดสามารถสร้างรายได้เป็นอันดับ 3 ของประเทศในการสร้างรายได้จากสินค้าข้ามแดน สินค้านำเข้าและส่งออกหรือสินค้าข้ามแดนในแต่ละจุด มีประเภทสินค้าแตกต่างกัน แรงงานที่จะเข้าไปในพื้นที่เขตเศรษฐกิจทั้ง 5 จึงมีลักษณะความสามารถแรงงาน ที่แตกต่างกัน จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีมากที่สุดคือเขตเศรษฐกิจข้ามแดนจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นประเด็นหลักในการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจข้ามแดนของจังหวัดกาญจนบุรี “เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และประตูสู่การค้าชายแดน และมุ่งพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตแบบยั่งยืน” ด้านเขตเศรษฐกิจข้ามแดนจังหวัดสระแก้ว มีจำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยลดลง แต่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นอาจเนื่องมาจากการเมืองในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา เขตเศรษฐกิจข้ามแดนจังหวัดสงขลา นักท่องเที่ยวมีจำนวนมากเนื่องจากเป็นเส้นทางที่สามารถไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ได้จึงทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ทางด้าน แม่สอดนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นคนไทยและคนเมียนมาร์ คนต่างชาติอื่นๆ จะพบเห็นได้น้อยอาจเนื่องมาจากผลของการปิดประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ในช่วงปี พ.ศ.2553-2554 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของจังหวัดตากยังคงน้อยกว่าเขตเศรษฐกิจข้ามแดนอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์พื้นที่ ลักษณะของพื้นที่ เส้นทางคมนาคม และการเมืองภายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 5. การจัดทำแผนแม่บท ด้านที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค หน่วยงานในพื้นที่มีเป้าประสงค์ของการดำเนินงานด้านที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค มุ่งเน้นที่ความพอเพียงของที่อยู่อาศัยต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรในพื้นที่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พื้นที่โครงการต่างๆ ของอำเภอแม่สอดยังไม่สมบูรณ์บางรายการยังเป็นโครงการรออนุมัติ เช่น การขอใช้พื้นที่ป่า การทำคันป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งได้นำโครงการเหล่านี้มาใช้ในการวางแผนแม่บทด้านที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค อำเภอแม่สอดกำลังดำเนินการด้านการขยายเส้นทางคมนาคมทางบก โดยกรมทางหลวงชนบท ซึ่งทำให้ราคาที่ดินในอำเภอแม่สอดมีราคาที่ดินสูงอาจก่อให้เกิด ความขัดแย้งในด้านการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ข้อเสนอแนะ การดำเนินงานพัฒนาที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคในเขตอำเภอแม่สอด เนื่องจากการเป็นพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ จากข้อค้นพบของการวิจัย ดังนี้ 1. จากการวิจัยข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ คือ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ ขอบเขตทางด้านการปกครองอำเภอแม่สอด แผนที่ของส่วนราชการต่าง ๆ แผนที่ของเขตการให้บริการทางสาธารณสุข แผนที่การเจริญเติบโตของครัวเรือน แผนที่ที่ทำให้ทราบถึงภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะมีแนวโน้มในการเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติรอบๆ ด้าน ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษา แผนงานโครงการต่าง ๆ ให้มีความรอบคอบในการจัดสร้างที่อยู่อาศัย ให้มีความปลอดภัย และสอดคล้องกับความต้องการของประชากรที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีความปลอดภัย และมีความสะดวกกับการบริการของส่วนราชการต่าง ๆ หรือทางด้านการศึกษา และด้านสาธารณสุข เป็นต้น 2. ศักยภาพทางด้านกายภาพของอำเภอแม่สอดมีความเหมาะสมในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากยังมีพื้นที่ที่ยังสามารถขยายเป็นเมืองใหม่หรือขยายจากขอบเขตเมืองเดิม และ มีท่าเรือกระจายสินค้าไปยังเขตประเทศเพื่อนบ้าน และมีแนวโน้มของการพัฒนาทางด้านการคมนาคมในด้านต่าง ๆ และเป็นเส้นทางที่เหมาะสมในการพัฒนาเชื่อมต่อไปยังประเทศ อื่น ๆ ทำให้มีความประหยัดและมีความรวดเร็ว สำหรับการขนส่งทางบก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสให้นักลงทุนต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการพัฒนาในด้านการขนส่งต่าง ๆ โดยอาจจะต้องพัฒนาในส่วนของการลงทุนทางด้านการพัฒนาทางด้านการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งมีแนวโน้มในการเจริญเติบโตของประชากรที่ใช้แรงงานมากขึ้น และอาจส่งผลต่อปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น เรื่องของการแออัดของผู้คน ปัญหามลพิษต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ควรมีลักษณะและขนาดของที่อยู่อาศัย พอเหมาะกับประชากรผู้ใช้แรงงาน และมีสถานที่ตั้งที่ปลอดจากมลพิษต่างๆ และมีเขตการให้บริการของระบบสาธารณูปโภค ตามโครงการที่ส่วนราชการต่าง ๆ ได้วางแผนไว้ 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากประชากรที่อาศัยอยู่ในอำเภออื่นของ จ.ตาก และในอีก 9 จังหวัดภาคเหนือ ความต้องการหรือหากจำเป็นที่จะเข้ามาอาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอดส่วนใหญ่จะเลือกพื้นที่ที่เป็นเขตเทศบาล แต่ประชากรในเขตเทศบาลแม่สอดนั้นกลับมีความต้องการที่แตกต่างไปคือต้องการที่อยู่อาศัยในเขตชานเมือง ทั้งนี้การลงทุนทางด้านที่อยู่อาศัยก็จะต้องศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชากรกลุ่มเป้าหมายในความรับผิดชอบของหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเจตนารมณ์ ซึ่งถ้าเป็นประชากร ในเขตเทศบาลอยู่แล้วก็มีแนวโน้มที่จะอยู่อาศัยในพื้นที่รอบนอก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ดินมีราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับที่ดินที่อยู่ในเมือง และถ้าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้แรงงานซึ่งต้องการอาศัยอยู่ในที่มีความเจริญเพื่อสะดวกในการประกอบอาชีพ ก็ยังคงต้องสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่ในเมืองซึ่งอาจมีปัญหาในเรื่องของราคาที่ดินที่สูง ดังนั้น จึงต้องเลือกสิ่งปลูกสร้างให้มีความสะดวก และมีความเหมาะสมสำหรับอาคารที่อยู่ในพื้นที่ที่จำกัด เช่น ในรูปแบบคอนโดมิเนียม หรือ ห้องชุด เพื่อไว้บริการให้กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มนี้ รวมทั้งต้องมีความเหมาะสมทางด้านราคา และความสามารถในการจ่ายของกลุ่มเป้าหมาย 4. จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลอำเภอแม่สอดมีจำนวนประชากรน้อยกว่าพื้นที่เขตเศรษฐกิจข้ามแดนทั้ง 4 เขต ทั้งในภาพระดับอำเภอและระดับจังหวัด ด้านปริมาณสินค้าข้ามแดนอำเภอแม่สอดสามารถสร้างรายได้เป็นอันดับ 3 ของประเทศ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประชากรของอำเภอแม่สอดมีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ที่ดีกว่า ดังนั้นในการลงทุนทางด้านที่อยู่อาศัย สำหรับประชากรของอำเภอแม่สอดจึงมีความเหมาะสม สำหรับโครงการที่ต้องการลงทุนเพื่อการศึกษาผลกระทบต่าง ๆ สำหรับการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชากรในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจข้ามแดน ในลำดับแรกของการเลือกพื้นที่ของโครงการในการลงทุน 5. การจัดทำแผนแม่บท ด้านที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค หน่วยงานในพื้นที่มีเป้าประสงค์ของการดำเนินงานด้านที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค มุ่งเน้นที่ความพอเพียงของที่อยู่อาศัยต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรในพื้นที่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พื้นที่ แผนงาน โครงการต่างๆ ของอำเภอแม่สอดยังไม่สมบูรณ์บางโครงการยังเป็นโครงการรออนุมัติ เช่น การขอใช้พื้นที่ป่า การทำคันป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหามาจากการขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ดังนั้นการดำเนินงานด้านที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค ในเขตอำเภอแม่สอด อันเนื่องมาจากการเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อาจมีปัญหาและความล่าช้าและไม่ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านราคาที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนด้านที่อยู่อาศัย ดังนั้นการดำเนินงานจึงควรเป็นการบูรณาการ และการสร้างร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว เช่น การร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมของภาคเอกชนด้วยการสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อย การดำเนินการผ่านองค์กรภาครัฐที่มีศักยภาพและมีความเชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัย อาทิเช่น ผังเมืองจังหวัดตาก เทศบาลนครแม่สอด การเคหะแห่งชาติ ธนาคารพาณิชย์ กรมธนารักษ์ กรมที่ดิน กรมป่าไม้ เป็นต้น<br><br> The research about the potential of Special Economic Zone in Mae Sot district of Tak Province to support the ASEAN Economic Community the nature of research and development with the aim of research is to (1) to prepare a spatial database of a special economic zone The exclusive economic zone of the Mae Sot district, Tak Province by use GIS (Geographic Information System: GIS) in order to establish the urban development and housing. (2) to study the physical potential , social and the Special Economic Zone of Mae Sot district, Tak province (3) to study the development model, behavior and needs of the economy and the housing of the Special Economic Zone of Mae Sot district, Tak province (4) to compare the potential of a Special Economic Zone Mae Sot district, Tak province from the border town that is the case study (Best Practice) in the Cross Border Economic Zone in 4 provinces. (5) to prepare a Master Plan to developing Special Economic Zone of Mae Sot district, Tak Province to support entry into the ASEAN Economic Community (AEC). Population used in the study has 3 groups: (1) people who live in Special Economic Zone of Mae Sot district, Tak province. (2) Stakeholders with Special Economic Zone of Mae Sot district, Tak province from 9 provinces in the North of Thailand. (3) People who live in Special Economic Zone in other 4 provinces that will bring to compare as Best Practice. The tools used in this study are 5,600 sets of questionnaires and focus group interviews of 80 sets. The study documents and recording images with geographic information systems. Statistics used were percentage, average, mean and standard deviation were used to test the hypothesis using a t-test (Independent Samples) and F-test (One-way ANOVA). In case of difference statistically significant. To detect a difference as the couple. Significance level of 0.05 or 95% confidence level using a formula based on the Least Significant Difference (LSD) the research showed that: 1. The research data from geographic information systems has showed about the extent of dominance Mae Sot district Map, faults of the land, the floods, location of the government buildings, tourist attraction, hospital, number of households, the water route, landslide risk areas, the density of population, Interactive Map, schools or learning center, religious institutions, community resources in Mae Sot district with a chance of hole collapse, natural geological classification map and area conservation reserves, mineral resources development, map of communities in the municipality, the cable laying by EGAT in Mae Sot district for industrial development and new airport, Interactive map to create a map of the surrounding city of Mae Sot district, Government Center, the new water service area map from the MWA, area for improvement of urban planning, layout for land use of the Mae Sot municipality, the building routes around Mae Sot municipality, area would improve the town map, the new government center, area for industrial development, new airport and dikes to prevent flooding. 2. Potential physical side of Mae Sot district is appropriate in the development of housing and utilities because it is an area that can be expanded to new cities or expanding the scope of the original town and port distribution to Myanmar about 22 points and the crossing persistent has only 1 point. The government sector has plan to construct for the second point. The routes to Myanmar is more convenient location on the west coast of Thailand and Mae Sot districts can also generate revenue from customs is the # 1 cause of economic growth continues to increase. The obstacles from the path to the main road connection between Mae Sot district to the North and North-East of Thailand remains a long path through the high mountains causing frequent accidents. The airline has routes airlines both domestic and International that has flight to Myanmar with small airplane. Problems that occur frequently are flooding, drought and cold disaster that cover all area in Mae Sot district. drought occur because the Moei river is too small, communities and the city is flat and the water coming from the mountains. The government section has plan to prepare the dikes in order to prevent communities and the city from flooding that always flow from the East of Mae Sot district. For potential of tourist attraction, Mae Sot district is mostly mountainous areas, the forest preserves and national parks make the city look more natural. There are a varieties of culture attractions, making it a very cultural as well for example Wat Thai Wattana Ram (temple), the art of mixing between Burmese and Thai, activities of hill tribe was the cause of home stay, camp sites and more foreigners come to Thailand. Especially, Burmese workers in Mae Sot district. 3. From the research of people who lives in different districts and on the other 9 provinces for needs or if necessary to live in Mae Sot district. Most of them choosed to live in municipal area but those who live in municipal area right now they have different requirements. They would like to live in the suburbs, this could be the result of congestion. Also city plan are concentrated and flood problems occur frequently. For the housing needs, most want storey house 1-2 bedrooms 3-5 bedrooms, 1-3 bathrooms, a large part due to the nature of the family members as a husband, wife, children, ranging in size up to 4 people. Housing characteristics that need to have in Mae Sot municipality is flat, condos and commercial buildings, possibly due to space limitations and housing prices. A house should close to schools and work place or can use it to operate business. For a house most people prefer to live in suburbs than to live in city area. The ability to purchase housing, most people in the primary research and secondary research to buying or leasing. Down Payment not over 100,000 baht per installment not exceeding 5,000 baht / month. And repayment period not exceeding 30 years. The first priority that people in Mae Sot district use to choose a house that is the price more than other factors. Which is conflicts with the needs of the people in the other district and other areas to focus on quality of housing, neighbor, physical presentation of homes over the price. Possibly due to the confidence of the need to move from the former 4. From the research of Mae Sod district has showed us that the population of Mae Sod Province is less than the Cross Border Economic Zone in the other 4 provinces in both the district and provincial levels. Less than the number of unemployed. The quantity of goods across the Mae Sod district can earn ranks first in the country to generate revenue from products across the region. Imports and exports goods across the border in each point type products are different in each economic areas across the border. The 5 Cross Border Economic Zone have different needs of characterize the ability of workers. For the Cross Border Economic Zone, Kanchanaburi province has the most number of tourists Which is a major issue in the economic development plan of Kanchanaburi provice to be a "a center for eco-tourism. Sources of industrial products and gate to border trade to develop a sustainable quality of life, For the Cross Border Economic Zone at Songkhla, there are lots of tourists because the route can go to Malaysia and Singapore, enabling tourists, mostly foreigners but at Mae Sod district most of tourists are Thai and Burmese. Other foreigners are very small amount as a result of the closed country of Myanmar in 2010-2011. GDP of Tak province is still less than other Cross Border Economic Zone.This could be a result of the use of area. Character of the area, interactive and political in Myanmar. 5. To prepare master plan about needs of agencies in areas are the objectives of the housing and utilities. Focus on the adequacy of the housing to the population of the area changes in the future. Many projects of Mae Sod district is not complete some of the project is awaiting for approval such as to request for permission to use the forest area, plan of the government section to make dikes to protect communities and city from flooding etc. The research will bring all the necessary project to use for the benefit of master plan for housing and utilities also. Mae Sod district ongoing for land transportation expansion by Department of Rural Roads. This make the area in Mae Sod district has high price could cause conflicts in the construction of housing for the low income. Suggestions The implementation of the housing and utilities in Mae Sot District, due to the special economic zones. The suggestions from the findings of the research are as follows. 1. Based on research data from geographic information systems is to know about it. The scope of Mae Sot’s administration, map of government’s department, map of the area health service, information about the growth of household, the map to indicate various disasters that may be prone to happen around the side, so it must be studied carefully to plan projects to build housing safely and in correspond to the need of the people who need housing that is safe and comfortable to the services of other government agencies or educational service and public health, etc. 2. Potential physical side of Mae Sot is appropriate for the development of housing. And utilities. Because, there are areas that can be expanded into new cities, or expand the existing city limits, port for transporting products to the neighbor country. And the trend of development of transportation in various fields and is the right path to develop connections to other countries, making it cheap and fast. For land transport So it is an opportunity for investors to access a role in the development of various transportation may have to be developed as part of an investment in the development of transport by land, water and air which. there is a trend in the growth of people who use more labor. And it may affect other issues, such as the congestion of people, pollution, including the housing’s problems that should suitable for the labors and the location that is safe from pollution. And should have the utility service that the government is planned. 3. The findings from the research of the district, and in the other nine provinces . Most of them need to live in the Mae Sot area where the majority of our municipalities. But, the people in Mae Sot municipality has different requirements. They want to live in the suburbs. Thus, investment in housing need to be consistent with the needs of the target population in the liability of the agency. To ensure the implementation in the spirit. If the people in the municipality, then it is likely to create a residential area on the outskirts that is not very high , compared to the land in the city. And if the target people, labor, who want to live in a civilization for working. They still need to build housing in urban areas, which may be a problem in the high prices. Therefore, they must choose a building with ease and is suitable for building in a confined space, such as a condominium or apartment to serve the target group. They must be suitable for the price and potential spending target group. 4. The findings from the research, Mae Sot has population of less than four economic zones across the entire field, both at the district and provincial levels. The quantity of crossing goods of Mae Sot can earn the third of the country’ income. The economic potential of Mae Sot’s population are better. Thus, an investment in housing for population of Mae Sot is appropriate to investors who want to study the impact of the housing to citizens in cross-border economic zones in the first of a selection of projects in the areas of investment. 5. The master plan of housing and utilities unincorporated areas with the objectives of the operation of the housing and utilities focus on the adequacy of housing to changes in the population of the area is going to happen in future space projects of Mae Sot is not complete some of the projects awaiting approval. Requests such as forest The flood made cars, which may be a problem of lack of coordination between agencies. Therefore, the implementation of the housing and utilities in Mae Sot District, due to the special economic zones. There may be problems and delays and not to changes in the price of land, the cost of housing. Therefore, the implementation should be integrated. And the creation of partnerships between government and the private sector to achieve such rapid social and cultural activities to the private sector by creating housing for the low income. Through governmental action potential and expertise in housing, such as Mae Sot municipality, National Housing Authority, Commercial Bank, forestry, etc.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ