Notifications

You are here

อีบุ๊ค

แนวทางการส่งเสริมบทบาทสตรีในการขับเคลื่อนงานพัฒนาส...

TNRR

Description
การศึกษาวิจัยแนวทางการส่งเสริมบทบาทสตรีในการขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของสตรี ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชน เพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อหาแนวทางส่งเสริมบทบาทสตรีในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนเพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยวิธีวิทยาผสานวิธี (mixed-methodology) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จึงมีทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อกำหนดแบบแผนโครงสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลชุดต่าง ๆ รวมถึงการกำหนดประเด็นการนำเสนอข้อมูลให้สอดคล้องกับประเด็นและวัตถุประสงค์ของการวิจัย พื้นที่การศึกษาในเขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 7 โดยคัดเลือกกรณีศึกษา 2 ตำบล จากจังหวัดที่มีจำนวนสถิติการกระทำความรุนแรงในครอบครัวมากเป็นอันดับที่ โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบข้อมูลความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและความรุนแรงในครอบครัว จากหน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่การเก็บข้อมูล ในพื้นที่ 2 ตำบลคือตำบลหนองช้างใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา บทบาทของสตรีในการเข้าไปมีตำแหน่งในชุมชน ตำแหน่งที่เข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุดจะเป็นตำแหน่งอาสาสมัครในชุมชน มีมากถึง ร้อยละ 87.5 เช่นอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นต้น รองลงไปจะเป็นตำแหน่งคณะกรรมการกลุ่มองค์กรภาคประชาชน ต่าง ๆ ในชุมชน ร่วมเป็นผู้นำหมู่บ้าน เช่นผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยใหญ่บ้าน สำหรับตำแหน่งที่เข้าร่วมน้อยมากคือการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยที่ทำให้สตรีเข้าไปมีส่วนร่วมในการมีตำแหน่งในชุมชน การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาชุมชน/ตำบล ปัจจัยมากที่สุดคือมีความต้องการการเข้าไปทำประโยชน์ให้กับชุมชน รองลงมาเพื่อต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน และการมีความรู้ความสามารถในกิจกรรมที่เข้าร่วม ปัจจัยที่น้อยที่สุดคือต้องการตำแหน่งในสังคม ปัญหาอุปสรรคในการเข้าไปมีส่วนร่วมของสตรีในการพัฒนาชุมชน/ตำบล ปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุดคือปัญหาสังคม/ชุมชนไม่ยอมรับที่จะให้ผู้หญิงไปเป็นผู้นำและมีอำนาจในการตัดสินใจในการพัฒนา มีถึงร้อยละ 52.5 รองลงมาปัญหามีภาระการดูแลเรื่องภายในครอบครัวและการมองที่ความแตกต่างระหว่างเพศที่สังคมมองว่าสตรีมีศักยภาพน้อยกว่าผู้ชาย การรับรู้ว่ามีพระราชบัญญัติผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ส่วนมากจะตอบว่าเคยรับรู้ถึงร้อยละ 94.5 ซึ่งช่องทางการรับรู้มากที่สุดรับรู้จากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐทีเกี่ยวข้อง รองลงไปรับรู้จากผู้นำชุมชน และรับรู้จากเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่มีในชุมชนจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพบว่าไม่มีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีร้อยละ 59 มากกว่าตอบว่ามี สำหรับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่มีหรือพบมากที่สุดคือปัญหาสามีทำร้ายร่างกายภรรยา รองลงมาคือปัญหามารดาทำร้ายร่างกายบุตร สาเหตุที่ทำให้เกิดความรุ่นแรงในครอบครัวคือเมาสุรา ทำให้ขาดสติ รองลงมาคือสาเหตุความหึงหวงภรรยานอกใจสามี แนวทางในการแก้ไขปัญหาคือการออมชอม การพูดคุยปรับความเข้าใจให้เข้าใจกันของสามีภรรยาและบุคคลในครอบครัว ถ้าระดับความรุนแรงมากขึ้นก็จะเป็นการไกล่เกลี่ยให้ยอมความ หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหา สำหรับในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยใช้โครงการหรือกิจกรรมมีน้อยมากเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้จัดทำโครงการจะมีเฉพาะโครงการที่ป้องกันและแก้ไขปัญหาทางอ้อมหรือโครงการที่เกี่ยวกับสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรง เนื่องมาจากหน่วยงานยังให้ความสำคัญน้อยในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและการมองปัญหาในชุมชนที่ยังมองว่าปัญหาหลายเรื่องเป็นเรื่องธรรมดาของครอบครัว เช่น การดุด่าระหว่างสามีภรรยา หรือระหว่างพ่อแม่กับลูกหรือกับบุคลในครอบครัว บทบาทสตรีในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในชุมชน/ตำบล จะพบว่า มีมากถึงร้อยละ 64 มีมากกว่าไม่เข้าร่วม กิจกรรมที่เข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุดคือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการพัฒนาชุมชน ร่วมกำหนดแผนงานโครงการในการแก้ไขปัญหาในชุมชน มีบุคคล หน่วยงานและองค์กรที่เข้าร่วมหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ส่วนมากจะเป็นผู้นำหมู่บ้าน/ผู้นำชุมชน รองลงมา จะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การเข้าไปมีส่วนร่วมของสตรีในการเข้าไปพัฒนาชุมชน กิจกรรมที่เข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุดคือการเข้าร่วมกิจกรรมงานเทสกาล/งานประเพณี มีมากถึงร้อยละ 98.5 รองลงมาคือการเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมการเข้าร่วมคิดตัดสินใจในการพัฒนา กิจกรรมในการพัฒนาการศึกษาในชุมชน สำหรับกิจกรรมการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องการนำเสนอปัญหาความรุนแรงในครอบครัวให้กับผู้นำหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเข้าไปสำรวจปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่อยู่ในชุมชนตัวเอง บทบาทสตรีในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน พบว่าชุมชนให้ความคิดเห็นว่าสตรีควรเข้าไปมีบทบาทในการเข้าร่วมการประชุมของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเสนอความคิดเห็น นำเสนอปัญหา แนวทาง และกิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาชุมชน นอกจากนั้นสตรีควรเข้าไปมีส่วนในการเป็นผู้นำในหมู่บ้านในชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ฯลฯ ในการยอมรับให้สตรีเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาชุมชน พบว่าชุมชนจะมองในเรื่องความเสมอภาคระหว่างหญิงชายต้องมีความเท่าเทียมกัน สตรีจะต้องได้รับการยอมรับในการเข้าไปเป็นผู้นำเท่าเทียมกับผู้ชาย แต่ก็พบว่าโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนที่ยังให้เกียรติผู้ชายมากกว่าผู้สตรีในการเข้าไปเป็นผู้นำและมีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของชุมชนและยังมองว่าปัญหาเรื่องเพศที่เพศหญิงหรือสตรีมีศักยภาพการทำงานในกิจกรรมทางสังคมสู้เพศชายไม่ได้ ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวพบว่าเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงสตรีต้องเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาสูงกว่าผู้ชายเพราะสตรีจะมีความเข้าในในเรื่องต่าง ๆ ในครอบครัวดีกว่า แต่ถ้าพบการกระทำความรุนแรงในครอบครัวผู้ที่พบเห็นควรแจ้งให้หน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ในการส่งเสริมบทบาทสตรี จากปัจจัยและปัญหาอุปสรรคของสตรีในการเข้าไปมีส่วนรวมในการพัฒนาชุมชน เช่นปัญหาการไม่ยอมรับของสังคม ของชุมชน ที่จะให้สตรีเข้าไปมีผู้นำ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการพัฒนา อาจเนื่องมาจากอันเนื่องมาจากคุณสมบัติหลายประการไม่ว่าจะเป็นเจตคติของสังคม ความเสมอภาคและการคุ้มครองทางสังคม ดังนั้นจึงจะต้องมีการส่งเสริม การพัฒนาบทบาทสตรี การพัฒนาศักยภาพและความพร้อมให้กับสตรี ดังนี้ 1. ส่งเสริมให้สตรีเข้าไปมีบทบาทในการเป็นผู้นำในชุมชน เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการกลุ่มองค์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในชุมชน ฯลฯ บทบาทในการเป็นผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ บทบาทในการเป็นผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล ฯลฯ เพื่อทีจะได้ส่งเสริมให้มีกิจกรรมในชุมชนในการพัฒนาชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2. การสร้างความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ให้กับสตรี ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สตรีมีความรู้ความเข้าใจตามพระราชบัญญัติผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 น้อยมาก ควรมีการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสรีในชุมชนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. การส่งเสริมบทบาทสตรีเพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการเป็นผู้นำให้กับสตรีที่อยู่ในชุมชน ตลอดจนการส่งเสริมให้สตรีเข้าไปมีส่วนร่วมในขบวนการตัดสินใจทุกระดับในการพัฒนาสังคมของชุมชน 4. การพัฒนาบทบาสตรีจะต้องมีการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายและการคุ้มครองทางสังคมควบคู่ไปด้วย 5. การพัฒนาบทบาสตรีจะต้องมีการพัฒนาองค์กรด้านสตรี การบริหารจัดการในการดำเนินงานองค์กรด้านสตรี <br><br>Executive Summary Research on the role of women in social development. To prevent and solve domestic violence. purpose To study the role of women. Factors and barriers to participation in community activities. To lead to the prevention and resolution of domestic violence. And to find ways to promote the role of women in the mobilization of community activities leading to the prevention and resolution of domestic violence. This research is an action research. How to combine methods Mixed-methodology for data collection. So analysis and synthesis of data. Therefore, both quantitative and qualitative analysis. Use Content Analysis to define the relationship patterns of data sets, as well as to set the point of presentation of information in accordance with the issues and objectives of the research. The study area in the area of responsibility of the Office of the Promotion and Academic Support 7 selected the case study of 2 subdistricts from provinces with the highest number of domestic violence statistics. The database of violence against children. Women and Domestic Violence The Ministry of Social Development and Human Security in the area of data collection in the two subdistricts is Nong Chang Yai. Amphoe Mueang Ubon Ratchathani and Na Kham District, Si Songkhram District Nakhon Phanom Province Data collection from the questionnaire. And in-depth interviews. results education The role of women in getting into the community. The most involved volunteers in the community are 87.5%, such as volunteers from the village welfare department, volunteers, social development and human security. In addition, it will be the position of the committees of public organizations in the community as a village leader. Like the village headman Big helpers For a very small participant, participation is a member of a local government organization. Factors for women to participate in community positions. Participation in community development activities The most important factor is the need to access the community. Second, to build a good relationship with the neighbors. And the ability to participate in activities. The least factor is the need for social position. Barriers to womens participation in community / district development. The most common problem was the social / community problem, which did not allow women to lead and had the power to make decision in the development of 52.5%. The difference between sexes is that women have less potential than men. The perception that the 2007 Act on Domestic Violence was the most common response to 94.5 percent was recognized by the relevant government agencies. Second to the recognition of community leaders. And recognize the staff of the local government. The data from the study showed that there was no family violence problem, 59 percent more than the respondents. For the most common family violence problem, the most common problem is husbands and wives. Second, the problem of maternal injury. The cause of family violence is drunkenness, causing the lack of consciousness. The solution is to save money. Discussing the understanding of husband and wife and family. If more violence is involved, it will be mediated. Or notify the relevant agencies to solve the problem. For the prevention and resolution of domestic violence using projects or activities, there are very few, because the relevant agencies do not work on the project, there are only projects that prevent and solve indirect problems or projects related to the cause. Violence Due to the agencys low priority in preventing and resolving domestic violence and looking at the problems in the community, many still consider the problems common to the family, such as scolding husbands and wives. Or between parents and children or with family. The role of women in participating in the prevention and resolution of domestic violence in the community / district is found to be more than 64%. The most engaging activity is to participate in problem solving and community development solutions. Participating in a project plan to solve problems in the community, individuals, organizations and organizations participating in the prevention and resolution of problems. Most are village leaders / community leaders, followed by local government and government agencies, ministry of social development and human security. Participation of women in community development. The most engaging activity is participation in Tesco events. 98.5% followed by religious participation and participation in decision-making. Activities in the development of education in the community. The domestic violence problem was addressed to the village leaders. Village Council And local government officials. And the relevant agencies. To investigate domestic violence in the community itself. The role of women in getting involved in community development. The community commented that women should participate in village / community meetings. To present ideas, problems, approaches and activities in community development. Women should take part in community leaders such as the village headman and the village headman. Local leaders, etc. To accept womens role in community development. Finding that the community is looking at equality between women must be equal. Women have to be accepted into equal leadership with men. However, it is found that social and cultural structures in the community are more honorable to men than women in terms of leadership and decision-making power in community affairs, and that gender issues in women or women are potential. Working in social activities, not male fighters. In dealing with domestic violence, women have a greater role to play in solving problems than men, because women are more likely to have access to family matters. If a domestic violence is found, the victim should report to the agency or the competent official to resolve the problem in accordance with the Domestic Violence Act 2007. To promote the role of women. The factors and obstacles of women to participate in community development. For example, the problem of communitys disapproval of womens leaders Authority to decide on the development. This is due to the fact that many of the properties, such as social attitudes Equality and Social Protection Therefore, it must be promoted. Female role development Capacity development and readiness for women: 1. Encourage women to take leadership roles in the community, such as village committees. Role in local leadership such as village headman, village headman, assistant village headman, etc. Role in leadership of local administrative organizations such as the president of the Tambon administration organization. Mayors, municipalities, etc., to promote community activities in community development to prevent and solve domestic violence. 2. Awareness of the Domestic Violence Act, 2007 to women. Women who have knowledge and understanding of the Domestic Violence Act 2007 should be less likely to be educated in the community by the relevant agencies. 3. Promoting the role of women to address domestic violence The potential and willingness to lead the women in the community must be developed. Encourage women to participate in the decision-making process at all levels in the social development of the community. 4. The development of womens suffrage must promote gender equality and social protection. 5. The development of womens suffrage will require the development of womens organizations. Management in the operation of womens organizations.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ