Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาแบบบ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ

TNRR

Description
ความสำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยของภาคเหนือ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตและสภาพเศรษฐกิจสังคม มีลักษณะวัสดุและการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม บ้านในอดีตได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ด้วยวิธีการทางประเพณี แต่ในปัจจุบันพบว่าที่อยู่อาศัยชนบทเกิดการเปลี่ยนแปลงมีปัญหา ได้รับผลกระทบจากความทันสมัยที่อยู่อาศัยลอกเลียนแบบบ้านจัดสรรในเมืองซึ่งมีบริบทที่แตกต่าง จากพื้นฐานของการอยู่อาศัยในชนบท ผลทำให้บ้านไม่ได้ตอบสนองการอยู่อาศัยอย่างเต็มที่ ทำให้ชาวชนบทมีบ้านเรือนที่ไม่ตอบสนองกับวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้น ถิ่นที่ขาดหายไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการออกแบบบ้าน ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ เสริมสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมถึงประโยชน์การใช้สอยภายในบ้านทีน่าอยู่ สะดวกสบายสำหรับทุกวัย ประหยัดพลังงาน ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและวัสดุจัดหาได้ ในท้องถิ่นสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชนบททั้งด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม ขอบเขตการศึกษาพื้นที่ชนบทภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 17จังหวัด บริเวณพื้นที่ราบชานเมืองและชนบท ไม่รวมกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปด้านกายภาพสังคม เศรษฐกิจ สำรวจรวบรวม แบบบ้านต่างๆ ตลอดจนข้อมูลผู้ใช้ด้านพฤติกรรมการใช้สอยใน ศึกษาบ้านเก่าแบบประเพณีในอดีต จำนวน 30 หลัง บ้านปัจจุบัน 30 หลัง รวมทั้งสัมภาษณ์โดยแบบสอบถามชาวชนบท 400 ชุด การเสวนาเพื่อรวมรวมแนวคิดความคิดเห็นของนักวิชาการ สถาปนิก ชุมชนจำนวน100 คน ประกวดแบบบ้านสำหรับชาวชนบทจากสถาปนิก และสุดท้ายนักวิจัยนำผลการศึกษามาออกแบบบ้านต้นแบบสำหรับครอบครัวขนาดเล็กและขนาดกลาง ผลการศึกษาพบว่าชุมชนชนบทในอดีตมีรูปแบบ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ ในขณะทีการเปลี่ยนแปลงชุมชนจากการพัฒนา พืชพันธ์ เน้นความสวยงามพืชเศรษฐกิจต่างถิ่นมากกว่าเพื่อการดำรงชีวิต ผังบ้านแบบแผนอดีตเปลี่ยนแปลง ไปในลักษณะแปลงบ้านจัดสรร บ้านในอดีตมีภูมิปัญญาพื้นถิ่นและอัตลักษณ์ มีทั้งประโยชน์ใช้สอย และความงาม ด้านรูปทรงหลังคา ช่องแสงหน้าต่าง องค์ประกอบพื้นที่ใช้สอยต่างๆ มีลักษณะโปร่ง ทำให้อากาศระบายเข้าออกได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร ขนาดบ้านใหญ่และขาดการบำรุงรักษา เสื่อมโทรมไปตามเวลาถูกรื้อถอนหรือขายไป บ้านรุ่นใหม่หันไปใช้วัสดุสมัยใหม่ทีจัดหาง่ายมีขนาดกะทัดรัด ด้านอาชีพได้เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นหลักไปเป็นเกษตรกรรมและการรับจ้างการใช้พื้นที่กลางวัน อยู่ใต้เรือนกลางคืนอยู่ชั้นบน ปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยให้อเนกประสงค์ มีการใช้เพิ่ม พื้นที่ต่อเติม ยังคงมีพื้นที่ร่วมกันสำหรับปฏิสัมพันธ์ในครัวเรือน ทุกครัวเรือนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่แต่ใช้ไฟฟ้า อย่างประหยัด ผลได้ข้อค้นพบไปสร้างแนวคิดการออกแบบบ้านชนบทในอนาคต โดยผสมผสาน ระหว่างวิถีชีวิตปัจจุบันกับองค์ประกอบของเรือนในอดีตและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อได้บ้านชนบท ที่สมดุล<br><br>The significance of the architecture of the rural house in the Northern Region of Thailand was due to its identities, fitting in well with the environment, lifestyle and socio-economy while the construction materials and technology were also appropriate. The Northern style house architecture has been continually developed for a long time based on its traditional methods. However, it was recently found that the rural dwelling places have changed greatly and have posed some problems. These were impact of modernity causing the people to emulate the house models of some urban housing projects which have a totally different context from that of the rural areas. This made the houses unable to function perfectly as a living place nor did they fit with their lifestyle and the environment. Moreover, this resulted in some vernacular architectural values to disappear. This research had the objectives of setting guidelines to design some house models whose vernacular architecture would enhance the identities of the areas with better design for all. Conservation included energy saving, appropriate technology and locally available materials. Ultimately, it was hoped that the house models would meet the needs of the rural people in terms of lifestyle, culture, economy, society and the environment. The scope of this study covered 17 provinces in the rural and suburb areas in the lowlands; that of the ethnic groups were not included. The study focused on general physical, social and economic data and surveying various house models as well as consumer behavior. As many as 30 old traditional houses and 30 of the recently constructed houses were studied. Questionnaires were distributed to 400 people in the rural areas. Discussion forums were held to collect ideas from 100 academics, architects and community members together with a contest of making house models for rural dwellers. After that, the researchers began designing some model houses for small and medium families based on the results of the study. It was found that the rural community in the past had a identities in cultural landscape and the change in the community was due to development, the people seemed to place emphasis on the beauty of plants and trees from other places rather than the kinds that fit their own lifestyles and culture. The house style was changed by adapting from the modern housing projects. This happened regardless of the good features of the older style houses based on the local wisdom and identity including light holes as well as other utility areas that were open with good air ventilation inside and outside the houses. Some large houses were left unattended or deteriorated and were eventually dismantled. On the other hand, the new generation of houses used modern kinds of materials that were easy to find and convenient. The peoples careers also changed from agriculture only to agriculture and hired labor. During the day, they made use of the open area under the house and at night they used the area in the house. So, space was adapted for multipurpose with some additional parts being added on later while the main area of the house remained a place for family interaction or gatherings. Every household used modern electric appliances but still strictly conserved the energy. The findings could be used for the future designing concept of rural houses by combining current lifestyle with the housing elements of the old tradition house style using appropriate technology for the well-balanced rural house.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ