Description
การศึกษาเจตคติของคนไทยรุ่นใหม่ต่อการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อต้องการศึกษาเจตคติของคนไทยรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 20 - 40 ปี ต่อการทำงานในบ้าน การทำงานนอกบ้านและการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของผู้หญิง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการตรวจสอบความคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชาย เพราะประเด็นความเสมอภาคหญิงชายยังคงเป็นปัญหาอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน นอกจากนั้นยังต้องการศึกษาผลกระทบจากค่านิยมทางเพศที่มีผลต่อการทำงานนอกบ้าน และการศึกษาเจตคติของคนไทยรุ่นใหม่ต่อการทำงานในบ้าน การทำงานนอกบ้านและการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของผู้หญิงรวมทั้ง เพื่อการหาแนวทางในการปรับเจตคติของสังคมต่อการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ วิธีการศึกษาวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานวิธีได้แก่ การศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยข้อมูลจากการศึกษาเชิงปริมาณนำมาสนับสนุนการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลทั้ง 4 ภาค 5 แหล่งข้อมูล ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 24 คน และการทำการสนทนากลุ่ม 72 คน การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเก็บตัวอย่างทั้งหมด 1200 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยกระบวนการสถิติทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาที่ได้ ได้ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ได้แก่ เจตคติของคนรุ่นใหม่เปิดกว้างในการยอมรับการทำงานนอกบ้านของผู้หญิง ส่วนการทำงานในบ้านก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องของผู้หญิงเสมอไป และค่านิยมในเรื่องเพศมีผลต่อการทำงานนอกบ้านและการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของผู้หญิง ซึ่งบางองค์กรหรือบางหน่วยงานอาจจะยังมีแนวคิดเรื่องชายเป็นใหญ่อยู่บ้าง ส่วนแนวทางในการปรับเจตคติของสังคมต่อความเสมอภาคหญิงชาย ควรเริ่มจากการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว การเรียนรู้เรื่องความเสมอภาคในโรงเรียนในชุมชน และสื่อต่างๆในสังคมต้องช่วยกันรณรงค์ด้วย สำหรับข้อเสนอแนะต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ก็คือการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ เช่นการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับความเสมอภาคและบทบาทหญิงชาย เป็นต้น และข้อเสนอแนะที่น่าสนใจก็คือการจัดตั้งองค์กรส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในระดับท้องถิ่น<br><br>The research of Study of new generation Thai People’s Attitude to Gender Equality Promotion is to study the attitude of the new generation, aged between 20 – 40 years old, towards women’s housework and outside work and job achievement. Besides the research also studies the impact of sexual value that influence women’s housework and outside work and to study the attitude of the new generation towards women’s housework and outside work, as well as, job achievement; in order to find the way to adjust the social’s attitude to gender mainstreaming. All of the above mentions are the objectives of this study which apply the integrated methods such as the qualitative and quantitative researches by bringing data from the quantitative research to support the qualitative researches. This study had collected data from 4 regions and 5 sources; such as, northern, north- eastern, eastern, central and southern regions include Bangkok metropolitan. The in-depth interview was carried out the qualitative research from 24 persons and 72 persons for focus group discussion respectively. The quantitative researches had collected 1,200 samplings by using social science statistic program. The analysis of the collecting data has fulfilled every aspect of the required objectives; such as, the attitude of the new generation is widely open for women to work outdoor, and it is not always necessary for women to do the housework. Nevertheless the sexual value also has an effect on women’s outside work and their job achievement, while some organization still has the attitude of male dominant. The way to adjust the social attitude against gender mainstreaming should initiate from family training, school and social campaign. The suggestion for the Office of Women’s Affairs and Family Development is to coordinate with other organizations (e.g. the Ministry of Public Health and the Ministry of Education) to improve the curriculum about gender mainstreaming and roles. The interesting recommendation is to form an organization to promote gender mainstreaming in the local level.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read