Description
การวิจัยแบบผสมนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดทำแนวทางสำหรับการให้ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
ที่มีรายได้น้อย พร้อมกับศึกษาและทบทวนบทบาทของกองทุน ที่มีการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน รวมถึงศึกษาและเสนอแนะ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอื้อต่อการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย อันจะนำไปสู่การเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำไปสู่การปฏิบัติ ให้สามารถบูรณาการ การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุกับหน่วยงานต่างๆได้ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยประกอบไปด้วย ก) ผู้กำหนดนโยบาย ที่ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวนตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 คน/หน่วยงาน รวม 8 หน่วยงาน เน้นการสัมภาษณ์แนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการเงินผู้สูงอายุ ข) ผู้ปฏิบัติการตามนโยบาย เน้นการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนจำแนกตามหน่วยทั้ง 8 หน่วยงานละ 1 คน เน้นสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาในการนำนโยบายมาปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ค) ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ได้จากการสุ่มอย่างง่าย 513 คน จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เน้นสอบถามความต้องการด้านที่อยู่อาศัยและสวัสดิการเป็นหลัก นอกจากนี้มีการใช้ข้อมูลทุติยภูมิประกอบ ข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณาและเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการให้ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย มี 2 แนวทาง หลัก ได้แก่ 1) 3แนวทางเชิงนโยบาย (การเคหะแห่งชาติในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ ผู้ประสานงานเชิงบูรณาการและผู้ให้องค์ความรู้ทางวิชาการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย) 2) 4 แนวทางเชิงปฏิบัติ (การเลือกที่ตั้งโครงการ การดำเนินงานเชิงบูรณาการ การก่อสร้างและการบริหารจัดการ) ทั้งนี้การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยโดยการเคหะแห่งชาติ ควรดำเนินการภายใต้หลักการกู้ด้วยรายได้ครัวเรือน ประกอบการจัดการปัญหารายได้ของผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยใน 3 รูปแบบ คือ 1) การจัดสรรการออมต่อจากเบี้ยยังชีพหรือบำเหน็จหรือบำนาญ 2) การจัดสรร“การลงทุนร่วม” ระหว่างการเคหะแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคเอกชน (ที่ดินหรืองบประมาณการลงทุน) 3) การจัดตั้งแหล่งทุน หรือปรับปรุง/พัฒนากองทุนสวัสดิสงเคราะห์ที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติที่มีอยู่เดิม หรืออาจจัดตั้งใหม่ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น สหกรณ์ ธนาคาร) ทั้งนี้อยู่ภายใต้นัยแห่งพระราชบัญญัติ การเคหะแห่งชาติ พ.ศ.2537 และ/หรือตามแนวนโยบายของผู้ถือหุ้น/ภาครัฐ ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยอาศัยอำนาจ/บทบาทตามกฎหมาย 5 ลักษณะ ได้แก่ ก) รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 มาตรา 80 (1) ข) แผนพัฒนาผู้สูงอายุ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 - 2564) ในมาตรการหลักประกันด?านรายได?เพื่อวัยสูงอายุ มาตรการส?งเสริมและสนับสนุนให้ผู?สูงอายุมีที่อยู?อาศัยและสภาพแวดล?อมที่เหมาะสมและปลอดภัย และมาตรการคุ้มครองด้านรายได้ ที่คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ (สำนักนายกรัฐมนตรี) เน้นส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ และมาตรการด้านครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ที่เน้นการลดหย่อนภาษีรายได้แก่บุตรซึ่งเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่เป็นบุพการีและไม่มีเงินได้รวมทั้งไม่ได้รับผลประโยชน์อื่นใดมาก่อน และมาตรการระบบบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน ในประเด็นส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรทางศาสนา องค์กรเอกชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ให้มีส่วนร่วมในการดูแลจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุโดยกระบวนการประชาคม ค) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2555-2558 ง) พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฉบับที่ 4 พ.ศ.2550 มาตรา 7(8) และ จ) โครงการพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ของสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส.) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) พ.ศ.2555 ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นจัดให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่เป็นเป้าหมายหลักของการวิจัย ซึ่งเป็นประชาชนไทยที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 70 ปี ระดับรายได้ต่อเดือน 600-15,834 บาท การศึกษาประถม-มัธยมศึกษา อาชีพรับจ้าง อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือ ตามลำดับ <br><br>This research objectives were to develop guidelines for assistance about housing for low income elderly, to study and review the role of the funds with activities in various fields, including to study of current and proposed regulatory laws for facilitating the implementation of housing for low income elderly. This research goal will lead to a recommendation in the policy into action under integration on welfare for the elderly with various agencies. Contributors to the research included a) the eight policy makers obtaining from the purposive sampling technique; one sample represented one of relevant agencies b) the eight operating policy makers selecting by simple random sampling technique from agency involved c) five hundred and thirteen low income elderly that were selected by proportion simple random sampling technique from all regions of Thailand. Data were collected from the interviewing guidelines and questionnaire. Besides, data from the secondary sources were collected. All data were analyzed by descriptive statistics and content analysis technique.
The results showed that housing guidelines for low income elderly consists of two approaches: 1) three policy guidelines (The National Housing Autority is as a national housing initiative, the coordinator of integration and the knowledge communicant in technical aspects of housing for low income elderly) 2) four practical guidelines (site selection, integrated operation, construction and management). The development of new housing projects for low income elderly by the National Housing Authority should operate under two aspects: 1) the new project by the National Housing Authority under income households lending and 2) the income’s tackling of low income elderly to access the residential projects. The first approach stresses on two ways: to be in the land of the National Housing Authority or the Local Administration or land of the elderly and to improve/develop in the former residence of the National Housing Authority. The second approach has three ways: 1) to allocate of savings from the allowance or gratuity or pension 2) to allocate of "the joint venture " between the National Housing Authority with the Local Administration or the private sector 3) to establish funding or improve/ develop the national welfare housing fund housing existing or to be established in other formats (such as cooperative banks). Moreover, both approaches are under the operating of the National Housing Act implies 1994 and/ or on the policies of the shareholders/ public sector that had been set by the State Enterprise Policy Office (SEPO), Office of the National Economic and Social Development Board (NESDB) and the investment plans of enterprises and the Ministry of Social Development and Human Security (MSDHS) under the four legal authority or role such as a) Constitution, 2007 section 80 (1) b) The 2nd National Plan on The Elderly (2002-2021) concerning measures on the income security for old age, measures on promotion and provision of their enabling and friendly housing and environment, and measures on income security. Commission and coordinated by National Seniors. (Prime Minister) on promotion in the community establish a fund for the elderly and measures on their families, caregivers and protection, measures on the service system and supportive networks especially to encourage the public and the private sectors in charge of public places to observe the required standard practice involving public places accessible to and usable by the elderly. c) Four-Year Plan 2012-2015. d) Act No. 4 Building Control Act 2007, Section 7 (8) e) a development project that suit and safe environment for the elderly of the Bureau of Empowerment for Older Persons , Office of Promotion and Protection of Children, Youth, the Elderly and Vulnerable Groups 2012. These guidelines focused on low income elderly: Thai people aged 60 years old and above but less than 70 years, female, income level from 600 to 15,834 baht per month, primary - secondary in education, lancer in the Northeast , Central, South and North respectively.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
การเคหะแห่งชาติ
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read