Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การศึกษาพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพา...

TNRR

Description
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง โดยอาศัยการดำเนินงานอย่างบูรณาการ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญต่อการดำเนินงานอย่างบูรณาการของพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง โดยมีกระบวนการศึกษาในพื้นที่ปฏิบัติการระดับตำบลใน 5 จังหวัด ได้แก่ ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตำบลโพงามและตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล การศึกษาใช้แนวทางการศึกษาในลักษณะผสมผสาน (Mix Methods Research) ระหว่างการวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผลการวิจัยได้ค้นพบว่า พื้นฐานความเข้มแข็งของชุมชนที่ได้จากการสำรวจในเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) ชุมชนมีความเข้มแข็งเป็นพื้นฐานซึ่งมีค่าเฉลี่ยในการสำรวจมากที่สุดในด้านของการที่สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเป็นสำคัญ รวมถึงด้านการที่คนในชุมชนได้สะท้อนให้เห็นว่าตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่ออยู่ในชุมชน และจากการสังเคราะห์ข้อมูลของนักวิจัยในเชิงคุณภาพ ทำให้พบปัจจัยสำคัญที่เป็นพลังของการทำงานของชุมชนที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งพึ่งพาตนเองที่อาศัยการดำเนินงานอย่างบูรณาการได้ 6 ประการ ได้แก่1) การมีจินตภาพร่วมของผู้คนในชุมชนท้องถิ่นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง2) การจัดการร่วมในเชิงสถาบัน3) การจัดการความรู้ กระบวนการมีส่วนร่วมในความรู้และการยกระดับองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ4) มีกติกา มีข้อตกลงร่วม ในการจัดการ5) บทบาทภาคประชาสังคมกับการเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาชุมชน6) การสร้าง พื้นที่กลาง หรือ พื้นที่เจรจาและปรึกษาหารือ<br><br>This research aimed to 1) study the operation in prototype areas of Integrated Community Development Towards Self-Reliance and Resilience, and 2) investigate the important components of Integrated Community Development Towards Self-Reliance and Resilience. The study was conducted in five sub-districts including Piang Luang sub-district of Wiang Haeng district, Chiang Mai province, Dong Yai sub-district of Kumphawapi district, Maha- Sarakham province, Pho Ngam and Bangkhud sub-districts of Sankhaburi district, Chai Nat province, Khao Mai Kaeo sub-districtof Kabinburi district, Prachinburi province, and Khon Khlan sub-district of Thung Wa district, Satun province. The mixed methods research design combining quantitative and qualitative methodology was utilized. The results from quantitative method using the questionnaires found that the communities had the most significant strengths in the aspects of the participation in community development and the reflection of good quality of life when living in the communities. Moreover, the synthesis of qualitative data revealed six factors affecting the communities for self-sufficiency based on integrated operation. The factors were as follows: 1) The participative imagery of community members amidst changes2) The participative management of institutions 3) The Knowledge management, the process of knowledge participation, and the improvement of knowledge to the practices 4) The participative rules and agreements for the management5) The roles of civil society as the partner for community development6) The development of common space or negotiating and counselling space

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ