Description
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น. 2565. กระบวนการสร้างคุณค่าในตนเอง ของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การยกระดับชุมชนอย่างบูรณาการ ในยุค 4.0. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท. บทคัดย่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากของกระบวนการปรับตัวในทุกช่วงต่อจากนี้ของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ บทบาทที่มีต่อเศรษฐกิจ บทบาทที่มีต่อสังคม ผู้วิจัยจึงดำเนินการวิจัยขึ้นในพื้นที่ภายใต้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางที่มีต่อการสร้างคุณค่าในตนเอง 2) เพื่อศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และ 3) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การยกระดับชุมชนอย่างบูรณาการในยุค 4.0 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบประยุกต์ (Applied Research) ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดียว สองตัวแปร และหลายตัวแปร ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มโดยมีแนวทางการสัมภาษณ์ จำนวน 2 ครั้ง รวม 12 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยได้สะท้อนถึงระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 54.0) และสะท้อนกระบวนการสร้างคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ครอบคลุม 4 ด้าน ดังนี้ 1) คุณค่าผู้สูงอายุด้านความสามารถ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับปานกลาง (ร้อยละ 40.5) โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะสามารถยังประกอบอาชีพ และเลี้ยงดูตนเองได้ และยังมีบทบาทสำคัญในการหารายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว และมีความต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนการประกอบอาชีพด้วย 2) คุณค่าของผู้สูงอายุทางด้านความสำคัญ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับสูง (ร้อยละ 56.2) โดยผู้สูงอายุสะท้อนถึงครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่ต้องช่วยส่งเสริมหรือดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุ ยังรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ผ่านการดูแลเอาใจใส่ การได้รับการยกย่อง การถูกยอมรับ และเคารพนับถือ รวมถึงการถูกยอมรับในระดับสังคมด้วย เช่น ชมรมผู้สูงอายุ และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ 3) คุณค่าของผู้สูงอายุด้านความมีอิสระ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับสูง (ร้อยละ 71.0) โดยผู้สูงอายุต้องการใช้ความรู้ความสามารถของตนเองให้เกิดประโยชน์ การได้มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนผู้สูงอายุมีพลังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมตามต้องการ 4) คุณค่าของผู้สูงอายุด้านความดี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับสูง (ร้อยละ 73.0) โดยผู้สูงอายุสะท้อนการทำความดี ทั้งต่อลูกหลาน ชุมชน หรือสังคม โดยการนำศักยภาพที่มีของผู้สูงอายุมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ส่งผลถึงการมีคุณค่าในตนเองอีกด้วย คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, คุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง<br><br>Technical Promotion and Support Office, Region 5 Khon Kaen. 2022. Processes of senior citizens selves value adding in the central part of the north-east of Thailand for sustainable community improvement. Khon Kaen: Siriphan Offset. Abstract Self-value realisation for the elderly is considered crucial for the their adjusting process from now on in many areas of life including their health, their economic role, and their social role. The researcher decided to conduct the study under the following purposes 1. To study the attitude of the elderly who live in the central part of the North Eastern region in the area of their self-value added. 2. To study the level of self value realisation in the elderly who live in the central part of the North Eastern region. And 3. To study the process of self-value added for the elderly who live in the central part of the North Eastern region to improve the community standard into the sustainable 4.0 era. We used the Applied Research approach which includes quantitative research and qualitative research. By applying the quantitative research method, the researcher collected data from the target group of 400 people and analysed the data by using one factor, two factors and multiple factors. By applying the qualitative research method, researcher used group communication approach which is by conducting 2 interviews with 12 people and analysed the data by Thematic Analysis.The result of the study reflects the level of self-value realisation of the elderly in high level. (54.0%) and indicate that the process of self-value added of the elderly who live in the central part of the North Eastern region involves 4 aspects. 1. The ability value; most of the elderly have moderate level (40.5). They are still be able to make a living and take care of themselves. They also are the major source of income generating for their family and they also welcome the assistance from the government concerning job opportunity. 2. The importance value; the elderly have high level of this value. (56.2) The elderly feel they have important role in the family by being treated with care, praises, respects by their family members and also by different social groups such as the elderly’s club and professional clubs. 3. The freedom value; most of the elderly have high level on this (71%). They want to make use their capability, they want to be able to make decision freely and also they want to spend their time wisely which includes participating in useful activities as they wish. 4. The grace value; most of the elderly have high level of this value (73%) which reflects from their gracefulness conducted by them to their family, their community, and their society. Bringing out the best of their capability not only benefits the society, the community, but it also benefits the elderly themselves.Terms: The elderly, Self-value of the elderly, The central part of the North Eastern region
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read