Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนา...

TNRR

Description
โครงการวิจัย : การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย คณะผู้วิจัย : นางสาววรรณา อรัญกุล ,นางสาวศรีวรรณ์ สระแก้ว,นางสาวพรสุดา ฤทธิธาดา นางสาวปภิญญา ฮวดศรี,นางปุญชิดา ปัญญามี ,นายวิรัตน์ สุภารักษ์ หน่วยงาน : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 ระยะเวลาโครงการ : วันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาสภาพการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ2.ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3.เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ในส่วนของ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลงิ้วด่อน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้สูงอายุตอบด้วยตนเอง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจงในกลุ่มผู้ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาด้านผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า1.สภาพการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านสังคม ผู้สูงอายุนำนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนากลุ่มอาชีพ 2) ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุสามารถนำนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงมาส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และ3)ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุสามารถนำนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพของตนเองและครอบครัว 2.ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1)ปัจจัยด้านทุนทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม 2)ทุนทางมนุษย์ 3) ทุนทางเศรษฐกิจ 3.แนวทางการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย 1) การพัฒนาทุนมนุษย์ 2) การพัฒนาทุนทางเศรษฐกิจ 3) การพัฒนาทุนทางสังคม 4) การพัฒนาทุนทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และ หน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายและแผนงานในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการของกลุ่มชุมชน การรวมกลุ่มเพิ่มอำนาจต่อรองทางการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นสินค้าจำหน่ายในท้องตลาดได้ ปัจจัยด้านทุนการเงินในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ชุมชนมีกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง และให้ชุมชนมีกองทุนเพื่อสนับสนุนการทำนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนา 1. ส่งเสริมให้ชุมชนผลิตและมีตลาดอาหารปลอดภัย 2.พัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับวัยและการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ โดยให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม ในพื้นที่อย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง 3. ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำใกล้บ้าน เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและแรงงานในพื้นที่มีงานทำไม่อพยพไปทำงานต่างถิ่น โดยมีศูนย์ประสานการจ้างงานในท้องถิ่นเพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้จ้างและ ผู้รับจ้าง และส่งเสริมให้แรงงานชุมชนผ่านการรับรองสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้สามารถประกอบอาชีพต่างๆในพื้นที่ได้4. มีกองทุนส่งเสริมอาชีพและช่วยเหลือผู้ตกงานจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา COVID - 19 5. มีการพัฒนาระบบ บวรหรือบ้าน วัด โรงเรียน ส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมที่มีศักยภาพ ในการทำกิจกรรมด้านการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสังคม การสร้างความสัมพันธ์อันดี การทำนุบำรุงและสืบสานศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง6. พัฒนาขยายกลุ่มจิตอาสาจากแกนนำเด็ก เยาวชน ผู้มีจิตอาสา ในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มเติมในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)คำสำคัญ นวัตกรรมทางสังคม, เศรษฐกิจพอเพียง,ผู้สูงอายุ<br><br>Research title: Promoting the usage of the Sufficiency Economy innovation for improving Quality of life in the Thai elderlyResearcher name: MISS WANNA ARANYAKUL, MISS , MiSS SRIWAN SRAKAEW, MISS PORNSUDA RITTHITHADA ,MISS PAPHINYA HUADSRI,MR POONCHIDA PANYAMEE, VIRAT SUPHARAK Department: Technical Promotion and Support Office 6 Period: 1 October 2020 to 31 March 2022AbstractThe objectives of this research were 1. To study the condition of using sufficiency economy innovations to improve the quality of life of the elderly, 2. To study the factors affecting the use of sufficiency economy innovation in improving the quality of life of the elderly, and 3. To find ways to promote the use of sufficiency economy innovations to improve the quality of life for the elderly. This research uses mixed-method research and quantitative research based on a survey research methodology. The sample consisted of 400 elderly people in Pho Sai Sub-district, Phibun Mangsahan District, Ubon Ratchathani and Ngew Don Subdistrict, Mueang District, Sakon Nakhon by purposive sampling. The tool used for data collection was a questionnaire that the elderly had to answer on their own. In qualitative research terms, this was a specific interview with 40 elderly development workers. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation, and the qualitative data were analyzed by content analysis. The findings revealed that 1. Conditions of using sufficiency economy innovations to improve the quality of life for the elderly in Thailand are in order as follows: 1) Social aspect: the elderly can apply sufficiency economy innovations to develop their occupational fields, 2) Environment aspect: the elderly can adopt sufficiency economy innovations to promote their knowledge of natural resource management and the environment to facilitate their lifestyle, and; 3)Economic aspect: The elderly can apply sufficiency economy innovations to develop their careers and their families. 2. Factors affecting the application of sufficiency economy innovation in improving the quality of life from the elderly were listed in the following order: 1) physical and environmental capital factors, 2) human capital, 3) economic capital. 3. Approaches to promote the sufficiency economy innovations to improve the quality of life for the elderly in Thailand were as follows: 1) human capital development, 2) economic capital development, 3) social capital development, 4) physical capital development and environment. Policy recommendations were concluded as follows: 1. Local administrative organizations in cooperation with the Provincial Social Development and Human Security Office, the District Community Development Office and relevant local agencies should issue policies and plans to promote the use of sufficiency economy innovations to improve the quality of life of the elderly in more economic In particular, increasing the management potential of community groups, merging the bargaining power of the government and developing products to be sold in the market. Financial capital factors should be promoted in order to apply sufficiency economy innovations to improve the quality of life of the elderly. In addition, it should encourage communities to have strong occupational groups and funds to support sufficiency economy innovations. Developmental recommendations were concluded as follows: 1. Promote communities to produce and market for safe food, 2. Develop learning resources for sufficiency economy according to the age and learning of the elderly by participating in at least one area per sub-district, 3. Encourage local people to have jobs near their homes so that potential elderly people and local workers have jobs to not migrate to work abroad or in other provinces. It should have a local employment coordination center to connect employers and contractors. and promote community workers through the Institute of Skill Development to engage in various occupations in the area, 4. A fund for occupational promotion and assistance to the unemployed due to the COVID-19 coronavirus outbreak should be established, 5. The bowon system or houses, temples, schools should be developed to promote the integration of sociable seniors who have the potential to engage in learning activities, to promote morality, ethics in society, building good relationships, nurturing and continuation of arts and culture, traditions, local wisdom and continually doing activities together and 6. Volunteer groups from child, youth, or volunteer leaders should be expanded to provide additional care for the elderly in the area to provide assistance to the Department of Older Persons (DOP)Keywords: social innovation, sufficiency economy, the elderly

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ