Description
โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การจัดการองค์ความรู้เรื่องการพัฒนาเมืองในบริบทของประเทศไทย มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเรื่องของเมืองและการพัฒนาเมือง ภายใต้บริบทของร่างพระราชบัญญัติพัฒนาเมือง โดยจะจัดทำหลักสูตรอบรมสำหรับนักพัฒนาเมือง พร้อมจัดให้มีการฝึกอบรมทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองเพื่อนำมาจัดทำเป็นหลักสูตรอบรมสำหรับนักพัฒนาเมือง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งสิ้น 70 ชั่วโมง การฝึกอบรมนั้นประกอบไปด้วย 4 ภาคใหญ่ๆ คือ 1) การฝึกอบรมภาคทฤษฎี 2) การศึกษาดูงานนอกสถานที่ 3) การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ และ 4) การนำเสนอและสรุปผลงาน โดยมีลำดับในการศึกษาเรียนรู้เรียงตามระดับความยากง่ายของเนื้อหา โดยประกอบไปด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมนักพัฒนาเมืองทั้งหมด 6 ระดับ ได้แก่ (1) หลักสูตรระดับเบื้องต้น (2) หลักสูตรระดับเริ่มเรียน (3) หลักสูตรระดับกลางตอนต้น (4) หลักสูตรระดับกลาง (5) หลักสูตรระดับกลางตอนปลาย (6) หลักสูตรระดับสูง
ในโครงการวิจัยฯ นี้ได้นำเอาหลักสูตรการฝึกอบรมระดับเบื้องต้นเพื่อใช้เป็นโครงการนำร่อง โดยคัดเลือกพื้นที่ขององค์กรบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ จังหวัดนนทบุรี มาเป็นโครงการนำร่อง เนื่องจากมีปัญหาหรือมีแนวโน้มของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองที่สามารถเป็นตัวอย่างในการแปลงแผนสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม บุคลากรในพื้นที่พร้อมที่จะรับการฝึกอบรมด้านการพัฒนาเมือง และพื้นที่มีนโยบายหรือแผนงานของหน่วยงานหรือองค์กรในท้องถิ่นรองรับ
ผลจากการจัดฝึกอบรมสะท้อนให้เห็นว่า หลักสูตรสำหรับนักพัฒนาเมืองนั้นมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความเข้าใจในภารกิจหน้าที่ เจตคติที่ดีต่อการทำงาน ความรู้และทักษะด้านการพัฒนาเมือง รวมทั้งความรู้และความสามารถในการประสานงานแบบบูรณาการของบุคลากรได้ในระดับดีมาก อีกทั้งหลักสูตรยังสามารถสร้างผลผลิตที่มีประโยชน์ภายหลังต่อพื้นที่โครงการนำร่อง อย่างไรก็ตามหลักสูตรฝึกอบรมก็ยังคงมีจุดด้อยที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหลายข้อ ได้แก่ 1) ต้องมีการกำหนดความหมายที่ชัดเจนของระดับของนักพัฒนาเมืองที่จะเข้ารับการฝึกอบรม 2) การปรับปรุงการวัดผลการฝึกอบรมก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม 3) การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการฝึกอบรม 4) การกำหนดรูปแบบการฝึกอบรม 5) การจัดให้มีการอบรมวิทยากรก่อนการบรรยายจริง
ในส่วนท้ายของการศึกษากล่าวถึง โครงสร้างขององค์กรพัฒนาเมือง หลักการและหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเมือง บริบทและพลวัตของบทบาทของการเคหะแห่งขาติ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน อุปสรรค ข้อจำกัด และ แนวทางการพัฒนาบทบาทของการเคหะแห่งชาติและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการพัฒนาเมือง รวมไปถึงข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาร่างพระราชบัญญัติพัฒนาเมือง
<br><br>Action Research Project: Knowledge Management on Urban Development in Thailand Context aims at studying and gathering information on city and urban development, under the context of Urban Development Act (Draft). The project will develop the training courses for Urban Developers and provide the training in both theory and practice.
The training courses for Urban Developers is a course with a total of 70 hours of training, which comprised with 4 different sectors, namely (1) Theoretical training (2) Field trips (3) Practical Training and (4) Summary and presentation of the results. There are 6 levels of the training courses, referring to the level of difficulty of the contents, which are (1) Beginners (2) Elementary (3) Pre - Intermediate (4) Intermediate (5) Upper Intermediate and (6) Advanced.
This action research brought the Beginner course into pilot project and selected Tha – it municipality, Nonthaburi as a pilot project since it has potential in implementing the results from the training since the policy and plan of area development is already exited. Moreover, staffs in the municipality are capable and ready to commit with the training.
The results from the pilot project revealed that the training course for Urban Developers (Beginners level) has its potential in empathizing staffs’ responsibilities attitudes skills and knowledge towards working of urban development areas. However, the training courses were considered to be improved as follows; (1) identify clearer definition of Urban Developers (2) adjust evaluation criteria of the test in order to apply in each course (3) modify duration of the training (4) add “Elective Subject” in the course and (5) training for trainers.
At the end of this study showed the structure of Urban Development Committee and its responsibilities. Context and dynamics of the role of local government and National Housing Authority in urban development were addressed, together with current limitations and barriers in working on urban development issues. Lastly, the guidelines for enhancing the Urban Development Act (Draft) were suggested.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
การเคหะแห่งชาติ
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read