Notifications

You are here

อีบุ๊ค

กลยุทธ์การจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่ม...

TNRR

Description
การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทพหุวัฒนธรรมภาคใต้ เป็นการศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทพหุวัฒนธรรมภาคใต้ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจและเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การจัดการชุมชน และพัฒนาระบบกลไกในการคุ้มครองดูแลกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถามและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทพหุวัฒนธรรมภาคใต้ในด้านต่างๆ ด้านเศรษฐกิจของครัวเรือน พบว่า ส่วนใหญ่มีอาชีพมั่นคงและสามารถดูแลครอบครัวได้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย นอกจากนี้พบว่า มีหนี้ในระบบและสามารถชำระหนี้ได้ตามแผนการชำระหนี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย และด้านความสามารถในการวางแผนจัดการหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย เช่นเดียวกับด้านการจัดการรายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเงินออมครัวเรือนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยแสดงให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ชาวเลที่พบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพแต่อย่างใด เนื่องจากขาดการส่งเสริมด้านการพัฒนาอาชีพและความรู้ในการประยุกต์ความรู้เพื่อสร้างรายได้และอาชีพให้เกิดความมั่นคงต่อคุณภาพชีวิตจากหน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านสังคมพบว่า คนในชุมชนยังมีการช่วยเหลือกันเมื่อผู้ใดได้รับความลำบากหรือเมื่อเกิดความต้องการความช่วยเหลือในชุมชน รองลงมา คือ ชุมชนมีผู้นำและสมาชิกในชุมชนที่ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ด้านวัฒนธรรมพบว่า ในชุมชนยังมีผู้รู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวเลและสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญานั้นสู่ลูกหลานอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับการมีแนวปฏิบัติและยึดถือประเพณี/วัฒนธรรมวิถีชาวเลให้ยังคงอยู่และสืบทอดต่อไป แสดงให้เห็นถึงความผูกพันของสายใยจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานที่ยังคงสืบสานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งยังพบว่า ยังมีผู้รู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวเลและสามารถเป็นผู้มีความรู้ในด้านนั้นๆ อย่างแท้จริง และการถือปฏิบัติตามประเพณีและวัฒนธรรมชาวเลมิได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด ด้านที่อยู่อาศัยมีที่ตั้งอยู่ในระยะที่มีบริการสาธารณูปการของรัฐ และมีบริการสาธารณูปโภคของรัฐด้านโครงสร้างพื้นฐานเข้าถึง มีความไม่มั่นคงทางที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในเรื่องของเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ที่กลุ่มชาวเลนั้นไม่ได้มีไว้ครอบครองตามกฎหมาย แต่กลับไปอยู่ในกลุ่มของเอกชนที่อ้างสิทธิ์เหนือที่ดินของชาวเล จนเกิดการขับไล่ออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และประกอบพิธีกรรมที่กำลังค่อย ๆ ถูกกลืนหายไป ความไม่มั่นคงดังกล่าวนี้ยังส่งผลต่อการทำมาหากิน ที่ได้เกิดนโยบายพัฒนาการท่องเที่ยวในแถบชายฝั่งอันดามัน ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีการทำมาหากินของชาวเล ทำให้ชาวเลไม่มีสิทธิในการเข้าไปทำมาหากินในที่ทำกินดั้งเดิมที่เคยหากินกันมาแต่รุ่นบรรพบุรุษอีกด้วย ด้านวิถีชีวิต พบว่า ผลการศึกษาด้านดังกล่าวนี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งการได้รับสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วนในการรับบริการด้านสาธารณสุขของภาครัฐ ปรากฏให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของประชากรคือด้านสาธารณสุขและการศึกษา ซึ่งชาวเลยังไม่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวเท่าที่ควรและยังมีการเข้าถึงสิทธิ์ดังกล่าวจากหน่วยงานของรัฐได้เพียงระดับปานกลางเท่านั้น เห็นได้ชัดว่าชาวเลยังไม่ได้รับสิทธิ์และสวัสดิการอันพึงได้รับเสมือนประชากรไทยคนอื่น ทั้งยังมีข้อจำกัดอีกหลากหลายด้านนักที่เป็นพลังลบให้ชาวเลยังมีคุณภาพชีวิตแตกต่างจากคนกลุ่มอื่น ด้านการส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ พบว่า การส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องทำงานแบบบูรณาการในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล สิทธิการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย การจัดการพื้นที่ดินทำกินที่อยู่อาศัยในพื้นที่ของรัฐ ด้วยการจัดทำโฉนดชุมชนเพื่อเป็นเขตสังคมและวัฒนธรรมพิเศษสำหรับกลุ่ม สิทธิการประกอบอาชีพประมง ภาครัฐเข้ามาจัดการและแก้ไขปัญหาเรื่องที่จอดเรือและการทำประมงชายฝั่ง ที่ชาวเลไม่สามารถมีสิทธิ์ในการจัดการได้ และประเด็นเรื่องการทำประมงในเขตอุทยานแห่งชาติ การส่งเสริมเครือข่ายชาวเล แนวทางในการส่งเสริมเครือข่ายชาวเล ภาครัฐควรมีมาตรการในการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการทำงานของเครือข่ายชาวเล ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนการสร้างความร่วมมือ เครือข่ายชาวเล การส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรม การส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเลและสนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมต่อเนื่อง รัฐต้องส่งเสริมและฟื้นฟูวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม ที่มีความเปราะบาง ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศไทยที่ไม่สอดคล้องกับวิถีวิกับกลุ่มชาวเล การช่วยเหลือด้านสาธารณสุข รัฐจำเป็นต้องช่วยเหลือด้านสาธารณสุขเพื่อฟื้นฟูสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ การส่งเสริมด้านการศึกษาภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องรีบดำเนินการส่งเสริมด้านการศึกษาแก่เด็กและสนับสนุนทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับจัดตั้งการศึกษาพิเศษ/หลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน เนื่องจากเด็กชาวเลออกจากโรงเรียนก่อนจบการศึกษาภาคบังคับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวทางการส่งสริม หลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม หลักการส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ และหลักการสร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อหาแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทวิถีชีวิต ด้านกลยุทธ์การจัดการชุมชน และพัฒนาระบบกลไกในการคุ้มครองดูแลกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืนในอนาคต พบว่า ผู้นำชุมชน ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของชาวเล เพื่อนำพาชุมชนชาวเลไปสู่การสร้างความเท่าเที่ยมกันในการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคม การสร้างความมั่นคงในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเสนอให้ภาครัฐกันแนวเขตที่ดินที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และเขตหากินในทะเลออกจากการประกาศเขตอนุรักษ์ การทําความเข้าใจกับรูปแบบการดํารงชีวิตของชาวเล มีความสําคัญต่อการลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา ทําความเข้าใจกับรูปแบบการดํารงชีวิตของชนเผ่าพื้นเมืองชาวเล ที่ผูกพันอยู่กับทรัพยากร มีความสําคัญต่อการลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา การเข้าถึงทรัพยากร รัฐต้องจัดการพื้นที่ให้ชาวเลสามารถเข้าถึงทรัพยากรเพื่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพประมงและเกษตรกรรม ให้ชาวเลสามารถเข้าถึงทรัพยากรของชุมชน เพื่อให้เกิดการจัดการอย่างยั่งยืน การจัดการการเข้าถึงสิทธิต่างๆของชาวเล รัฐควรรื้อฟื้นจัดตั้ง กองกิจการชาติพันธุ์ ขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดูแลพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์โดยตรง แนวคิดเขตวัฒนธรรมพิเศษ ส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่มี ลักษณะวัฒนธรรมจําเพาะ มีลักษณะเป็นชุมชนพื้นเมืองที่มีคุณค่า มี ความผูกพันในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ได้รับความคุ้มครองสิทธิ ส่งเสริมให้มีทางเลือกที่จะดํารงวิถีที่คล้ายคลึงกับของเดิม<br><br>ABSTRACTresearch study on Community Management Strategies for Improving the Quality of Life of Ethnic Groups in the Southern Multicultural Context This study was to study the problems and demand factors related to community management of ethnic groups in the multicultural context of the Southern region. To promote the quality of life of ethnic groups both physically and mentally and to introduce community management strategies and develop a mechanism for sustainable protection and care of ethnic groups by conducting mixed research It consists of quantitative research and qualitative research. Quantitative research data were collected from questionnaires and qualitative research by group discussion. The results of the study found that Problems and needs related to community management of ethnic groups in the multicultural context of the Southern region in various aspects In terms of the household economy, it was found that Most of them had stable occupations and were able to take care of their families at a moderate level, followed by having enough income for their living with a low average. In addition, it was found that There are debts in the system and can repay debt according to the debt repayment plan is average at a low level. and the ability to plan for effective debt management with an average level of As for effective income management and household savings, the average was at a low level, indicating the quality of life of the sea ethnic group, found that most of them had no occupation at all. Due to lack of promotion of career development and knowledge in applying knowledge to generate income and occupation for stability of quality of life from government agencies and related agencies The social aspect found that People in the community also help each other when people are in hardship or when there is a need for help in the community. Secondly, the community has leaders and community members who work together to drive community development in all dimensions. In terms of culture, it was found that In the community, there are still people who know about the Chaw Lay wisdom and can pass on that wisdom to their descendants at a high level. as well as having practices and upholding the traditions/culture of the Lay people to remain and carry on It shows the bond of the ancestor to the descendants who continue to carry on the culture and way of life from generation to generation. It is also found that there are still people who know about the sea wisdom and can truly be knowledgeable in that field. And the observance of the traditions and culture of the Lama people has not diminished in any way. The housing area is located within the range of public utilities. and provide public utility services for infrastructure building projects housing insecurity especially in the matter of land title documents that the Chao Lay group is not legally owned But back to the private group that claimed rights over the land of the villagers. until expulsion from the area This also includes the sacred and ceremonial sites that are slowly being swallowed up. that has formed a tourism development policy in the Andaman coast that affect the way of living of the villagers As a result, the Ley people have no right to enter and earn a living in the traditional land that they used to live for since the ancestors. In terms of lifestyle, it was found that the results of this study were moderately average. both receiving the right and complete rights to receive public health services It appears that the basic quality of life of the population is public health and education. The Chao Lay has not received such rights as they should and still have access to such rights from government agencies only at a moderate level. It is evident that Chao Lay has not received the rights and welfare they deserve like other Thai citizens. There are also a number of limitations that are negative forces for the Chao Lay people to have a different quality of life than other groups. As for the promotion of ethnic groups to have a good quality of life, both physically and mentally, it was found that encouraging ethnic groups to have a good quality of life, both physically and mentally, government, private and related agencies must work integrated in order to improve the quality of life of the ethnic people The right to build security in housing Problems of arable land and housing Management of residential arable land in the state area by creating a community deed to be a special social and cultural zone for the group Rights to engage in fishing The government came to manage and solve the problems of boat mooring and coastal fisheries. that Chao Lay cannot have the right to manage and the issue of fishing in the national park Promoting the Chao Lay Network Guidelines for promoting the Chao Leh network The government should have measures to allocate budgets to promote the work of the sea community network. to occur concretely to support the creation of cooperation Chao Lay Network to promote language and culture Promoting the local language and culture of the Lay people and supporting the budget for ongoing activities The state must promote and restore the culture of the Chaw Lay ethnic group as the original ethnic group. fragile arising from the development of Thailand that is inconsistent with the way of life of the sea people public health assistance States need to provide public health assistance to rehabilitate those affected by occupation. Promotion of education in government and related agencies Must urgently promote education for children and support scholarships continuously. along with setting up special education/local courses that are in line with the way of life of the community because Chale children leave school before completing compulsory education, promoting the development of quality of life according to Protection and Promotion of Livelihoods of Ethnic Groups Act Promotion guidelines Principles for the protection of cultural rights Principles of Ethnic Potential Promotion and principles of equality building on cultural diversity to find a development approach that is consistent with the context of

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ