Description
โครงการวิจัยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่า ความสำคัญ และการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว/ชุมชนระหว่างคนทุกช่วงวัย และมีการพัฒนาระบบกลไกในการคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีครอบคลุมในทุกมิติผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของกลไกทุกระดับโดยเฉพาะครอบครัวและชุมชนท้องถิ่นซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้สูงอายุมากที่สุด เพื่อให้การช่วยเหลือดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนโครงการวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีทั้งวิธีการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และสมาชิกช่วงวัยอื่นในครอบครัวที่มีอายุตั้งแต่ 10 – 59 ปี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จำนวน 1,000 ชุด ส่วนการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว จำนวน 15 คน กับกลุ่มตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ เช่น ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพสต.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และตัวแทนจากสมาชิกชมรม/โรงเรียนผู้สูงอายุ/องค์กรชุมชน จำนวน 15 คน สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่ จำนวน 3 ท่าน การศึกษาวิจัยใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี ช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งจากการประเมินโดยตัวของผู้สูงอายุและการประเมินโดยสมาชิกช่วงวัยอื่นในครอบครัวเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.36 ในกลุ่มผู้สูงอายุ และคะแนนเฉลี่ย 3.28 ในกลุ่มของสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งมีคะแนนเฉลี่ยรายองค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบทางด้านร่างกายมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.28 และ 3.17 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ องค์ประกอบด้านจิตใจมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 และ 3.33 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 และ 3.35 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ และองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 และ 3.30 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า นอกจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะให้คะแนนการประเมินอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 3.36 และ 3.28 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ แต่มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ องค์ประกอบด้านจิตใจมีร้อยละของการประเมินคุณภาพชีวิตในระดับที่ดีสูงกว่าองค์ประกอบด้านอื่นๆ โดยเท่ากับร้อยละ 28.20 และ 16.30 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมมีร้อยละของการประเมินคุณภาพชีวิตในระดับต่ำมากกว่าองค์ประกอบด้านอื่นๆ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 18.50 และ 21.30 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่า ในภาพรวมผู้สูงอายุมีความพึงพอใจกับคุณภาพชีวิตของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่สมาชิกช่วงวัยอื่นในครอบครัวมีความคิดเห็นในทิศทางที่สอดคล้องกัน นั่นหมายความว่า ผู้สูงอายุยังต้องการให้มีการช่วยเหลือดูแล และพัฒนาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมข้อมูลจากการสนทนากลุ่มแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่และสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในปัจจุบัน โดยในส่วนของความเป็นอยู่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว หรือมีบ้านพักอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และยังคงได้รับการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว ญาติ ตลอดจนเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ส่วนสภาพปัญหาสำคัญคือปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว การประสบปัญหาป่วยติดเตียง และการเป็นโรคอัลไซเมอร์ซึ่งพบมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งปัญหาด้านรายได้ที่ไม่เพียงพอในกลุ่มผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือผู้สูงอายุที่มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินให้กับบุตร การดำเนินงานของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน มีทั้งมิติของการช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเกี่ยวกับสุขลักษณะของผู้สูงอายุป่วยติดเตียง มิติด้านสิ่งแวดล้อมในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีสภาพเหมาะสมโดยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และการช่วยเหลือปรับสภาพบ้านให้ถูกสุขลักษณะในกลุ่มของผู้สูงอายุที่ไม่มีกำลังความสามารถโดยบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มิติด้านการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและทักษะการทำงานโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มิติด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมโดยบทบาทของชมรม/โรงเรียนผู้สูงอายุผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นต้นแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ คือ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามคุณลักษณะและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาป่วยติดเตียงควรให้การดูแลด้านสุขลักษณะอย่างเหมาะสมทั้งในด้านของการกิน อยู่ หลับ นอน โดยเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขที่มีทักษะความเชี่ยวชาญ และการจัดสภาพบ้านให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัว ผู้สูงอายุติดบ้านควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคซึมเศร้าหรือกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุติดสังคมที่ควรส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาทักษะความรู้เพื่อการปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และผู้สูงอายุที่มีทักษะความรู้/ภูมิปัญญาที่ควรส่งเสริมบทบาทการเป็นวิทยากรหรือเป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การจัดการความรู้ที่สามารถเผยแพร่หรือพัฒนาต่อยอดได้ การส่งเสริมบทบาทของเยาวชนให้ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือดูแลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ตลอดจนถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่างๆ วัยแรงงานซึ่งมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ควรส่งเสริมให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุในทุกมิติโดยเฉพาะด้านสุขภาพและรายได้ ภาคีเครือข่ายและภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน ควรมีการพัฒนาทักษะความรู้ ส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ และประสานความร่วมมือกับภาคส่วน/หน่วยงานภายนอก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ควรมีการกำหนดนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีความชัดเจน ผลักดันให้มีการขับเคลื่อนโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ จัดบริการสาธารณะและกิจกรรมที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายที่เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน โดยมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐทั้งด้านองค์ความรู้ บุคลากร งบประมาณ การจัดสวัสดิการและบริการรองรับอย่างเหมาะสม การเตรียมความพร้อมของวัยผู้ใหญ่ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ การพัฒนาทักษะและส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งการกำหนดมาตรการรองรับผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแลทั้งในด้านงบประมาณ สถานที่ และบุคลากร การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนเพื่อให้มีการสนับสนุนงบประมาณและเทคโนโลยี รวมทั้งการมาตรการในการจ้างงานอย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้สูงอายุข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่ การจัดทำฐานข้อมูลของผู้สูงอายุเพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนงานในการช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา การจัดสรรบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง การกำหนดมาตรการด้านการส่งเสริมสวัสดิการ/ระบบการคุ้มครองทางสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุ การพัฒนาช่องทางและระบบการให้บริการที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนในลักษณะของ CSR หรือ MOU เพื่อให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ รวมทั้งนำรูปแบบ/แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชนไปทดลองปฏิบัติจริงในพื้นที่เพื่อขยายผลการศึกษาวิจัย<br><br>A research project on promoting the quality of life of the elderly through participation of people of all ages in the family and community. Its purpose is to raise awareness of the value, importance and participation of people of all ages in promoting the quality of life of the elderly. To promote the elderly to have a good quality of life, both physically and mentally can be more self-reliant.As well as to promote relationships within the family/community between people of all ages. and has developed a mechanism to protect and care for the elderly. The main goal is to promote the elderly to have a good quality of life covering all dimensions through the participation process of all levels of mechanisms, especially families and local communities that are closest to the elderly. To help care and promote the quality of life is continuous and sustainable.Various research methods are employed in this research. These are quantitative research and qualitative research which includes focus-group discussions and in-depth interviews. Research sample groups for quantitative research using questionaires are elderly people aged 60 years and over and other family members aged 10 – 59 years 1,000 sets. Focus group discussions consists of 2 target groups, which are the elderly and their family members of 15 people and A group of representatives of organizations involved in the operation of the elderly in the area, such as representatives from local government organizations Sub-District Health Promoting Hospital (Public Organization), Office of Non-Formal and Informal Education (Non-School Education) and representatives from members/schools for the elderly/community organizations of 15 people. For the in-depth interviews were interviews with 3 experts who were academics from educational institutions in the area. The study was conducted for one year between April 2021 and March 2022The results showed that the quality of life of the elderly at present, both assessed by the elderly and assessed by other family members, are in the same direction. The overall assessment results were at a moderate level with an average score of 3.36 among the elderly. And a mean score of 3.28 among family members. As well as having average scores for each component as follows : physical components mean scores were 3.28 and 3.17 among the elderly and their family members, respectively. Mental components had mean scores were 3.43 and 3.33 among the elderly and their family members, respectively. The social relationship components had mean scores of 3.40 and 3.35 among the elderly and their family members, respectively. And the environmental components had mean scores of 3.39 and 3.30 among the elderly and their family members, respectively.When considering each component, it was found that, in addition to the majority of the target groups, the assessment scores were at a moderate level of 3.36 and 3.28 among the elderly and their family members, respectively. But there is an interesting observation. The mental component had a higher percentage of good quality of life assessments than the other components by 28.20% and 16.30% among the elderly and their family members, respectively. The environmental component had a lower percentage of the quality of life assessments than the other components. Which was equal to 18.50% and 21.30% among the elderly and their family members, respectively. From such information, it shows that Overall, the elderly were satisfied with their quality of life at a moderate level. Where other age members of the family have their opinions in the same direction. That means, Elderly people still need help and care. and develop to have a better quality of life especially the environmental component. The data from the focus group discussion shows the current situation of the elderlys well-being and problems. In terms of living conditions, most of the elderly still live with their family members. or have a house to live in the vicinity and still being cared for by family members, relatives and neighbors nearby Only a small percentage of people live alone. As for the condition, the main problem is health problems. Both illnesses with congenital disease Suffering from bedridden problems and Alzheimers disease, which is more common among the elderly including the problem of insufficient income among the elderly who are sick and unable to help themselves or the elderly who have debts from borrowing money to their children. Operations of various departments and sectors relevant to the present There are dimensions of health care assistance by public health agencies that play an important role in the health care of bedridden elderly. Environmental dimensions in the improvement of housing to be suitable conditions by the role of local government organizations under the budget support of the Provincial Social Development and Human Security Office. and helping to adjust the home condition to be hygienic in the group of the elderly with no capacity by the role of village health volunteers (VHVs). Educational dimensions on the development of knowledge skills in self-care and work skills by the Office for the Promotion of Non-Formal and Informal Education (NFE) Dimensions on participation in social activities by roles of the club/school for the elderly through various activities, etc. Approaches to promoting the quality of life of the elderly through participation of people of all ages in the family and community as well as various sectors related According to information from in-depth interviews with experts, they are: Promoting quality of life according to the characteristics and self-help abilities of the elderly. Elderly people who suffer from bed-ridden illnesses should be provided with proper sanitary care in term of eating, sleeping by skilled health care worker and arranging home conditions to be suitable for living with the participation of family members. Elderly stay at home should encourage participation in social activities to prevent depression or becoming bedridden. The elderly are socially attached that should be encouraged to develop skills and knowledge to adapt appropriately to the situation and the elderly with knowledge/wisdom skills that should promote their roles as speakers or informants in order to lead to knowledge management that can be disseminated or further developed. Promoting the role of youth in helping to care for the daily life of the elderly as well as conveying necessary information. Working age, which plays a role in caring for the elderly in relation to daily expenses Preparation before entering old age should be promoted in all dimensions, especially health and income. Network partners and various sectors in the community should develop skills and knowledge. Promote the role of participation in the operation of the elderly and collaborating with external sectors/organizations. Local government organizations that should have a clear policy to promote the quality of life of the elderly. Drive to be driven by the participation of various sectors. Organize appropriate public services and activities as well as to develop the potential of network partners, which is an important mechanism in operation. There is support from government agencies in terms of knowledge, personnel, budget, welfare provision and appropriate support services. Preparation of adulthood before entering old age Skill development and career promotion including setting up measures to support the elderly who lack caregivers in terms of budget, location and personnel. Coordinating with private sector agencies to provide budget and technology support. including specific measures for employment for the elderly.Additional recommendations to promote the elderly to have a better quality of life include establishing a database of elderly people for the benefit of preparing work plans to help, promote, develop, allocate personnel who have developed knowledge and skills in care. the elderly thoroughly. Determining measures to promote welfare/social protection system for elderly informal workers. Developing channels and service systems that the elderly can easily access. Coordination with private sector agencies in the form of CSR or MOU to participate in supporting operations on the elderly. As well as apply the model/guideline to promote the quality of life of the elderly by participation of people of all ages in the family and community to practice in the area to expand the research results.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read