Notifications

You are here

อีบุ๊ค

กลไกการคุ้มครองทางสังคมสำหรับเด็กในชุมชนเมื่อเข้าส...

TNRR

Description
การวิจัยเรื่องกลไกการคุ้มครองทางสังคมสำหรับเด็กในชุมชนเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการคุ้มครองเด็กในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคอาเซียน เพื่อหากลไกการคุ้มครองทางสังคมสำหรับเด็กในชุมชนเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนากลไกการคุ้มครองทางสังคมสำหรับเด็กเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการคุ้มครองเด็กในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคอาเซียน และกลไกการคุ้มครองเด็กที่มีอยู่ในชุมชน ศึกษาในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กในชุมชน ผู้ปกครอง ครู เด็กต่างชาติ ตัวแทนชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กระดับจังหวัด และผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและอาเซียนระดับประเทศ รวมจำนวน 230 คน ผลการศึกษาพบว่า กลไกการคุ้มครองทางสังคมสำหรับเด็กในชุมชนเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในการศึกษาครั้งนี้มีมิติทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านการศึกษา ได้แก่ 1) ต้องจัดให้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาให้มากขึ้น และ 2) การสร้างจิตสำนึกที่ชัดเจนให้คนชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่ด้อยโอกาส ต้องมีการประเมินความต้องการด้านการศึกษาของเด็กพิเศษเป็นกรณีเฉพาะ สร้างวิธีการเรียนการสอนที่ช่วยกระตุ้นความคิดและสติปัญญา (Cognitive development) 2.ด้านกระบวนการยุติธรรมควรวางมาตรการในการลงตรวจเยี่ยมและติดตามผลอย่างมีแบบแผนมากขึ้น บูรณาการกลไกต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน โดยอาจจะใช้ศูนย์พัฒนาครอบครัว 3.ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ดึงเด็กที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาเป็นกลไกในการป้องกันตนเองป้องกันเพื่อนในกลุ่ม กำหนดพื้นที่ของความรุนแรงต่อเด็ก ควรต้องให้เด็กเข้ามาคุยกันเพื่อทำให้ได้รับรู้สถานการณ์ปัญหา และการสำรวจและประเมินหาทรัพยากร และ 4.ด้านการมีส่วนร่วม ควรพัฒนากิจกรรมของสภาเด็กฯ ไปสู่กระบวนการคุ้มครองเด็ก มีการสำรวจสถานการณ์ข้อมูล การจัดทำข้อมูล และการวิเคราะห์พื้นที่ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ 1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำเป็นต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญหรือนักสังคมสงเคราะห์ ทีมสหวิชาชีพเพื่อให้คำปรึกษาแก่เด็กและครอบครัว 2.คณะกรรมการคุ้มครองเด็กควรให้ความสำคัญกับฐานข้อมูล พัฒนาการสำรวจสถานการณ์เด็กในพื้นที่ 3.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรเป็นเจ้าภาพหลักในการคุ้มครองเด็กในอาเซียน และจัดให้มีการติดตาม MOU ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในด้านต่างๆ ที่ได้จัดทำในพื้นที่<br><br>The research on social protection mechanisms for children in the community when entering the ASEAN community. The purpose is to study the way of Child protection in Thailand and in ASEAN region. To find a social protection mechanism for children in the community when entering the ASEAN community. And to provide policy recommendations for the development of social protection mechanisms for children when entering the ASEAN Community. Method this study is a qualitative study. It reflects the guiding principles of child protection in Thailand and at regional level in ASEAN. Study in 4 provinces include Nonthaburi, Pathumthani, Phranakhonsiayutthaya and Saraburi. with samples include Children in the community Parent Teacher Foreign children Community representative Provincial Child Specialist and Child and ASEAN Specialist total is 230 people. The study indicated that the mechanisms of social protection for children in the community when entering the ASEAN Community. In this study, there are four dimensions 1. Education includes : 1) Bringing vulnerable groups access to educational opportunities. and 2) raising awareness of community participation in the care of Vulnerable children. Special education needs assessment is required for specific children. Create a teaching style Cognitive development. 2. Justice includes : The measures should be checked, visited and monitored more systematically. Integration mechanisms existing in the community Using the Family Development Center. 3. The prevention and resolution of violence includes : Pull the target child into the mechanism of self-protection. Define areas of violence against children Should talk to get to know the situation and exploration and evaluation of resources. And 4.Participation includes : The activities of the Children and Youth Council should be developed into the child protection process. There is a situation survey Data preparation and Area analysis. The research recommendation is 1. The local government organization Need to build a specialist or social worker. Multidisciplinary team to advise children and families. 2. The Child Protection Committee should focus on the database Development of childrens situation survey in the area. 3. Ministry of Social Development and Human Security should be the main host for child protection in ASEAN and provide follow-up MOU involving children in the area.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ