Description
การศึกษาวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชน โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้สูงอายุในชุมชน โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย การพัฒนาศักยภาพกลไกเครือข่ายผู้สูงอายุและเครือข่ายแวดล้อมผู้สูงอายุ และเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชน ขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆดำเนินการในพื้นที่ เทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผลการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายผู้สูงอายุและมีผู้นำเครือข่ายที่เข้มแข็งและมีผลการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้สูงอายุ ให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาสู่พื้นที่ตำบลอื่นๆ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการใช้แบบสอบถามเก็บตัวอย่างผู้สูงอายุ ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พื้นที่ 10 หมู่บ้าน จำนวน 320 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 210 คน เพศชาย 110 คน ส่วนใหญ่มีอายุ 60 – 69 ปี และมีสถานะอยู่ร่วมกับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็น ร้อยละ 87.8 และมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ด้านการศึกษา ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ด้านรายได้กับรายจ่าย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.2 มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ในส่วนของการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมในชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.4 มีส่วนร่วมทำกิจกรรมของชุมชน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชน ที่เหมาะสมตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุ โดยใช้กิจกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนงาน ใน 4 มิติ พบว่า ด้านสุขภาพ ควรส่งเสริมศักยภาพอย่างเป็นระบบให้แก่ผู้สูงอายุเพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี กลุ่มวัย มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้ การดูแลตนเองและครอบครัว ให้ปลอดภัยห่างไกลโรค และทุกกิจกรรมต้องมีความต่อเนื่องและเข้ากับบริบทของชุมชนได้ดี ในภาวะการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ผู้สูงอายุต้องมีความระมัดระวังอย่างเข้มงวด ควรมีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพครบวงจร (Day Care) ด้านสังคม ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์ ผ่านกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น การจัดกิจกรรมพัฒนากายใจคนสามวัยในชุมชน การส่งเสริมกิจกรรมการรวมกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ ซึ่งทุกกิจกรรมต้องมีความต่อเนื่อง การออกพบเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้าน และติดเตียง โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น ชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัคร ผู้นำชุมชน การเป็นผู้นำเข้าร่วมจัดกิจกรรมทางศาสนาของชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม/จริยธรรมอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อม จัดให้มีสถานที่กลางดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (Day Care) จัดให้มีสวนสุขภาพ หรือสถานที่ออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และคนในชุมชนที่เหมาะสมและปลอดภัย ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ในครัวเรือน ส่งเสริมให้มีการคัดแยก ขยะ ทุกหมู่บ้าน จัดให้มีธนาคารน้ำทุกหมู่บ้าน กล่าวโดยสรุป จากผลการพัฒนาศักยภาพใน 4 มิติ พบว่า การพัฒนาในมิติสุขภาพ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งผู้เสนอในเวทีต่างให้ข้อสะท้อนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการ B พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการหนุนเสริมความรู้ เสริมทักษะในการดูแลสุขภาพ เนื่องจากเห็นว่าปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ กลไกหลักในการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ได้แก่ เทศบาลตำบลท่าเสา โรงเรียนผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จากผลการวิจัยดังกล่าว คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ครบวงจร และมีกลไกการบริหารจัดการที่ชัดเจน และมีงบประมาณ ที่เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรมหนุนเสริมการทำงานของผู้สูงอายุในชุมชน และควรกำหนดนโยบายการขับเคลื่อนงานให้แก่กลไกการทำงานด้านผู้สูงอายุ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพ ของผู้สูงอายุในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุผ่านกลไกการทำงานในระดับพื้นที่ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนและภาคีเครือข่ายข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่าย ควรจัดทำแผนบูรณา เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุในชุมชนให้ชัดเจน นำไปปฏิบัติได้การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ควรกำหนดประเด็นให้ตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุ และมีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ควรมีเวทีสำหรับแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาเพื่อให้เห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ การจัดกิจกรรมกับผู้สูงอายุ ควรเกิดจากการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ และสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทำงานด้านผู้สูงอายุ ควรดำเนินการในรูปแบบคณะทำงาน มีแผนงาน ที่ชัดเจนปฏิบัติได้จริง และควรสนับสนุนกลไกการทำงานระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เช่น เครือข่าย อสม. และผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) และสนับสนุนให้มีการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน รวมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำข่าวสารสำคัญมาเผยแพร่แก่ชุมชน<br><br>BAbstractA research study on Guidelines for Developing the Potential of the Elderly in the Community with the Cooperation of Network Partners with a purpose to analyze the guidelines for the development of the network of the elderly in the community through the cooperation of network partners, the potential development of the elderly network mechanism and the elderly environment network and to prepare a proposal for developing the potential of the elderly in the community expanding to other areas. This study was held at Tha Sao Subdistrict Municipality, Muang Uttaradit District, Uttaradit Province by using a purposeful sampling method. The sample in this study derived from a strong elderly network and outstanding leadership which worked closely with the Ministry of Social Development and Human Security in order to improve the potential of the elderly network that could be a model for other areas. The research methodology is mixed, including quantitative research by using a questionnaire to collect data from the elderly in the municipality area with 320 participants from 10 villages of Tha Sao Subdistrict, Mueang Uttaradit District, Uttaradit Province, and qualitative research by organizing a workshop, focus group, and an in-depth interview.The results of the study showed that most of the sample group were female (210 cases) while 110 were males. Most of them were aged between 60 and 69 years and were living with their families (87.8 %). The majority of this group had their own residences. 60.9 % of the population had graduated primary school. In terms of income and expenses, it was found that most of them (81.2 %) did not earn enough to meet their expenses. This study also found that 79.4% participated in community activities.The results of a qualitative research, by analyzing the guidelines for the development of the elderlys potential in the community which is suitable for the needs of the elderly, can be found in four areas: Health, Social, Economic and Environment. In terms of health, the study suggested that it is necessary to have a holistic approach to promote the capacity of the elderly to have both good physical and mental health while supporting the elderly to keep up with the changes in their bodies, emotions, and intellect in order to have good self-care and be free from any diseases. In addition, every activity must be Bcontinual and fit well within the communitys context. During the Covid 19 epidemic, the elderly must be rigorously cautious. A comprehensive health promotion center (Day Care) should be established. In the Social aspect, this study indicated that it is important to promote the exchange of knowledge and experiences through activities in schools for the elderly, such as organizing activities to develop the body and mind of all generations in the community, promoting activities to gather the elderly to create jobs and incomes, during which every activity should be held regularly. Also, home visits by community networks such as the elderly clubs, volunteers and community leaders to the elderlys homes (especially those who stay home full time) is necessary. Participation in the community’s religious, moral and ethical activities for the elderly and family members needs to be done to promote the quality of life for this population. For the environmental areas, this study recommends various activities to be implemented in every village such as a day care center, a safe public exercise center, a home-grown garden, waste separation and a water bank. For the economic areas, career promotion is necessary for all elderly especially those who still have the potential to work, for example, organizing additional occupational training that is suitable for the elderly, income generation for the elderly with disabilities, knowledge support to expand the production and distribution of the elderly product, especially the market procurement and distribution channels for the elderly, promotion of elderly grouping to produce and sell products in groups with their own brands.In conclusion, from the results of potential development in 4 areas, it was found that promoting in the health area is the most essential for the elderly. Key information from the forums reflected that there is a great need for continuous improvement in terms of knowledge support, skills enhancement in health care because of health problems of the elderly will affect the quality of life of the elderly. Key main mechanisms for driving work at the local level are: Tha Sao Subdistrict Municipality, seniors’ school, seniors club, and the center for improving the quality of life and promoting occupations for the elderly.From the results of this research, researchers have made policy recommendations for the Ministry of Social Development and Human Security as follow: upgrade the Center for Quality of Life Development and Occupational Promotion for the Elderly to be one-stop Bservice center with a clear management mechanism and sufficient budget to support the work of the elderly in the community. Also, establish a policy to drive work for the mechanism for working on the elderly in accordance with the potential development guidelines of the elderly in the community. Moreover, local government organization should support the movement of elderly through working mechanisms at the local level to meet the needs of the elderly in the community and network partners.Recommendations at the operational level to government agencies and network partners are as follow: All agencies involved should develop an integration plan to support the driving of the elderly in the community and it needs to be clear and practicable. Organizing activities to develop the potential of the elderly and the issues should be set to meet the real needs of the elderly and has a systematic follow-up and evaluation. There should be a forum for sharing ideas and learning about the lifestyle of the elderly and exchanging wisdom in order to gain self-worth and self-esteem of the elderly.Suggestions for future use as follow: organizing activities with the elderly should be based on the analysis of issues and needs of the elderly and in line with the current situation. The creation of a network of cooperation in working on the elderly should be carried out in the form of committee with clear and practical plans. Create continuous support for working mechanisms at the local level such as the village health volunteers (VHV) network and care givers. Support the establishment of a forum to return information to the community as well as organizing a forum for exchanging knowledge in order to provide important information to the community.Keywords Elderly, Elderly Network, Cooperation, Network Partners, Potential Development
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read