Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อา...

TNRR

Description
ภาคเหนือ งานวิจัยนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการเคหะแห่งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องสำรวจศึกษาเก็บรวบรวมองค์ความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษมาจัดเก็บในฐานข้อมูลและผลิตสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เผยแพร่ให้สาธารณชนได้เรียนรู้และนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงอยู่ต่อไป การดำเนินงานวิจัยใช้แนวทางจากโครงการนำร่องที่ดำเนินการไปแล้วคือ โครงการศึกษารูปแบบและวิธีการจัดทำชุดองค์ความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย กรณีศึกษา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาสำรวจรังวัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดการความรู้จากเรือนพื้นถิ่นแบบประเพณีดั้งเดิมจำนวน 18 หลัง จาก 15 ชุมชนใน 10 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ผลการศึกษาพบว่าด้านการตั้งถิ่นฐาน มีปัจจัย 4 ด้านที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ส่วนด้านรูปแบบเรือน พบเรือน 4 ประเภท ได้แก่ เฮือนบ่ะเก่าจั่วแฝด เฮือนบ่ะเก่าจั่วเดี่ยว เฮือนสมัยกลาง และเฮือนกาแล โดยเรือนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 72 เป็นเฮือนบ่ะเก่าจั่วแฝด และพบเฮือนกาแลซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฮือนล้านนาที่สำคัญเพียงหลังเดียว องค์ประกอบในบริเวณบ้าน และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนที่สำรวจยังคงมีหลงเหลือให้เห็นและบางอย่างยังคงใช้งานอยู่ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง แต่พบการเปลี่ยนแปลงบ้างตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการจัดการความรู้ ได้จัดทำสื่อสารสนเทศใน 4 รูปแบบ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ขนาด 24”x36” จำนวน 20 แผ่น เพื่อใช้สำหรับการนำเสนอข้อมูล องค์ความรู้ที่เป็นรายละเอียดของชุมชนในพื้นที่โครงการในภาพรวม วิถีการอยู่อาศัย และเรือนไม้ในแต่ละหลัง ใช้สำหรับการจัดแสดงหรือติดแสดง การจัดนิทรรศการเพื่อการเผยแพร่ สื่อวีดีทัศน์ จำนวน 3 เรื่อง เพื่อการนำเสนอข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงบรรยาย สื่อเว็บไซต์ จำนวน 1 เว็บไซต์ เพื่อการจัดเก็บรวบรวมองค์ความรู้ ข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดของโครงการ และนำเสนอรายละเอียดขององค์ความรู้ทั้งหมด ประกอบด้วยภาพถ่าย, ภาพกราฟิก, ตัวหนังสือบรรยาย, ภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบรรยาย รวมถึงภาพเคลื่อนไหวที่เป็นภาพ 3-มิติ เชื่อมโยงเข้ากับระบบฐานข้อมูลสารสนเทศขององค์กร สะดวกต่อการสืบค้นข้อมูล และสื่อหนังสืออิเลคทรอนิคส์ จำนวน 1 เล่ม นำเสนอข้อมูลอย่างละเอียดของข้อมูลทั้งหมด เพื่อการจัดแสดงทั้งในระบบออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และการจัดแสดงในห้องนิทรรศการ ภาคใต้ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้” เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัยที่มุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ ที่มีต่อสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิต และนิเวศน์วิทยาสิ่งแวดล้อมซึ่งหล่อหลอมให้แต่ละพื้นที่มีการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างกันไปตามบริบทแวดล้อม ก่อตัวเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมเฉพาะท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ และทรงคุณค่าต่อการเรียนรู้เพื่อนำองค์ความรู้มาประยุกต์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นไว้เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมในการพัฒนาในมิติต่างๆ ต่อไป การศึกษาวิจัยนี้เน้นกระบวนการวิจัยภาคสนามในพื้นที่ศึกษา ใน 9 ตำบล คือ ต.ทะเลน้อย ต.พนางตุง อ.ควนขนุน, ต.ลำปำ ต.หานโพธิ์ ต.คลองขุด อ.เมืองฯ, ต.จองถนน อ.เขาชัยสน, ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว, ต.ปากพะยูน ต.ฝาละมี ต.เกาะนางคำ อ.ปากพะยูน ครอบคลุมทุกอำเภอในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในเขตการปกครองของจังหวัดพัทลุง ทั้งนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการวิจัยที่ต้องการทราบข้อมูลในลักษณะของภาพรวมอันเป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของพื้นที่จึงจำเป็นต้องใช้เรือนกรณีศึกษามากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้เกิดความหลากหลายของกรณีศึกษา และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมก่อนที่จะนำมาสู่ขั้นตอนการอภิปราย วิเคราะห์ผล และสรุปเป็นองค์ความรู้ว่าด้วยพัฒนาการ และรูปแบบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าในจังหวัดพัทลุง โดยมีเรือนที่ทำการศึกษา สำรวจรังวัด บันทึกภาพ ตลอดจนการสัมภาษณ์เจ้าของเรือน รวมทั้งสิ้น 58 หลัง โดยจำแนกเป็นกรณีศึกษาใน อ.ควนขนุน คือ ต.พนางตุง 9 หลัง, ต.ทะเลน้อย 3 หลัง, อ.เมือง คือ เทศบาลลำปำ 19 หลัง, ต.ลำปำ 3 หลัง ต.หานโพธิ์ 7 หลัง อ.เมืองฯ, อ.เขาชัยสน คือ ต.คลองขุด 1 หลัง, ต.จองถนน 7 หลัง, อ.บางแก้ว คือ ต.นาปะขอ 3 หลัง, อ.ปากพะยูน คือ ต.ฝาละมี จำนวน 6 หลัง ในการวิจัยได้พบองค์ความรู้ใหม่จำนวนมากที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ และได้สรุปผลการวิจัยเป็นลักษณะของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว โครงการวิจัยยังได้จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา ตลอดจนวิถีชีวิตการอยู่อาศัย ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ การสำรวจรังวัด สถาปัตยกรรมโดยละเอียดเพื่อนำมาจัดทำแบบสถาปัตยกรรม 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลอันจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ นอกจากนี้ เพื่อให้งานวิจัยที่ดำเนินการนั้นเป็นประโยชน์สู่สาธารณะอย่างแท้จริง ทั้งในวงการวิชาการ วงการวิชาชีพ ตลอดจนผู้ที่สนใจ ในการนี้ ผู้วิจัยจึงได้ผลักดันให้นำไปสู่การเผยแพร่ในลักษณะบทความวิจัยเพื่อการเผยแพร่ความรู้ในวงวิชาการและวิชาชีพ และมีการจัดทำสื่อการเรียนรู้ประเภทต่างๆ อาทิ เวปไซต์ สื่อผสม (Multimedia) ประเภทสื่อวีดีทัศน์ นิทรรศการโปสเตอร์ หนังสือ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเผยแพร่สู่สังคมและสาธารณะอย่างแพร่หลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรือนพื้นถิ่นเป็นสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัยที่มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในแต่ละภูมิภาค การศึกษาที่อยู่อาศัยเพื่อทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อม ธรรมชาติของที่ตั้ง ตั้งแต่ระดับชุมชน จนถึงระดับบ้านพักอาศัยทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์และความสอดคล้องกันของที่อยู่อาศัยกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และเข้าใจการปรับตัวและยอมรับเงื่อนไขอันเกิดจากสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่อยู่อาศัยและเทคนิคในการก่อสร้างในปัจจุบัน ทำให้เอกลักษณ์ของที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงและได้ส่งผลกระทบต่อองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในการก่อสร้างบ้านเรือนซึ่งนับวันก็จะสูญหายไป ดังนั้น โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านรูปแบบที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยของคนอีสาน โดยการจัดการความรู้ในรูปแบบสื่อลักษณะต่างๆ เพื่อให้พร้อมในการนำไปใช้สำหรับเผยแพร่ให้สาธารณชนได้เรียนรู้ นำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย โครงการจึงทำการเก็บตัวอย่างเรือนพื้นถิ่นที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์และเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสะท้อนถึงพัฒนาการในการอยู่อาศัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย โดยเลือกสำรวจเรือนทั้งหมดจำนวน 15 หลัง กระจายตัวอยู่ตลอดแนวที่ราบลุ่มน้ำในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูหลวง อ.วังสะพุง อ.เมืองเลยและอ.เชียงคาน ผลการศึกษาพบว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชนบริเวณลุ่มน้ำเลยยังคงมีที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถพบรูปแบบที่อยู่อาศัยที่สะท้อนถึงการดำเนินชีวิตของผู้คนที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมกายภาพและด้านสังคม-วัฒนธรรม พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นที่รวมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ได้แก่ ไทเลย ไทดำและไทพวน ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่า มีทั้งเรือนพื้นถิ่นที่มีรูปแบบตามแบบประเพณีตามแบบแผนของภาคอีสาน เช่น เรือนเซียหรือเรือนเกย และเรือนรูปแบบที่มีการปรับตัวผสมผสานกับวัฒนธรรมในชุมชนเมืองที่มีรูปแบบเป็นเรือนมุขหลังคาปั้นหยาและเรือนใต้ถุนต่ำ เป็นต้น ขณะที่วิธีการก่อสร้างและที่มาของวัสดุสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรที่อยู่ในท้องถิ่นที่เป็นการประสานความสัมพันธ์ประเด็นทางสังคมและการก่อรูปของกายภาพที่อยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาช่างในท้องถิ่นได้อย่างพอดีและมีความยั่งยืน ภาคกลาง สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยในแต่ละท้องถิ่นนอกจากจะสะท้อนให้เห็นความซับซ้อนทางสังคมวัฒนธรรมในแต่ละท้องที่แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีในการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม บ้านเรือนที่เกิดจากการสั่งสมภูมิปัญญาเหล่านี้มีการปรับตัวไปตามเงื่อนไขทางสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น อย่างไรก็ตามท่ามกลางกระแสการพัฒนาของประเทศในช่วงที่ผ่านมา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงและมีจำนวนลดลงอย่างมากในหลายท้องที่ การเคหะแห่งชาติ โดยฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษด้านการสร้างที่อยู่อาศัยต่างๆเหล่านี้ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น (พื้นที่ภาคกลาง)” จึงเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้รูปแบบที่อยู่-อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยของคนไทยในภาคกลาง มาจัดการความรู้ ประมวลเป็นชุดองค์ความรู้ แล้วผลิตเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆเผยแพร่ให้สาธารณชนได้เรียนรู้ และนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงอยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป โครงการวิจัยนี้ได้ทำการเลือกศึกษาและสำรวจบ้านเรือนพื้นถิ่นที่มีลักษณะแบบประเพณีดั้งเดิม ในเบื้องต้นจำนวน 30 หลัง และในรายละเอียดจำนวน 15 หลัง และ 5 หลัง โดยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ ในบ้านละหานใหญ่ (หมู่ 5) ตำบลตำหรุ และบ้านไร่สะท้อน (หมู่ 4) ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากเป็นพื้นที่ศึกษาที่ยังคงบ้านเรือนที่มีศักยภาพการดำรงอยู่ของคุณค่าศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น จากการศึกษาพบข้อคิดสำคัญที่สามารถกล่าวได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ลักษณะและองค์ประกอบในภูมิทัศน์ของบ้านในพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ ทรัพยากร และวิถีชีวิตของท้องถิ่น องค์ประกอบเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะสะท้อนถึงความสัมพันธ์เชิงสังคมของท้องถิ่นและส่งผลต่อภาพลักษณ์ของท้องถิ่นแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่ยังคงความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการประกอบอาชีพทางการเกษตรตามแนวคิดเศรษฐกิจ-พอเพียง ส่วนที่สอง คือ ลักษณะเรือน เรือนไทยเมืองเพชรในพื้นศึกษาส่วนใหญ่ยังคงมีลักษณะตามแบบแผนประเพณีของท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง หลังคาทรงสูงในลักษณะจั่วคู่ของเรือนประธานและหอหน้า ล้อมรอบด้วยระเบียงข้าง ในบางเรือนจะพบหอพระ ซึ่งโดยมากเป็นเรือนขวางกับเรือนประธานและหอหน้า นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดองค์ประกอบที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์เฉพาะตามวิถีในการอยู่อาศัยและความเชื่อตามของท้องถิ่นและตามบรรพบุรุษของแต่ละครัวเรือน แม้ว่าส่วนใหญ่ยังคงมีลักษณะตามแบบแผนของท้องถิ่น เรือนเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การเปลี่ยนแปลงในเรือนชั้นบน ซึ่งมักเป็นในแนวทางอนุรักษ์และสร้างความสอดคล้องกับลักษณะทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบประเพณีของท้องถิ่น โดยเฉพาะบริเวณระเบียงข้าง ซึ่งมีลักษณะที่กดต่ำ ทำให้สัดส่วนเรือนในชั้นบนเกิดสุนทรียภาพของความลดหลั่นของรูปทรงเรือนกับสภาพแวดล้อม ส่วนที่สอง คือ บริเวณใต้ถุนเรือน ซึ่งพบได้โดยทั่วไปในชุมชน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของท้องถิ่น แต่ก็ยังคงรักษาคุณลักษณะการเปิดโล่งของเรือนเอาไว้ได้และยังแสดงให้เห็นถึงความเคารพต่อสิ่งที่มีคุณค่าดั้งเดิม จากการศึกษาพบว่าแม้ว่าวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับเรือนในพื้นที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เรือนเหล่านี้ยังคงสะท้อนให้เห็นทั้งการอนุรักษ์ความเป็นประเพณีและการปรับตัวตามวัสดุและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยังสามารถสร้างให้เกิดสุนทรียภาพทางสถาปัตยกรรม วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นได้อย่างลงตัว ในส่วนของการจัดการความรู้ ข้อมูลการศึกษาที่ได้รับทั้งหมดถูกนำมาประมวลและจัดทำเป็นชุดสื่อองค์-ความรู้ใน 5 รูปแบบ คือ 1) สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ จำนวน 18 แผ่น 2) สื่อวีดีทัศน์ จำนวน 3 เรื่อง 3) สื่อเว็บไซต์ จำนวน 1 เว็บไซต์ 4) สื่อหนังสืออิเลคทรอนิกส์ จำนวน 1 เล่ม และ 5) สื่อบริการบนเครือข่ายสังคมในรูปแบบ Facebook Page ของโครงการวิจัยฯ ที่นอกจากจะบรรจุข้อมูลโครงการฯแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงสู่ระบบสารสนเทศของการเคหะแห่งชาติและโครงการฯอีกทั้ง 4 ภาคด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างเครือข่ายของนักวิชาการและผู้สนใจมีความกว้างขวางมากยิ่งขึ้น<br><br>North This study was initiated by the National Housing Authority by its awareness of the significance of the survey to collect the knowledge on the habitation and way of life of the ancestor’s wisdom. The knowledge was to be installed in a database and information distribution schemes were to be set up to disseminate the knowledge for the public to learn and further develop it to preserve and pass on the respective local wisdom. This research adopted and continued the previous pilot project studying the formats and knowledge management method on the habitation and way of life, the Mae Chaem District, Chiang Mai Province case study. This survey and data collection was conducted for knowledge management of 18 traditional houses in 15 communities of 10 districts in Chiang Mai and Lamphun Provinces. The study results show 4 factors that created the specific characteristics of a settlement in the area, namely political and administrative factors, physical factors, social factors and economic factors. As for the styles, there were four of them: the twin-roof house, the single roof house, the middle period house and the Kalae house. Most of them (72%) were of the twin roof style. Some of the house elements including the surrounding structures and architectural elements could be found and some were used in the people’s daily lives. The changes were due to the change in the lifestyle. The outcomes of knowledge management were the production of four types of information media. One of these was 20 posters 24” X 36” for the presentation of the information on detailed knowledge about the communities in the project area to give an overall picture concerning the people’s way of living and each of the wooden houses for display. There were also three videos for moving pictures and sound narration as well as one website for collecting all the knowledge and information of the project through photographs, graphic pictures with captions, moving pictures with narration and three dimensional pictures linking to the information database of the organization for convenient access. Moreover, one e-book containing all the detailed information was produced to be displayed online via the Internet as well as an exhibition. South “A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing for Knowledge Management in the South of Thailand” is a part of the research project aiming at studying the local wisdom and ways of life along with vernacular architecture, and relationship with ecology and surroundings. These factors lead to different types of valuable vernacular architecture which own its identity. The knowledge from the studies can be adapted for sustainable development and, moreover, is still the resource for cultural development in a long run. This is a holistic research, as a result, a large number of houses are selected so as to find out different forms which then lead to analysis and conclusion. The process includes taking photos, measurement, and interview. There are 58 houses: 9 houses in Phanang Toong Subdistrict, 3 houses in Talay Noi Subdistrict, 19 houses in Lumpum Municipality, 3 houses in Lumpum Subdistrict, 7 houses in Haan Pho Subdistrict, 1 house in Khlong Khud Subdistrict, 7 houses in Jong Thanon Subdistrict, 3 houses in Na Pa Kho Subdistrict, and 6 houses in Falamee Subdistrict. The deep investigation in the areas of the study brings about sources of knowledge in terms of vernacular architecture and built environment. The outcome of the study is the knowledge concluded in the final report, with the IT database about vernacular architecture, ways of life, GIS, architectural measurement which then leads to 2D and 3D architectural models. This research is also prepared in forms of a website and multimedia, including VDOs, posters, books, and e-book so that the knowledge can be spread and acquired by various groups of people. North East Vernacular house is the architecture for living that has been created harmoniously with its local environments. Consequently, the study of housing styles and settlements in each region can manifest an understanding of the relations and adaptations to their natural settings, living environments, economic conditions and socio-cultural contexts. Presently, housing style and construction methods have been changed from time to time, therefore a current condition of the transformation of house style has accelerated the loss of cultural identity and the decline of local wisdom. This research, “A Study for Knowledge Management on Local Wisdom through Traditional Housing and People’s Way of Life in the North-east Region”, has been conducted aiming to collect local ways in constructing traditional house style and people’s lifestyle in order to dissimilate the knowledge from research findings in a various forms of medias for public to learn in accordance with their interests. Field research conducted in 4 districts along the Loei River Basin including Phu Luang district, Wangsapung district, Muang district and Chiangkhan district through 15 various house styles selected as house samples that reflected the development of housing style in the focused area. The results reveal that the community settlements along the Loei River Basin have maintained traditional housing styles that reflected local wisdom in accordance with people’s way of life, socio-cultural factors and their living environments. Moreover, this area has also the melting pot for the settlement of diverse ethnicities including Tai Loei, Tai Dam and Tai Phouane. Housing styles have indicates a continuous development from various factors in the area, from the one that indicate the traditional Northeastern housing style, the Xier House of the Koei House, to the recently developed style which has influenced from row house in urban area, the Gable-roofed and the Low-under floored-space Style. Housing construction methods and materials have show a harmonious relationship between the management and the use of available local resources associated with social and physical dimensions through the creation of local craftsmanship that built up on the concepts of appropriateness and sustainability. Central Region Vernacular houses in a particular locality reflect not only the socio-cultural complexity of each local place, but also the local wisdom of living with environment as well as the appropriate uses of local resources and construction technology. These houses have always changed in accordance with the social and environmental conditions of the locality. However, during the rapid progression of modernity and urbanization over the past many years of the country, vernacular houses which are considered as a cultural heritage have significantly changed as well as reduced in numbers in many places. The National Housing Authority (NHA) through the works of Department of Housing Development Studies has realized the values of local wisdom in these kinds of houses. “A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing for Knowledge Management (Central region)” was inaugurated with aiming to compile knowledge of vernacular houses and people’s ways of life in the central region, and to manage all data as a synopsis to express in various types of media that can be disseminated to the public realms. The definite goal of this study is to make all precious local wisdoms to remain and to continue with the development of Thailand. 2 main locations at Ban La-Han-Yai (Moo 5) of Tambon Tamru and Ban Rai-Sathon (Moo 4) of Tambon Thamrong, Ban Lat district, Phetchaburi province were selected because they still express a wonderful array of vernacular houses, maintaining craftsmanship, culture and wisdom of the locality and their environment. 30 households were selected and surveyed in preliminary. Then, 15 houses and 5 houses remained in traditional patterns of the communities were selected, and further examined in details using methods of observation and interviews. This study found two important aspects. First, characteristics and elements of landscape around the houses always reflect their relationship with ecological system, resources and ways of life of the locality. They have constantly changed in accordance with the conditions of social, economic and environment. This study also found that the existing landscape components in the studied areas not only reflect social relation that has resulted in the images of the community, but also express the adaptation of the local residents towards changing environment. This has manifested with their agricultural occupations emphasizing self-sufficient economy. Second, most vernacular houses (or Reun Thai Meung Phetch) of the studied villages have remained in traditional patterns of the community. These houses are wooden, built on stilts with high-pitched roofs, which usually appear with a pair roof of a main house and a front hall (or Hor Nha), surrounded by a space resembling verandah (or Rabeng Khang). In some houses, a pavilion, called Hor Pra which is often used for seating places of the monks during ceremony at home is also found, and usually placed lengthwise in opposition to the main house and the front hall. These studied traditional houses also consist of the elements reflecting their identity in accordance with their ways of living and beliefs of a particular family. Though mostly remaining in traditional patterns, these vernacular houses have constantly changed, which can be mentioned into 2 parts. The first part is the changes on the upper floor of the houses, which usually express in both of conservation and modification in harmony with local tradition of architecture. This can be clearly seen from modifying the house with Rabeng Khang, appearing with modest proportion, and thus generating a peculiar aesthetic quality of the relationship between the house and environment. The second part is the modification around the space underneath the houses, which is generally found within the communities. Although this modification has resulted in changing living atmosphere of the locality, it still keeps an openness quality of the house and expresses some respectfulness to the valuable elements of the past. This study found that even though the residents’ ways of living the house in the studied area have changed, these houses have expressed both conservative and flexible parts. The flexible part of those houses has been evolved with the changes of materials and technology available in the society. This, however, has expressed appropriate blending between architectural aesthetics, lives, and local environment. In the part of knowledge management, all data gained were compiled and then established with 5 types of knowledge media: 1) 18 posters, 2) 3 stories of video with the format of documentary program, 3) 1 Website design compiled all data of this study, 4) an electronic book, which is a final report of this study, and 5) the establishment of Facebook page of this study that illustrates not only data of this study, but also create a link to the Facebook pages of National Housing Authority (NHA) and other studies under the main research project. All these media were designed and established in order to publicize all knowledge revealing in this study and to create as well as to expand the networks among those scholars and all people who are interested in this field.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ