Notifications

You are here

อีบุ๊ค

กลยุทธ์ส่งเสริมการออมให้แก่วัยผู้ใหญ่เพื่อเตรียมกา...

TNRR

Description
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ลักษณะการออม ความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยที่มีผลต่อการออม ความต้องการสนับสนุน และกลยุทธ์การส่งเสริมการออมให้แก่วัยผู้ใหญ่ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในพื้นที่ ตำบล เป็นจำนวน 4,284 คน ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการสนทนากลุ่มในพื้นที่ 36 ตำบล จำนวน 36 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนารายละเอียดตีความจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต ผลการศึกษาโดยสรุปมีดังนี้ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการออมระดับมาก ทัศนคติต่อการออมระดับสูง มีพฤติกรรมการออมในระดับปานกลาง ความรู้เกี่ยวกับการออม ทัศนคติเกี่ยวกับการออม ปัจจัยทาง จิตวิทยา ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยทางสังคม มีผลในเชิงบวกต่อการออม โดยปัจจัยทางจิตวิทยา สามารถอธิบายตัวแปรการออมได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยทางสังคม สามารถอธิบายตัวแปร การออมร่วมกันได้เพิ่มขึ้น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับการออม และทัศนคติเกี่ยวกับการออม อธิบายตัวแปรการออมร่วมกันได้ กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการเกี่ยวกับความรู้ด้านการออม และต้องการ อาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ กลยุทธ์ส่งเสริมการออมให้แก่วัยผู้ใหญ่มี 3 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ การส่งเสริมการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย กลยุทธ์การส่งเสริมความรู้สู่การออม และกลยุทธ์การสร้าง ความตระหนักในการออม ข้อเสนอแนะ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรส่งเสริมการออม ในระดับชุมชนโดยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของกองทุนสวัสดิการชุมชนให้เกิดการจ่ายผลตอบแทนแก่สมาชิก เป็นบำนาญรายเดือน การให้ความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมให้แก่ประชาชนทุกช่วงวัย หน่วยงานภาครัฐควรสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนเห็นความสำคัญของกองทุนการออมแห่งชาติ และมีการใช้จ่ายโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการ ศึกษาวิจัยกลยุทธ์ส่งเสริมการทำงานให้แก่วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุไทย และการเสริมสร้างวินัยการออม<br><br>This researchs objective was to study the situations, natures, knowledge, attitudes, influential factors, support needs and to develop promoting strategies regarding financial saving in adulthood. Mixed methodology was applied and quantitative data was collected by conducting surveys in 36 districts among 4,284 individuals. The data was processed by a package software and analyzed by descriptive statistics and inferential statistics. As for the qualitative data collection, 36 group conversations in 36 distracts were analyzed by describing and interpreting, with the use of in-depth interviews and observations. The summary of the research result is as follows. The sample group had a high level of knowledge about financial saving and a high level of attitudes toward it, while their saving behavior is at a medium level. Their knowledge and attitudes toward saving, as well as their psychological, economic and social factors, all have positi effects in their saving. In this regard, the psychological factors can best interpret the variables in saving and the social factors can help make the interpretation clearer. At the same time, the economic factors, knowledge and attitudes toward saving can be examined together to interpret the variables in saving. It was found that the sample group requires saving knowledge as well as sideline careers. There are altogether three strategies to promote saving in adulthood : strategy to increase income and decrease expenditure, strategy to promote saving knowledge, and strategy to create saving awareness. It is suggested that Ministry of Social Development and Human Society promote saving in the communal level by adjusting Community Welfare Funds strategies so that the members receive their financial rewards in the form monthly pensions and that people in all ages acquire skills and knowledge for their sideline careers. Furthermore, governmental sectors should create wareness people SO that they understand the importance of National Savings Fund and live their lives based on the philosophy of sufficiency economy. As for future researches, it is suggested that they study strategies to promote careers for Thai adulthood and seniorhood, well strategies to encourage saving disciplines among them.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ