Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาชุมชนเข้มแ...

TNRR

Description
โครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน(Eco-Village) ประกอบด้วยสาระ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การศึกษาและติดตามผลการดำเนินกระบวนการพัฒนาชุมชนตามตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของการเคหะแห่งชาติ ในชุมชนที่กำหนด และส่วนที่ 2 การศึกษาการพัฒนาชุมชนภายใต้แนวคิดชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน (Eco-Village) ในชุมชนที่กำหนดเพื่อให้เป็น Green Community ในด้านการบริหารจัดการของเสียในชุมชนและการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน ภายใต้แนวคิด Eco-cycle Model คือลดปริมาณการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับการศึกษาและติดตามผลการดำเนินกระบวนการพัฒนาชุมชนตามตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน สรุปได้ว่า การศึกษาอันประกอบด้วยศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการพัฒนาชุมชนของการเคหะแห่งชาติ การค้นคว้าแนวคิด/ทฤษฎี ตลอดจนนโยบาย แผนงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการลงพื้นที่ชุมชนกลุ่มตัวอย่าง จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมรับฟังความคิดเห็น ผลการประเมินพบว่าชุมชนต้นแบบทั้งระดับที่ 1 (ชุมชนเข้มแข็ง) จำนวน 60 ชุมชน และ ระดับที่ 2 (ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง) จำนวน 20 ชุมชน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับการศึกษาการพัฒนาชุมชนภายใต้แนวคิดชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน (Eco-Village) ในชุมชนที่กำหนดเพื่อให้เป็น Green Community ในด้านการบริหารจัดการของเสียในชุมชนและการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน ภายใต้แนวคิด Eco-cycle Model คือลดปริมาณการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) ในครั้งนี้ สรุปได้ว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการของเสีย(ทรัพยากร)ในชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนต้องมีส่วนร่วมและมีความเห็นชอบ ได้แก่ การสร้างความเข้าใจ การประชุมหารือกำหนดกิจกรรมและกระบวนการของกิจกรรมโดยวิเคราะห์จากขยะ(ทรัพยากร) ในชุมชน และศักยภาพของชุมชน ที่สามารถนำมาสร้างโอกาสและดัดแปลงใช้ในชุมชน การนำชุมชนไปศึกษา ดูงาน ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และจัดกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชน ให้มีศักยภาพสามารถดำเนินการบริหารจัดการได้ด้วยชุมชนเอง และเกิดความยั่งยืน การพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์ และการบริหารจัดการของเสีย(ทรัพยากร) ที่เหมาะสม อาทิ เครื่องบดย่อยใบไม้ กิ่งไม้ เครื่องแยกกากไขมันพลังงานแสงอาทิตย์ และเตาก๊าซชีวมวล เป็นต้น และการเชื่อมโยงภาคีภายนอกบริหารจัดการของเสีย(ทรัพยากร)จากชุมชน เพื่อให้เกิดความรู้ และสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะในชุมชน และในบ้านของตนเอง เป็นการสร้างแนวร่วมภายในชุมชนให้กว้างต่อไปยิ่งขึ้นๆ สำหรับพื้นที่ศึกษาของโครงการ ได้แก่ โครงการบ้านเอื้ออาทร บึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร พบว่า นวัตกรรมกรรมกระบวนการบริหารจัดการของเสีย(ทรัพยากร)ในชุมชน ที่เหมาะสมสำหรับชุมชนในเบื้องต้น เพื่อเป็นการจุดประกาย และนำร่องด้านการบริหารจัดการภายใต้แนวคิดชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน (Eco-Village) เพื่อให้เป็น Green Community ในด้านการบริหารจัดการของเสีย ภายใต้แนวคิด Eco-cycle Model คือลดปริมาณการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) ได้แก่ 1)การสร้างกลุ่มการคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยได้มีการตั้งร้าน (Shop 0 สตางค์) เพื่อกิจกรรมขยะแลกของ และจะมีการเชื่อมโยงกับภาคีภายนอก อาทิ ผู้รับซื้อวัสดุรีไซเคิล เพื่อบริหารจัดการในลักษณะ Zero Inventory ทั้งของอุปโภค บริโภคสำหรับการแลก และวัสดุรีไซเคิล ที่รับแลก ทั้งนี้กลุ่มกิจกรรมได้ความอนุเคราะห์ สนับสนุนถังขยะสำหรับการแยกขยะรีไซเคิลจาก สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร2)การสร้างกลุ่มการจัดการกากไขมันโดยใช้อุปกรณ์แยกกากไขมันพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต้นแบบจากการคิดค้นและผลิตอุปกรณ์จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อใช้ในการแยกกากและไขมันที่เกิดจากครัวเรือน ผลผลิตที่ได้จะสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ย และบางส่วนที่เป็นไขมันนำไปสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ และ 3)การสร้างกลุ่มการจัดการขยะชีวมวล ที่มีอุปกรณ์เครื่องบดย่อยขยะที่เป็นกิ่งไม้ ใบไม้และเศษไม้ และเตาก๊าซชีวมวลต้นแบบที่ผลิตจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีเช่นเดียวกันกับอุปกรณ์แยกกากไขมันพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ผลผลิตที่ได้จากเครื่องบดย่อยไม้ นำไปทำปุ๋ย หรือนำไปผสมกับไขมันที่ได้จากกิจกรรมการแยกกากไขมัน ทำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาก๊าซชีวมวลได้ หรือใช้กิ่งไม้ ใบไม้และเศษไม้ที่ย่อยแล้ว เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาก๊าซชีวมวลได้โดยตรง ผลได้จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการศึกษาวิจัยฯดังกล่าวมานี้ ประเมินได้ว่าจะสามารถก่อให้เกิดรายได้เสริม และลดค่าใช้จ่ายในบ้าน สร้างบรรยากาศร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เยาวชนมีกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว และสร้างสำนึกและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งก็ช่วยลดสภาวะโลกร้อนไปด้วย อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ เป็นเพียงจุดประกายให้กับชุมชนและเป็นจุดเริ่มต้น เส้นทางในการบริหารจัดการขยะ(ทรัพยากรที่มีคุณค่า)ในชุมชน การที่จะให้ชุมชนก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน องค์กรที่มีส่วนในการดำเนินการและประสานงาน เช่น การเคหะแห่งชาติ ยังคงต้องติดตามประสานงาน ให้มีวิทยากรเข้าไปบรรยาย และให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนเข้าใจความสำคัญของการบริหารจัดการขยะ(ทรัพยากรที่มีคุณค่า) และผลักดันให้เกิดกิจกรรม หรือธุรกิจ จากทรัพยากรขยะต่างๆในชุมชน อย่างต่อเนื่องจนทำให้เรื่องของสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการของเสียในชุมชนและการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน ได้กลายเป็นจิตสำนึกของชุมชน ให้ประชาชนพร้อมทั้งครัวเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบจนดำเนินการเป็นธุรกิจที่ให้ผลประโยชน์ต่อผู้คนได้ ควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และให้องค์กรทางการศึกษา มหาวิทยาลัย หรือโรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดการขยะ(ทรัพยากร) ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล และความรู้เรื่องการจัดการขยะ(ทรัพยากร)ของประชาชนในชุมชน และลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานภายนอกชุมชนและภายในชุมชน ทั้งนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างชุมชนและหน่วยงานทางการศึกษา และยังสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆได้อีก<br><br> The National Housing Authority (NHA), Thailand has her fundamental mandate to provide housing and residential area to low income households. Throughout the last decades, the NHA has achieved her objective satisfactorily. However, as income per capita in Thailand has risen along with gradual pace of economic development, urbanization has emerged in large cities. NHA has supplemented market provision of high-rise housing with high concentration of communities living together. The NHA has therefore proposed to shift her role to provide residential areas with standard of urban living for the new middle class. This is called ‘Eco-Village’ conceptualized after the environmental friendly living space with low carbon emission from energy usage as broad guideline. In this project, we have concentrated on how NHA communities at ‘Bung Kum’ have mutually raised their awareness on the “Eco-Village” by their own effort. Even though, we have assisted a learning process for them as part of our action research. But key success has been totally relied on the community members. They have learned three fundamental facts of life. First, they have learned how to help themselves, success story can be real by integrated efforts both within community members and with intervention from outside such as researcher and NHA. Second, household garbage is managed and providing return for collectors i.e., garbage bank is manageable with young members. Third, ‘Re-use, Re-cycle’ and ‘Re-duce’ is implementable activity not just concept. Pruning of tress leaves and stems can be source of ‘Re-use’ materials for gasified bio-mass , while saving cost of disposal not less than 100,000 baht a year. The used cooking oils from household previously dumped into disposal sewage can reduce unpleased smell and may be ‘Re-cycle’ to be fats cake for industrial use. The action research has provided knowledge and knowhow to community members by some learning process. The community was taught how the concept above can be implementable by themselves without hardship. We have given them direct experiences with field trips to other advanced communities who have continuously practiced the 3Rs. They have had direct experiences with machining within laboratory to gain confidence on customized simple technology of bio-mass and bio-gas. Currently, the ‘Bung Kum’ community is experimenting with 1) Wood chipper machine to manage the excess leaves and stems of tree in the communities 2) They have set up the ‘0 Stang Shop’ for garbage collection in exchange for returns either in monetary and materials form 3) The disposal of used oil and fats from the sewage is extracted for purer fats cake respectively. Here the success story needs intervention from outside especially, the garbage collection markets and perhaps fat cake market respectively. The intervention from local administration is also important here as well. They have provided disposal bucket for garbage separation in the learning stages. The manager of ‘Bung Kum’ who is hired to manage the juristic mode and the logistic setting of the community also played important role as well. It should be noted here that our study is just a very first attempt of the NHA to embark on the implementation of “Eco-Village’. This time community is supposed to act as main agent of change. The bottom up approach is designed in our research rather than a top-down mode. We can conclude that the 3Rs action can be absorbed by community to some extent as starting point. The “Eco-Village” is implementable in development planning of NHA in housing and residential provision for urban area. Research finding may be considered as good example. The solidity of the community is keys to sustainability. As we have to prove that sufficiency of participation of other members of community. Are other members also aware of this concept and action which some members have done? Will they be ready to join, and share their precious time for these social activities? The accumulation of cost and benefit of actions to be taken in the future will they be fairly shared among all? Only community members can give clear answers to the road ahead. In addition, an evaluation and monitor the process of community development such that to identify the key performance indicator of community development towards sustainability concluded that they were across all evaluation criteria both Level 1 (strengthening community) and Level 2 (self-reliance strengthening community).

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ