Description
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันและปัญหาในการดำรงชีวิต และความต้องการบริการทางสังคมของผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว 2) เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความจำเป็นต้องดูแลสมาชิกในครัวเรือน อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดำเนินโครงการบูรณาการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดูจำนวน 1 คน ส่วนใหญ่เป็นบุตร (บุตรสาว/ บุตรชาย/ บุตรเขย/ บุตรสะใภ้) สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องเป็นผู้ที่มีภาระในการเลี้ยงดูครอบครัว เนื่องจากผู้ที่อยู่ในความดูแลไม่มีอาชีพ/ รายได้ ปัจจุบันมีแหล่งที่มาของรายได้หลักจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รายได้บุคคลและรายได้ครัวเรือนต่อเดือน น้อยกว่า 3,000 บาท มีรายจ่ายบุคคลต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท ส่วนรายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน 3,000 – 6,000 บาท มีหนี้สินบุคคลและหนี้สินครัวเรือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป 2) ระดับความรุนแรงของสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในภาพรวมมีความรุนแรงในระดับน้อย (x ? = 2.47, S.D. = 1.21) ส่วนระดับความรุนแรงของสภาพปัญหาของผู้ที่อยู่ในความดูแลของผู้สูงอายุ ในภาพรวมมีความรุนแรงในระดับน้อย (x ? = 2.35, S.D. = 1.27) เช่นเดียวกัน 3) การเข้าถึงบริการทางสังคมและบริการด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและบริการด้านอื่น ๆ ได้ในระดับน้อยที่สุด (ร้อยละ 79.2) สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลที่สามารถเข้าถึงบริการทางสังคม จำแนกได้เป็น 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ เข้าถึงบริการจากโรงพยาบาล/ รพ.สต. มากที่สุด ในด้านการรักษาพยาบาล (ร้อยละ 59.0) ภาคประชาชน/ ภาคประชาสังคม เข้าถึงบริการจากเพื่อนบ้าน/ คนในชุมชน มากที่สุด ในด้านการให้คำปรึกษา และข้อมูลข่าวสาร (ร้อยละ 43.8) ส่วนภาคเอกชน ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท/ ห้างร้าน (ร้อยละ 59.5) 4) ความต้องการที่จะได้รับบริการทางสังคม ในภาพรวมมีความต้องการระดับน้อย (x ? = 2.27, S.D. = 1.68) โดยด้านที่ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลมีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านบริการทางสังคมทั่วไป (x ? = 2.91, S.D. = 1.71) โดยผู้สูงอายุมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะมากที่สุด (x ? = 3.01, S.D. = 1.74) สำหรับผู้ที่อยู่ในความดูแลมีความต้องการความสะดวกในการเข้าถึงบริการของภาครัฐมากที่สุด (x ? = 3.34, S.D. = 1.60) 5) รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านรายได้และการมีงานทำ ส่งเสริมการ Upskill/Reskill ทางด้านอาชีพ, จัดบริการ Day Care 2. ด้านสุขภาพอนามัย ส่งเสริมการดูแลสุขภาพทุกช่วงวัยอย่างมีระบบและยั่งยืน 3. ด้านการศึกษา/การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สร้างแหล่งเรียนรู้และช่องทางการเข้าถึงที่หลากหลาย 4. ด้านที่อยู่อาศัย มีแผนชุมชนเรื่องบ้านมั่นคงและพื้นที่ปลอดภัยรองรับสังคมสูงวัย 5. ด้านนันทนาการ จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ 6. ด้านกระบวนการยุติธรรม สร้างความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง สร้างศูนย์ให้ความช่วยเหลือในชุมชน 7. ด้านบริการทางสังคมทั่วไป เสริมสร้างการรับรู้สิทธิ และสร้างนักเฝ้าระวังภัยในชุมชน<br><br>The research aimed to study 1) the current situation of livelihood difficulties concerning elders burdened with family responsibilities and their need of social services and 2) a model of social services management for the aforementioned group. The researcher applied a mixed method between quantitative and qualitative methods, namely questionnaire and group discussion respectively. The samples were 400 elders, either voluntarily or involuntarily burdened with family responsibilities, who resided in the community empowerment integrated project area. The statistical analysis of this research involved frequency, percentage, mean, and standard deviation. The researcher found that 1) with regard to the current situation of livelihood difficulties, a majority of the elders have been diagnosed with high blood pressure. Additionally, a majority of them each had to take care of one family member, either a daughter, a son, a son-in-law, or a daughter-in-law, and the primary reason was because the dependents were unemployed and had no source of income. The elders’ major source of income was from the old-age pension and monthly household income which, together, accounted for less than 3,000 baht. Personal expense and monthly household expense of each of the elders were 3,000 baht and 3,000 – 6,000 baht respectively while a combined personal and household debt of each household was more than 20,000 baht. 2) in general, severity level of the elders’ livelihood difficulties was low (x ? = 2.47, S.D. = 1.21). The aforementioned level of the dependents’ livelihood difficulties was also low (x ? = 2.35, S.D. = 1.27). 3) with regard to access to social and other services, 79.2% of the elders and the dependents reported that they gained least access to the services which were offered from public sector, private sector, and civil society. For healthcare services provided by the public sector, 59% of the samples reported that they received the service mostly from hospital/health promotion hospital. For consulting and information services provided by the civil society, 43.8% of the samples reported that they received the service mostly from their neighborhood. However, most of the samples (59.5%) reported that they have never received services from the private sector (company/store). 4) the need for social services, in general, was low (x ? = 2.27, S.D. = 1.68). The most needed service for the elders and the dependents was general social services (x ? = 2.91, S.D. = 1.71). Public facilities were most needed by the elders (x ? = 3.01, S.D. = 1.74) while convenient access to government services was most needed by the dependents (x ? = 3.34, S.D. = 1.60). 5) a model of social services management for elders burdened with family responsibilities was divided into 7 aspects namely 1. income and employment aspect: encouraging career upskilling and reskilling and providing day care service 2. health and sanitary aspect: systematically and sustainably encouraging health promotion for people of all ages 3. education and information aspect: establishing learning resources and various access to information 4. residence aspect: establishing community plan for the stable home project and safe area ready for aging society 5. recreation aspect: arranging vocational skill development activities to increase income 6. judicial process aspect: constantly developing the knowledge and establishing a support center in the community and 7. general social services aspect: creating awareness of rights and promoting watch-out persons in the community.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read