Notifications

You are here

อีบุ๊ค

แนวทางการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย...

TNRR

Description
จากสถานการณ์ปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น เป็นปัญหาที่ตามมาด้วยการ ท้อง แท้ง ทิ้ง รวมทั้งการตั้งครรภ์ซ้ำ ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องทบทวนการจัดสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นอีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบสวัสดิการถ้วนหน้า ซึ่งสวัสดิการที่สำคัญหลัก คือสวัสดิการทางด้านสุขภาพ และด้านการศึกษา ส่วนสวัสดิการลักษณะเฉพาะสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นยังมีไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเป็นสวัสดิการที่รวมกลุ่มอยู่กับสวัสดิการครอบครัวและเด็ก ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ซึ่งเป็นสวัสดิการที่หน่วยงานจัดเพื่อกลุ่มเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งตามนโยบายเท่านั้น ส่วนการเข้าถึงสวัสดิการและการบริการที่ผ่านมายังคงมีข้อจำกัดจากความไม่รู้ของตัวสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นเอง ประกอบกับสวัสดิการที่ไม่เอื้อต่อการเข้าถึง ทัศนคติของผู้ให้บริการยังมองสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นในเชิงตำหนิ ทำให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นไม่รู้สึกไว้วางใจ รวมทั้งการจัดสวัสดิการและการให้บริการยังขาดความต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อการจัดสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่น ซึ่งหาก ไม่ได้รับการแก้ไข และไม่มีแนวทางการจัดสวัสดิการอย่างเป็นจริง สถานการณ์สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นก็จะกลายปัญหาสังคมที่ยืดเยื้อยาวนานและบานปลาย ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ดังนั้น ประเทศไทยควรค้นหาแนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นอย่างจริงจัง ซึ่งแนวทางดังกล่าวควรมาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ที่ผ่านมาจะเห็นว่าภาครัฐพยายามระดมสมองและดึงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อหาแนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นร่วมกันดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้มีความมุ่งหวังที่จะค้นหาแนวทางในการจัดสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลังคลอด รวมไปถึงแนวทางการดูแลหรือให้บริการแบบครบวงจรและอย่างต่อเนื่องการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ 3 วัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและลักษณะการจัดสวัสดิการสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2. เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และ 3. เพื่อกำหนดแนวทางการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่นขอบเขตการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการครอบคลุมเขตพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่เขตความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดในด้านเนื้อหาจะครอบคลุมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการเก็บกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นและครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น โดยการใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม รวมถึงการสนทนากลุ่ม (Focus group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth interview) เพื่อให้ข้อมูลเกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ประชากรเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอดและครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น และครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นจำนวน สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข ส่วนราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ และมูลนิธิ และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก คือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นจากพื้นที่ทั้ง 4 จังหวัด โดยเลือกเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์ตั้งครรภ์วัยรุ่นและปฏิบัติงานให้การดูแลหรือช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่น เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่น เป็นต้น ทั้งนี้ ได้มีการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นความยินยอมการเข้าร่วมวิจัยของกลุ่มตัวอย่าง และไม่มีการระบุชื่อ สกุล และหน่วยงานของผู้ให้ข้อมูล ส่วนการเก็บข้อมูลกับสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเป็นความยินยอมการเข้าร่วมวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะมีผู้ปกครองหรือผู้แทนที่บรรลุนิติภาวะร่วมเป็นพยานในการยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย นอกจากนี้ในส่วนของการสัมภาษณ์เชิงลึกสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นนั้นจะใช้การสัมภาษณ์ในที่ที่มีความเป็นส่วนตัวและกลุ่มตัวอย่างสามารถหยุดการสัมภาษณ์หรือไม่ตอบในบางคำถามได้หากเกิดความไม่สบายใจหรือไม่ยินดีในการให้ข้อมูลบางประเด็น การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ (Mixed methods research) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการจัดสวัสดิการและพัฒนาแนวทางหรือรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยมีการกำหนดขั้นตอนการวิจัยต่างๆ ดังนี้ 1) ทบทวนองค์ความรู้เรื่องการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงโครงการศึกษาวิจัยแนวทางการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณ 3) ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณ 4) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณ และสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ 5) ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงคุณภาพ 6) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อค้นหาแนวทางการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 7) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลการวิจัยและวิพากษ์ผลงานวิจัย 8) จัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์และเผยแพร่ผลการวิจัย และ 9) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลการศึกษา1. สถานการณ์การจัดสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่น จากการศึกษาพบว่าสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่จะได้รับความช่วยเหลือหรือดูแลในระหว่างตั้งครรภ์จากบิดา มารดา ญาติของสามี รองลงมาได้แก่ บุคลากรทางด้านสุขภาพที่สังกัดสถานบริการสุขภาพของรัฐ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และบุคลากรทางด้านสุขภาพที่โรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน ตามลำดับ โดยมีการเข้าร่วมกิจกรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งการดูแลช่วยเหลือทั้งจากบุคคลและหน่วยงานออกได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ได้รับความช่วยเหลือดูแลระหว่างตั้งครรภ์จากสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ การเตรียมความพร้อมเลี้ยงบุตร การฝากครรภ์และให้ความรู้การดูแลครรภ์ การดูแลตนเองระหว่างการตั้งครรภ์ การเตรียมตัวคลอด คำแนะนำเกี่ยวกับการผ่อนคลายความเครียด วิธีการคุมกำเนิด (2) ด้านการพัฒนาฝึกทักษะชีวิตการเป็นมารดา บิดา ได้แก่ การส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดา บิดา การฝึกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ การดูแลทารก การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันและการรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง (3) ด้านสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ได้แก่ การให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย เช่นการแจ้งชื่อของสามี การรับรองบุตร การแจ้งเกิด การแจ้งสิทธิกรณีสตรีตั้งครรภ์ และ/หรือครอบครัวเป็นผู้เสียหาย การสนับสนุนการฝึกอาชีพ การได้รับทุนอุดหนุน ศิลปะบำบัด และการสนับสนุนการเรียนต่อ2. ปัญหาและความต้องการการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการศึกษา จากการศึกษาพบว่าโดยส่วนใหญ่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นจะมีช่วงชีวิตที่อยู่ในระบบการศึกษา โดยอาจอยู่ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาจเป็นสายสามัญหรืออาชีวศึกษา หรือบางรายอาจอยู่นอกระบบการศึกษา การได้รับสิทธิในการได้รับบริการสวัสดิการ โดยคำนึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บุคคลที่อยู่รอบข้างที่มีความเกี่ยวข้องกับสตรีวัยรุ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม บุคลากรในสถานศึกษาอาจถูกสะท้อนการจัดการที่ลดทอนคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในขณะที่เด็กนักเรียนที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นที่หลุดจากระบบการศึกษาไม่ได้ไปตามฝัน เส้นทางชีวิตเปลี่ยนไป บางส่วนตีตราว่ากล่าว หรืออาจมีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรในการสื่อสาร การจัดบริการสวัสดิการการศึกษาส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ การทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการศึกษาเพื่อความเจริญงอกงามของชีวิต ดังนั้นลักษณะการปฏิบัติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีความเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยอมรับความแตกต่างรายบุคคล โดยสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความต้องการการช่วยเหลือตั้งแต่ เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของช่วงชีวิตคือในขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ การได้รับปรึกษาและคำแนะนำจากครู หรือบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการให้คำปรึกษาต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การได้รับสวัสดิการทางการศึกษาช่วงของการตั้งครรภ์และหลังคลอด รวมถึงการได้รับการสนับสนุนหรือช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในและนอกระบบ (2) ด้านการบริการจากหน่วยงานด้านสุขภาพ เช่น คำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ฝากครรภ์และการคลอด การได้รับการดูแลและเข้ารับบริการเฉพาะกลุ่ม มีความเป็นส่วนตัว การได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่อย่างเป็นมิตรและเข้าใจ ไม่ตีตราหรือซ้ำเติม การให้คำปรึกษาและการผ่อนคลายความเครียด และการฝึกทักษะชีวิตการเป็นมารดา บิดา เช่น การเปลี่ยนบทบาทจากบุตรเป็นมารดา บิดา และการดูแลทารกแรกเกิด (3) ด้านส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ การช่วยเหลือในด้านการส่งเสริมอาชีพเพื่อทำให้เกิดการสร้างรายได้เพื่อนำมาเลี้ยงดูบุตร เช่น มีความต้องการในการทำงานที่มีรายได้ประจำ การเข้าฝึกทักษะอาชีพ ต้องการอาชีพที่สามารถทำงานได้ที่บ้านเนื่องจากต้องการดูแลบุตรด้วยตนเองซึ่งส่วนใหญ่การตั้งครรภ์จะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตจากเดิมทำให้มีความต้องการมากขึ้นต่อการที่มีรายได้เพื่อที่จะนำมาใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร (4) การเสริมสร้างสุขภาวะครอบครัวสตรีวัยรุ่น ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพครอบครัวเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของนโยบายครอบครัวที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง ในงานวิจัยนี้พบว่าในการทำงานระดับปฏิบัติเชิงนโยบายของหน่วยงานแต่ละแห่งที่อาจมีขอบเขตและเป้าหมายแตกต่างกัน มีข้อจำกัดบางประการ ทำให้อาจส่งผลต่อการประสานเชื่อมโยงในเชิงกลไกการทำงานร่วมกันในมิติเชิงเครือข่ายที่มุ่งสู่ครอบครัวที่เป็นการทำงานที่ยังชัดเจนไม่มากนัก และยังพบว่าครอบครัวฝ่ายหญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นเป็นแกนหลักในการดูแลรับผิดชอบสถานการณ์ที่ครอบครัวเผชิญ แต่อาจเพราะรัฐกับอุดมการณ์ด้านครอบครัวในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ขาดการเสริมสร้างศักยภาพ ความสามารถทำบทบาทหน้าที่ของครอบครัว การหนุนเสริมเป็นบริการต่างๆ เพื่อให้ครอบครัวดำรงอยู่อย่างมีคุณภาพ มีความเข้มแข็งและปรับตัวได้ในบริบทการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางสังคม เรื่องครอบครัวเลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจึงเป็นประเด็นสาธารณะ หาใช่เรื่องส่วนตัว ซึ่งในแต่ละครอบครัวต้องรับผิดชอบแก้ไขหรือจัดการกับปัญหากันเองตามบริบทของแต่ละครอบครัว และ (5) ด้านสิทธิและสวัสดิการต่างๆ สิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับและช่องทางในการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น และครอบครัวเป็นผู้เสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความต้องการเกี่ยวกับการจัดการบริการที่แยกเฉพาะสตรีวัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นมีความสะดวก และรวดเร็ว การให้คำปรึกษาและช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นในการพูดคุยกับครอบครัวหรือผู้ปกครองเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และประสานกับสถานศึกษาในการพิทักษ์สิทธิและจัดทางเลือกที่ตรงต่อความต้องการสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นการช่วยเหลือสวัสดิการในการเลี้ยงดู รวมถึงการให้คำปรึกษาทางทางจิตใจ ลักษณะการบริการเชิงรุกและสัมพันธภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น (1) มีช่องทางในการให้คำปรึกษาแก่สตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น และครอบครัวที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และมีความเป็นส่วนตัว (2) มีระบบการส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้การดูแลสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นเพื่อให้การดูแลและจัดการบริการแบบเป็นองค์รวมครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ (3) ส่งเสริมอาชีพ มีการจัดหางาน และจ้างงานที่มีความเหมาะสมกับบริบทความเป็นอยู่ของสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น (4) จัดให้มีหน่วยบริการเคลื่อนที่เข้าไปให้การปรึกษาสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นในชุมชน (5) จัดให้มีการบริการเชิงรุกเกี่ยวกับการทำกลุ่มช่วยเหลือ (group support) เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และดูแลซึ่งกันและกัน และ (6) จัดทำศูนย์ช่วยเหลือแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) และการจัดหน่วยงานสำหรับการรับฝากและดูแลบุตรแบบระยะสั้น (เช้าไป-เย็นกลับ) ต้องการให้มีหน่วยงานสำหรับการฝากเลี้ยงดูบุตรแบบระยะยาว และการจัดหาผู้อุปการะบุตรหรือครอบครัวอุปถัมภ์ ปัญหาการเข้าถึงการจัดสวัสดิการของสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น (1) ความแตกต่างของลักษณะสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น ได้แก่ สาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ ลักษณะการตั้งครรภ์ และลักษณะของบุคคลที่สัมพันธ์กับสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาปัจจัยหลักที่สำคัญอันเป็นสาเหตุหลักของการเข้าถึงการบริการการจัดสวัสดิการ และการเลือกตัดสินใจเพื่อขอเข้ารับบริการการจัดสวัสดิการของสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น (2) การจัดบริการที่ไม่ครบวงจร ไม่มีการติดตามดูแลต่อเนื่อง ขาดความต่อเนื่องในระบบของการส่งต่อข้อมูลสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่นตลอดจนทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ให้บริการในเชิงตำหนิหรือตีตราสตรีตั้งครรภ์หรือมารดาวัยรุ่น ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์หรือหลังคลอดตามการรับรู้ของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว พบว่า มีอารมณ์เศร้าหดหู่ระหว่างตั้งครรภ์ เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยประมาณ 1 ใน 3 ของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นบอกว่าตนเองประสบปัญหานี้ อีกปัญหาหนึ่งซึ่งพบมากเป็นอันดับแรกในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นเช่นกัน (ร้อยละ 33.2) คือ ไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย การเรียกร้องสิทธิต่างๆ หรือไม่ได้รับการช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรม อีกมุมมองส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการหลุดจากการศึกษาอันเนื่องมาจากการถูกกีดกันหรือตีตราจากโรงเรียนไม่ว่าจากครูและเพื่อนนักเรียน ซึ่งในประเด็นนี้การประเมินด้านจิตสังคม การให้คำปรึกษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งส่งเสริมให้ครอบครัวเข้าใจและยอมรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นจะเป็นเกราะป้องกันผลกระทบทางด้านจิตใจหรือการหลุดออกจากระบบการศึกษาของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นได้ รวมไปถึงการถูกกีดกันทางสังคม เช่น การไม่สามารถเข้าถึงงานอาชีพและรายได้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะหลังคลอดบุตรที่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นความต้องการการช่วยเหลือในระยะก่อนหรือขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ตามการรับรู้ของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว ในระยะตั้งครรภ์ พบว่า ต้องการการช่วยเหลือหรือคำแนะนำในการประสานกับโรงเรียน โดยสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องการการช่วยเหลือในเรื่องการแจ้งเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ให้ครูทราบ สำหรับความต้องการการช่วยเหลือในระยะหลังคลอด พบว่า มีความแตกต่างกัน โดยสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นส่วนมากมีความต้องการที่จะศึกษาต่อและประกอบอาชีพเสริมรายได้ ในขณะที่ครอบครัวต้องการให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอยู่บ้านเพื่อเลี้ยงดูบุตร สำหรับความต้องการการช่วยเหลือด้านสุขภาพ พบมากที่สุด ทั้งสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและครอบครัวต้องการการแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ฝากครรภ์และการคลอด สำหรับความต้องการความช่วยเหลือด้านอื่น ส่วนใหญ่ ต้องการให้มีศูนย์ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือแม่วัยรุ่นโดยเฉพาะ บริการด้านสุขภาพภายใต้หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3. แนวทางการช่วยเหลือด้านสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอด มีการดำเนินงานที่ให้การช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอดแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ การดำเนินงานในระดับบุคคล และระดับนโยบาย ซึ่งมีระบบ และกลไกในการดำเนินงานที่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน และเพื่อส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอดได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสวัสดิการครอบคลุมทั่วถึงและตอบสนองต่อความต้องการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอด จึงควรมีการเสริมสร้างระบบและการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้มีความทันสมัยและเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงการขอรับการช่วยเหลือด้านสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอด คือ (1) การประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลการคุ้มครองภาวะสุขภาพทางสังคม การเข้าถึงสิทธิ และสวัสดิการที่ให้การช่วยเหลือในตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด ได้แก่ การเข้าถึงสิทธิ และการขอรับสวัสดิการภาครัฐ ได้แก่ การขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การขอรับเงินช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรในกรณีที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก การจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ การจัดหาครอบครัวบุญธรรม โดยในการให้การสนับสนุนช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการให้กับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น หรือมารดาวัยรุ่นต้องมีการส่งเสริมและประสานในการให้ความช่วยเหลือในทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (2) การประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน และท้องถิ่น ในการจัดหาสวัสดิการให้กับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่ต้องการความช่วยเหลือ (3) การส่งเสริมอาชีพ จากสถานการณ์ชีวิตที่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นประสบปัญหา ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจากการที่ไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง ต้องพึ่งพิงสามี หรือสมาชิกในครอบครัวทำให้ไม่มีอิสระในการจัดการชีวิตของตนเองจึงควรมีการช่วยเหลือให้การสนับสนุนอาชีพให้กับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นให้เหมาะสมกับบริบทชีวิตความเป็นอยู่ ตรงตามความต้องการ และควรมีการส่งเสริมบทบาทของสามีหรือคู่สมรสร่วมด้วยในกรณีมีการอยู่อาศัยร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เป็นวัยรุ่นทั้งคู่เนื่องจากเป็นบทบาทหน้าที่ของความเป็นครอบครัวและเป็นเรื่องที่ควรที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน (4) มีการจัดทำฐานข้อมูลของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นและข้อมูลทารกแรกเกิดอย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอด เช่น ข้อมูลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นในพื้นที่ ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยมีบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน มีระบบการเชื่อมโยง ส่งต่อ และมีการนำใช้ข้อมูลเพื่อให้มีมีการจัดบริการดูแลอย่างครอบคลุมและมีคุณภาพข้อเสนอแนะ1) การพัฒนาและจัดระบบกลไกเพื่อให้นโยบาย กฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่มีผลในทางปฏิบัติ ปัจจุบันมีนโยบายต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติอนามัยเจริญพันธ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม หรือพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติความท้าทายในเชิงองค์ประกอบซึ่งเป็นปัจจัยในการดำเนินงาน เช่น บุคลากรในสถานศึกษา บุคลากรในหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลสตรี ความเชี่ยวชาญของการดำเนินงานในทีมสหวิชาชีพในเชิงระบบและทิศทางของนโยบายที่ขาดการกำกับดูแลหรือการติดตามอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นก่อนที่นโยบายต่างๆจะมีการประกาศใช้จึงควรมีการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านองค์ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง การเข้าถึงสถานการณ์และปัญหาต่างๆของสตรีวัยรุ่น และยังต้องมีการกำกับติดตาม และพัฒนาเครือข่ายเพื่อเพิ่มเติมความรู้ เปิดทัศนคติ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างเสริมกัลยานมิตรกับครอบครัวสตรีวัยรุ่น และภาครัฐควรให้การสนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรในการดำเนินการทั้งการกำกับติดตามระหว่างการดำเนินงานและการประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานให้กับองค์กรเอกชน เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ และเป็นการประสานทำงานในลักษณะเครือข่าย และสร้างระบบ กลไก ที่เอื้อต่อการพัฒนาในระยะยาวต่อเนื่องกันไป2) ระบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิต และเอื้อต่อบุคลากรทางการศึกษาที่มีทิศทางในการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่เป็นไปในทิศทางเป้าหมายในการสร้างความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น การเสริมสร้างสภาวะการทำงานที่เป็นมิตรกับบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้การดูแลนักเรียน ระบบการผลิตครูที่ควรมีการเพิ่มเติมวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสวัสดิการควบคู่กับวิชาการ และการใช้ระบบทางการศึกษาเป็นฐานในการดูแลจัดสวัสดิการที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะในด้านการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น หรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอด3) ระบบบริการทางด้านสุขภาพ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ของกลุ่มสตรีวัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นยังมีน้อย วัยรุ่นถูกมองว่าเป็นกลุ่มวัยที่มีปัญหา ทำให้กลุ่มวัยรุ่นไม่กล้าเข้าไปรับบริการเกี่ยวกับการคุมกำเนิดหรือขอคำปรึกษา เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ ประกอบกับสถานที่ในการให้บริการไม่เหมาะสมและไม่มีความเป็นส่วนตัว สำหรับนโยบายเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการ ประเทศไทยได้มีนโยบายให้ทุกกลุ่มวัยได้มีโอกาสในการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 โดยครอบคลุมถึงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้มีโอกาสในการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพด้วยราคาที่ถูก ซึ่งภายหลังจากการใช้นโยบายนี้ทำให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นเข้าถึงบริการมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพควรมีทักษะและความเข้าใจในปัญหาของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่มีลักษณะเฉพาะ ระบบบริการที่เน้นการให้บริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ระบบการบริการฝากครรภ์ในปัจจุบันยังมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานหลายประการ เช่น ระบบการบริการที่มีความซับซ้อน การชี้แจงขั้นตอนของการบริการฝากครรภ์ไม่ชัดเจน ทำให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นเกิดความสับสนเกี่ยวกับขั้นตอนการบริการ ลำดับขั้นตอนไม่มีการจัดระบบที่แน่นอน ขาดการประสานงาน ระบบส่งต่อกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำให้มีผลต่อการตัดสินใจมาฝากครรภ์ตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 มาตรา 10 ให้บทบาทกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการท้องถิ่นได้รับสิทธิตามมาตรา 5 คือ สิทธิที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง สิทธิที่จะได้รับความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้รับสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสม และการรักษาความลับความเป็นส่วนตัวของวัยรุ่นเอง ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถบูรณาการ ประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในระดับพื้นที่ให้มีความยั่งยืนต่อไป5) จัดบริการสวัสดิการด้านอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน การจัดสวัสดิการต่างๆสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นหลังคลอดนั้น จำเป็นต้องจัดสวัสดิการต่างๆให้มีการดำเนินงานควบคู่กันไปในระดับต่างๆ คือ นโยบายด้านต่างๆ ของกระทรวง/กรม ที่เกี่ยวข้องในเป้าหมายร่วมกันอย่างบูรณาการ ระดับปฏิบัติการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรร่วมดำเนินงานกันโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและครอบครัว และการพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ในพื้นที่ที่มีการทำงานกับกลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นซึ่งมักเป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคม การทำงานแบบไร้รอยต่อกับกลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นทั้งในและนอกระบบการศึกษา6) การศึกษาและวิจัยในโอกาสต่อไป คือ การศึกษารูปแบบการทำงาน โดยใช้โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นฐานในการพัฒนาอาชีพ และรายได้ เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยววัยรุ่น กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและชุมชนในการพัฒนาการศึกษาเพื่ออาชีพเสริมสร้างความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตครอบครัวสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น การสำรวจสถานการณ์และปัญหาความยากลำบากของครอบครัวสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในสังคมไทยที่เป็นชุมชนเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบท และชนบท การทบทวนหลักสูตร การผลิตครูหรือบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเสริมสร้างแนวคิดความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งแก่ผู้เรียน และการคำนึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และแนวโน้มงานสังคมสงเคราะห์กับปัญหาของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นทั้งในและนอกระบบการศึกษา เป็นต้น<br><br>from the situation of unprepared pregnancy in adolescence It is a problem that is followed by pregnancy, miscarriage, and recurrent pregnancy. This prompted all relevant sectors to review the welfare provision for adolescent pregnant women and adolescent mothers. In the past, most of the welfare for pregnant women, adolescents and adolescent mothers were in the form of universal welfare. which the main welfare is health welfare and education. The specific welfare for adolescent pregnant women and adolescent mothers is still limited. Part of the welfare is grouped together with family and child welfare. meet basic needs This is a welfare that the agency provides for a specific target group according to the policy only. Access to welfare and services in the past remained limited due to the ignorance of adolescent pregnant women and adolescent mothers. Coupled with welfare that is not conducive to access Service providers attitudes also viewed teenage pregnancy women and adolescent mothers reprimanding. This makes teenage pregnancy women and teenage mothers feel less trusting. Including the provision of welfare and service provision is still lacking continuity. These are important to the welfare of teenage pregnancy women and teenage mothers. which if not corrected and there is no real way of providing welfare The situation of adolescent pregnant women and adolescent mothers will become a long-lasting and escalating social problem. affect the countrys development in the long run, therefore, Thailand should find Welfare guidelines for teenage pregnancy women and adolescent mothers seriously. This approach should come from the participation of all sectors in society. In the past, it can be seen that the government has tried to brainstorm and draw participation from all sectors to find ways to provide welfare for pregnant women, adolescents and adolescent mothers together.Therefore, this research aims to find ways to provide welfare for adolescent pregnant women and adolescent mothers after childbirth. including a comprehensive and continuous care or service approach.The objectives of this research were 3 objectives: 1. to study the current situation and the nature of welfare provision for the target group of adolescent pregnancy; adolescents and 3. To determine appropriate welfare guidelines for adolescent pregnancy target groups.The scope of this study was to cover the eastern provinces. which is the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 2, consisting of 4 provinces, namely Chonburi Province, Rayong Province, Chanthaburi Province and Trat Province.The content aspect will cover both quantitative and qualitative. Three groups of samples were collected: staff involved in caring for pregnant women or adolescent mothers. Pregnant women or adolescent mothers and families of pregnant women or adolescent mothers By using a questionnaire created by the researcher from the literature review. Including focus group discussion and indepth interview to complete the information.The target population in this study consisted of staff involved in the care of pregnant women or adolescent mothers. Pregnant women or postpartum adolescent mothers and families of adolescent pregnant women in the area responsible for the Office of Academic Promotion and Support 2 by collecting quantitative data. The quantity was divided into 3 sample groups: Officers involved in the care of pregnant women or teenage mothers Pregnant women or teenage mothers and families of pregnant women or teenage mothers For the sample group to collect qualitative data with group discussion is an officer involved in the care of pregnant women or adolescent mothers from government agencies under the Ministry of Social Development and Human Security. Ministry of Education Ministry of Labor Ministry of Health Provincial and local government departments including non-governmental organizations and foundations and data collection by in-depth interviews is an officer involved in the care of pregnant women or adolescent mothers from the four provinces by selecting officials in the areas with adolescent pregnancy and working to provide care or assistance to adolescent pregnant women or adolescent mothers, such as the Ministry of Social Development and human security Ministry of Health local government organization and teenage pregnant women or teenage mothers, etc. In this regard, the rights of the sample group have been protected. This research project has been approved by the Human Research Ethics Committee. and in collecting quantitative data by using questionnaires to collect data as consent to participate in the research of the sample. and does not specify the name, surname and agency of the information provider. Both quantitative and qualitative data were collected with pregnant women or adolescent mothers as consent to participate in the study. The sample under 18 years old will have a parent or a representative of the legal age as a witness to agree to participate in the research project. Additionally, the in-depth interviews with adolescent pregnant women and adolescent mothers were conducted in a private setting and subjects were able to pause the interview or not answer certain questions if they were uncomfortable or unhappy. in giving some information.This research is both quantitative and qualitative research (Mixed methods research) to study the problems and needs of welfare and develop appropriate guidelines or services for the target group of adolescent pregnancy. The research procedures are as follows: 1) Review the body of knowledge on welfare provision suitable for the target group of adolescent pregnancy 2) Organize a workshop explaining the research project, guidelines Provide appropriate welfare for the target group of adolescent pregnancy and create tools to collect quantitative research data 3) Go to the area to collect quantitative research data 4) Organize a quantitative research data processing and analysis workshop and create tools to collect qualitative research data; 5) qualitative interviews; 6) organize a focus group workshop to find a suitable welfare management approach for the target group of adolescent pregnancy; present research results and criticize research results; 8) prepare a complete research report and disseminate research results; and 9) prepare public relations materials.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ