Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการทางสังคมเพื่อแก...

TNRR

Description
เยาวชน โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดการทางสังคมเพื่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน เด็กและเยาวชน และสร้างประชาคม “ปลอดภัยจากความรุนแรง” (safe youth) ในเด็กและเยาวชนและชุมชน ใน การขจัดปัญหาความรุนแรง รวมทั้งสร้างเครื่องมือและระบบการเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงในเด็กและเยาวชน โดยชุมชน วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการทบทวนองค์ความรู้ และการศึกษากรณีตัวอย่าง เด่นองค์การที่ดำเนินการในการพัฒนาเด็กและเยาวชนและจัดการปัญหาความรุนแรงในเด็กและเยาว โดย ศึกษากรณีตัวอย่างในประเทศไทย 10 กรณี และตัวอย่างการจัดการชุมชนปลอดภัย ในเมืองไครส์เชิช โอกแลนด์ เวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ ส่วนที่สอง เป็นการวิจัยปฏิบัติการ โดยนำเอาแนวคิดที่ได้จาก การศึกษาตัวอย่าง และการทบทวนองค์ความรู้ ไปปรับใช้ในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการ การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมออกแบบและปฏิบัติการรูปแบบการจัดการทางสังคมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเด็กและ เยาวชน ดำเนินการในชุมชนทั้งหมด 10 แห่งจาก 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร จากการศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา เพื่อค้นหารูปแบบที่สอดคล้องกับบริบททาง สังคมวัฒนธรรม พบความหลากหลายของรูปแบบการจัดการทางสังคมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเด็ก ดังนี้ 1. การจัดการโดยกลไกชุมชนเป็นฐาน 2. การจัดการ โดยกลไกองค์กรศาสนาเป็นฐาน 3. การจัดการโดยกลไกที่มีโรงเรียนเป็นฐาน 4. การจัดการ โดยกลไกองค์การบริหารส่วนตำบล 5. การจัดการโดยกลไก หรือโครงสร้างด้านเด็กและเยาวชนที่มีอยู่แล้ว ผลลัพธ์ การจัดการทางสังคมเพื่อการแก้ไขปัญหาคาามรุนแรงในเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย การเกิดเครือข่ายของบุคคลในการดูแลและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน เกิดเครือข่ายพี่เลี้ยงในการดูแลเด็ก และเยาวชน (เครือข่ายความสัมพันธ์) การมีระบบกลไกซึ่งเป็นโครงสร้างทางการรองรับกิจกรรมระยะยาว การ ทำให้เกิดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นและแสดงศักยภาพของเด็กอย่างกว้างขวาง เงื่อนไขทำให้รูปแบบการจัดการปัญหาประสบความสำเร็จ คือ การเปิดพื้นที่ ตัวตนของเด็กและ เยาวชนในการร่วมแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน การเปิดพื้นที่ตัวตนระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ภาคส่วนต่างๆ และเยาวชน ดังนี้ คุณส่ง ที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจมุมมองต่อสิ่งที่จะแก้ปัญหา เห็นคุณค่าและเป้าหมายของกันและกัน การมีระบบพี่เลี้ยงที่มี ทัศนะ และทักษะการจัดการในการหนุนเสริมพลังชุมชนในการจัดการ ผลลัพธ์เกิดขึ้นภายหลังดำเนินการ เกิดการรวมตัวของเยาวชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมอันเป็น ประโยชน์ ส่งผลให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตนเอง และสังคม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี นอกจากนั้น เกิดการจัดการทางสังคมและแก้ปัญหาแบบบูรณาการในชุมชน หน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญและ สนับสนุนกิจกรรมการแก้ปัญหาความรุนแรงในเด็กและเยาวชน คนในชุมชนตื่นตัว ให้ความร่วมมือ สนับสนุน และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง เกิดความสัมพันธ์อันดีและการประสานความร่วมมือภายใน ชุมชน ระหว่างชุมชนและภาคีเครือข่าย และระหว่างภาคีเครือข่าย ข้อเสนอแนะของโครงการ คือ การส่งเสริม เปิดพื้นที่ กิจกรรมเยาวชน สร้างระบบคุณค่าจิตอาสา ในชุมชน การกำหนดเงื่อนไข หรือสร้างระบบกลไกทางสังคมในการสร้างสิ่งแวดล้อมเชิงบวกให้กับชุมชนเพื่อ ลดความรุนแรงในเด็กและเยาวชน เช่น เหล้า ความรุนแรงในครอบครัว พัฒนาระบบเฝ้าระวังในระดับชุมชน เพื่อสร้างสัญญาณเตือนภัยที่ให้คนในชุมชนตระหนักในปัญหา และรับรู้ปัญหาความรุนแรงในเด็กและเยาวชน ที่เกี่ยวพันกับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม โดยเน้นการพิจารณาตัวชี้วัดการประเมินความรุนแรงใน ชุมชน เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การตายและบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาทของผู้ใหญ่ และปริมาณการดื่ม เหล้าของคนในชุมชน ร้านเกมส์ เป็นต้น<br><br>This project aimed to identify forms of social management to reduce violence among children and youth, build violence-free, "safe youth" civil society among children, youth and communities, and create community led violence surveillance instruments and systems for monitoring violence among children and youth. The research design comprised two parts: 1) a literature review, including 10 case studies on organizations working to reduce violence among children and youth in Thailand and examples of safe community management in Christchurch, Auckland and Wellington, New Zealand; 2) primary research on violence reduction among children and youth through social management in 10 communities in four regions of Thailand plus Bangkok. The design and implementation of the resulting social management was based on the literature reviewed and input from the communities. Diverse types of social management to reduce violence among children and youth were identified through the research and development processes aimed at identifying culturally appropriate types of such management: 1. Community based social management 2. Religious organization based social management 3. School based social management 4. Subdistrict Administrative Organization based social management 5. Social management based on mechanisms or structures already in place for youth and children The outcomes from the types of social management to reduce violence among children and youth implemented in this project were 1) the creation of networks on people working within child and youth care development, as well as separate mentor networks: 2) the creation of mechanisms, systems and structures for the facilitation of activities in the long term; and 3) the creation of spaces within which the views and abilities of children could be widely expressed The conditions identified for successful social management were the creation of spaces for children and youth to participate in solving community problems, and for increasing mutual understanding and appreciation of each others value and goals among children, adults and various related parties, and have a mentor system equipped with views and skills appropriate for the facilitation of community self-management The implementation of the project brought youth together to do useful activities, see their own value, and improve their behavior. Besides this, social management and holistic supported them. Community members supported and participated in violence reduction: relations within the involved communities were improved and coordination between the communities and network parties took place. Recommendations from the project are: promote and open up spaces for youth activities, specify conditions or build societal mechanisms for creating positive environments within communities that reduce violence among children and youth, focusing on the role of issues such as alcohol use and domestic violence; create community level surveillance and warning mechanisms to increase awareness within each community on violence among children and youth, related to societal structures and culture, emphasizing indicators for the level of violence in each community, such as the level of domestic violence, mortality and injuries from violence among adults, the amount alcohol consumed, or the number of video game halls in each community

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ