Description
โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ: กรณีได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มเป็นกระบวนศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาชน หน่วยงานรัฐทั้งจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติประเภทน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มในพื้นที่กรณีศึกษาตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ทั้งนี้ ในขั้นตอนการดำเนินงาน คณะผู้ศึกษาได้ยึดกระบวนการบูรณาการแนวความคิดการจัดการพื้นที่การเกิดภัยพิบัติจากพื้นที่กรณีศึกษา ผสานความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของผู้วิจัย โดยปัจจัยทั้งสองนั้นได้นำไปสู่กระบวนการทำงานเพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเพื่อให้การสร้างความเข้าใจในพื้นที่เป็นไปได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้ศึกษาได้จัดการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่พื้นที่ศึกษา โดยมีภาคีร่วมจัดเวทีดังกล่าวจากหลายหน่วยงาน เช่น ตัวแทนจังหวัดระนอง เทศบาลตำบลหาดส้มแป้น การเคหะแห่งชาติ ภาคประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มองค์กรภาครัฐ เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน และกรมทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และคณะผู้ศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ผลของการดำเนินการดังกล่าวได้นำไปสู่มาตรการ และแนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกัน และฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติด้านที่อยู่อาศัย และการอยู่อาศัย ทั้ง ๓ ระยะ อันประกอบด้วย
- แผนความช่วยเหลือระยะสั้น ซึ่งเป็นแผนการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนในพื้นที่
- แผนความช่วยเหลือระยะกลาง ซึ่งเป็นแผนการให้ความช่วยเหลือลักษณะ Management Guideline
- แผนความช่วยเหลือระยะยาว ซึ่งเป็นการประยุกต์แผนความช่วยเหลือระยะสั้น และระยะกลางสู่การต่อยอดการทำงานในอนาคต
จากมาตรการ และแนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกัน และฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติด้านที่อยู่อาศัย และการอยู่อาศัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การจัดทำแผน และการทำงานจริงในอนาคตต่อไป<br><br>The Project on was the participatory research. The central government organization and local government organization also share and participate in the participation process. The research objective mainly aimed at managing the guideline in helping disaster victim from landslide and flash flood in Haad-sompan Sub-district, Mueng Distric, Ranong Province and La-mor Sub-district, Na-yong District, Trang Province.
In the operating process, the working group had managed the site and the guideline according with the idea of vernacular architecture. These two main factors also leaded to the team operating process as to lay the development guideline to the affected area from natural disaster. As to create basic understanding, the working team also managed the meeting among Ranong province office, Haadsompan municipality, National Housing Authority, local community, stakeholders, government section organization such as Department of Disaster Prevention and Mitigation, Royal Irrigation Department and Ministry of Natural Resources and Environment and the working team from Rajamangala University Technology of Srivijaya.
The master guideline and principle on preventing and mitigating housing problem for disaster victims can be divided into three plans, which are;
- Short term plan, which focuses on emergency assistant in the disastrous area
- Middle term plan, which focuses on preparing management guideline for the affected area
- Long term plan, which focuses on applying short term plan and middle term plan for future management plan
The guideline and principle on preventing and mitigating housing problem will lead to the future plan as to protect and mitigate any effect from the disaster.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
การเคหะแห่งชาติ
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read